พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้กระทำความผิด ม.269 ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพประเมินราคาโดยตรง การทำรายงานหรือเสนอราคายังไม่ถือเป็นความผิด
ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269 จะต้องเป็นผู้ประกอบการงานวิชาชีพดังที่ระบุไว้เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินและเป็นผู้กู้เงินจากธนาคาร ไม่ได้ประกอบวิชาชีพการประเมินราคาทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเพียงผู้ทำรายงานการตรวจสอบที่ดินเสนอต่อ ผ. โดย ผ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะผู้ประเมิน จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้ทำคำรับรองในเอกสารดังกล่าวอันเป็นเท็จ จำเลยที่ 1และที่ 3 จึงไม่มีความผิดตามมาตรา 269
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคืนค่าอากรและการประเมินราคาศุลกากร: พิจารณาแยกแต่ละเที่ยวสินค้า
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคท้าย ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินไว้ภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112, 112 ทวิ โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมิน ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
แม้โจทก์จะนำใบขนสินค้าทั้ง 12 เที่ยว จำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาพ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องด้วยพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยวที่โจทก์นำเข้า
แม้โจทก์จะนำใบขนสินค้าทั้ง 12 เที่ยว จำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาพ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน แต่ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องด้วยพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยวที่โจทก์นำเข้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7177/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์การพิจารณาปัจจัยสภาพที่ดินและผลกระทบจากการก่อสร้าง
กระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 และกรมทางหลวง จำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวงแผ่นดิน ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวงแผ่นดิน การดำเนินการเวนคืนที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 และพระราชกฤษฎีกาฯ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามนโยบายของรัฐส่วนจำเลยที่ 2 เป็นรัฐมนตรีมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 แม้จะไม่ใช่ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยตรง แต่ก็มีฐานะเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ และมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ส่วนอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 4 ตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ และพระราชกฤษฎีกาฯกำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะอธิบดีมิได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ได้ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้กำหนดว่า โจทก์ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน หากไม่พอใจในเงินค่าทดแทนที่ฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มเติมได้ แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ จะมิได้กำหนดว่าฟ้องบุคคลใดได้บ้างก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าบุคคลที่จะถูกฟ้องคือบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ประเมินราคา: จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับรองเอกสาร จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งเอกสารเท็จ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์จ้างโจทก์สำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินของผู้กู้ยืมเงิน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ต้องควบคุมดูแลลูกจ้างหรือพนักงานหรือตัวแทนของโจทก์ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และต้องส่งผลการสำรวจและประเมินราคาแก่ธนาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด การที่จำเลยที่ 3 กรอกข้อความในแบบสรุปผลการประเมินราคา และการที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อในฐานะผู้ประเมินราคาและฐานะผู้จัดการสาขาเพื่อจัดส่งให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในนามของโจทก์ล้วนแต่เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานของพนักงานโจทก์ ผู้ที่ประเมินราคาหรือทำคำรับรองเอกสารตามสัญญาจ้างก็คือโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ลงชื่อเป็นผู้ประเมินราคาในเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงมิใช่ผู้ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3033/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอากรขาเข้าใหม่โดยศุลกากรชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสำแดงไม่ตรงกับราคาตลาด
โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่มภายหลังนำของไปจากอารักขาของศุลกากรแล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินอากรที่ชำระเพิ่มคืนก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้าทั้ง 4 ฉบับ ที่พิพาทเป็นราคาที่โจทก์ซื้อและเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินราคาใหม่ได้โดยปฏิบัติตามคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 44/2540 ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า แม้คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรฉบับดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายก็ตาม แต่ก็เป็นคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป มิใช่เลือกปฏิบัติเฉพาะโจทก์ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าทั้ง 4 เที่ยวใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทนที่ดินโดยพิจารณาจากราคาที่ซื้อขายจริงและสภาพการใช้ประโยชน์
โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาก่อนการเวนคืนภายในระยะเวลา 5 ปี ในราคาเฉลี่ยตารางวาละ 2,383.50 บาท โดยโจทก์มิได้ใช้ที่ดินพิพาทอยู่อาศัยหรือใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำประโยชน์ที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เข้ากรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 22 ที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ดินพิพาทในขณะที่โจทก์ได้ที่ดินพิพาทมา ทั้งที่ดินพิพาทอยู่ในทำเลที่ห่างไกล แม้จะอยู่ติดถนนสาธารณะและถมดินไว้แล้ว แต่จากสภาพความเจริญของท้องถิ่นในระยะเวลาที่ผ่านไป 5 ปี ไม่น่าจะทำให้ที่ดินพิพาทมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวได้ ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ตารางวาละ 6,000 บาท เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน พิจารณาจากที่ดินที่เหลืออยู่และราคาตลาด
การพิจารณาว่าที่ดินแปลงใดมีที่ดินเหลือจากการเวนคืนหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงจำนวนเนื้อที่ดินแปลงนั้นที่มีอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ หาได้มีความหมายเลยไปถึงที่ดินของโจทก์แปลงอื่นที่อยู่ข้างเคียงซึ่งมิได้ถูกเวนคืนด้วยเลยกลายเป็นที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9037/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินบังคับคดี: ราคาประเมินเป็นเพียงเบื้องต้น ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิคัดค้านหรือสู้ราคาได้
การประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประมาณราคาในเบื้องแรกเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่ผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีหรือศาลว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้นี้ หากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้กรณียังถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8156/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินที่เหลืออยู่หลังเวนคืน และสิทธิเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนบางส่วนทำให้ส่วนที่เหลือจากการเวนคืนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนเป็นที่ดินผืนใหญ่กว่า 20 ไร่ และ 50 ไร่สามารถใช้ประโยชน์แยกเป็นเอกเทศต่างหากจากกันได้ แต่ละส่วนมีด้านหนึ่งกว้างประมาณ 160 เมตร อยู่ติดทางคู่ขนานของทางหลวงพิเศษซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ติดทางคู่ขนานและประชาชนโดยทั่วไปได้ใช้ทางคู่ขนานนี้สัญจรไปมาได้สะดวกยิ่งขึ้น แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนจะอยู่ใกล้กับทางต่างระดับ แต่ก็อยู่ติดทางคู่ขนานที่เกือบเป็นทางตรง จึงสามารถเข้าสู่และออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสามที่เหลือจากการเวนคืนโดยใช้ทางคู่ขนานนี้ได้การคมนาคมเข้าสู่และออกจากที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนจะสะดวกกว่าเดิมมาก สภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากเดิมมากเช่นนี้ย่อมทำให้ที่ดินดังกล่าวมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมากเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากราคาประเมินฯ ที่ปรับสูงขึ้นจากเดิมมาก กล่าวคือ บางส่วนจากตารางวาละ 800 บาท เป็น 10,000 บาท บางส่วนจากตารางวาละ2,500 บาท เป็น 4,500 บาท บางส่วนจากตารางวาละ 800 บาทเป็น 1,500 บาท ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 17 ไร่ 3 งาน73.2 ตารางวา ส่วนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 81 ไร่ 2 งาน94.8 ตารางวา เทียบอัตราส่วนกันแล้วประมาณ 1 ต่อ 4.5 ดังนั้นแม้หากที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อยเพียง 1 ใน 4.5 ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนก็จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเสียอีกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เป็นตารางวาละ 1,875 บาท โดยไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นของที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนนับว่าเป็นประโยชน์แก่โจทก์อยู่แล้ว หากเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์อีกก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม
โจทก์มิได้อุทธรณ์เรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินทำสวนส้มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งการอุทธรณ์เป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดจะต้องทำก่อนคดีมาสู่ศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์เพิ่งเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้มาพร้อมกับคำฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากการขาดประโยชน์ในการใช้ที่ดินทำสวนส้ม
โจทก์มิได้อุทธรณ์เรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการขาดประโยชน์จากการใช้ที่ดินทำสวนส้มต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 25 วรรคหนึ่งการอุทธรณ์เป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดจะต้องทำก่อนคดีมาสู่ศาล ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อโจทก์เพิ่งเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้มาพร้อมกับคำฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากการขาดประโยชน์ในการใช้ที่ดินทำสวนส้ม