คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประโยชน์สูงสุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขมติของราชการเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ แม้จะทำให้เอกชนได้รับความเสียหาย ไม่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การที่บริษัทขนส่ง จำกัด ผู้รับมอบอำนาจจากกรมการขนส่งทางบกได้ทำสัญญาให้โจทก์เข้าปรับปรุงพื้นที่สถานีขนส่งสายเหนือ(ตลาดหมอชิต) ของบริษัทขนส่ง จำกัด แต่บริษัทขนส่ง จำกัดไม่สามารถส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทำการก่อสร้าง เนื่องจากกรมธนารักษ์โต้แย้งว่าที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ กรมการขนส่งทางบกไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้บริษัทขนส่ง จำกัด ทำสัญญาแล้วกระทรวงคมนาคมกระทรวงการคลัง กรมการขนส่งทางบก กรมธนารักษ์และบริษัทขนส่งจำกัด ได้ร่วมประชุม และมีมติให้กรมการขนส่งทางบกมอบที่ดินดังกล่าวคืนกระทรวงการคลัง เพื่อดำเนินการถอนสภาพการเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะให้เป็นที่ดินราชพัสดุที่ใช้ในการจัดหาประโยชน์ เพื่อที่จะให้กรมธนารักษ์ พิจารณาให้โจทก์มีสิทธิปลูกสร้าง และรับประโยชน์ตอบแทนตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบริษัทขนส่ง จำกัด แต่ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และจำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงคมนาคมพิจารณาเห็นว่ามติดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ก็ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำเรื่องขอที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ในฐานะรองอธิบดีกรมธนารักษ์รักษาการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อกระทรวงคมนาคมจะได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกนำที่ดินบริเวณสถานีขนส่งตลาดหมอชิตทั้งหมด รวมทั้งที่ดินแปลงดังกล่าวไปดำเนินการตามโครงการที่ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเบลเยี่ยมเสนออันจะเป็นประโยชน์ต่อทางราชการมากกว่าที่จะแบ่งให้โจทก์ไปทำการปรับปรุงแต่เพียงบางส่วน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงหาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามทุจริตอย่างไร คดีโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดและการรวมแปลงที่ดิน: ศาลต้องพิจารณาความสมเหตุสมผลเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสีย
คำสั่งของศาลที่จะเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 จะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมหรือแยกทรัพย์สิน หรือขอให้ขายทรัพย์สินนั้นตามลำดับที่กำหนดไว้ หรือร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่สั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 309(1)(2) และ (3) และเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำร้องหรือคำคัดค้านเช่นว่านั้น ผู้ร้องได้ยื่นคำขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายใน 2 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งชี้ขาดเรื่องนั้น คำสั่งชี้ขาดของศาลจึงจะเป็นที่สุด แต่ข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 972 รวมกับที่ดินแปลงอื่นรวม 10 โฉนดในคราวเดียวกันต่อศาลชั้นต้นโดยตรงก่อนการขายทอดตลาดกรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 309ดังกล่าว คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งคำร้องของโจทก์จึงยังไม่เป็นที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรและการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูหลังหย่า โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยส่งบุตรคืนมาอยู่ในความปกครองของโจทก์จำเลยฟ้องแย้งขอให้บุตรเปลี่ยนไปอยู่ในความปกครองของจำเลย โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันฟ้องด้วยศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้เปลี่ยนผู้ปกครองบุตรจากโจทก์เป็นจำเลย และให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามฟ้องแย้งแต่ไม่ได้ระบุว่าให้ชำระตั้งแต่เมื่อใด ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ดังนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมให้ครบถ้วน โดยให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสมจากประสบการณ์และความเป็นกลางเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
กองมรดกมีแต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านเพียงสองคนเท่านั้นที่ขอเป็นผู้จัดการมรดก แต่ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันหากให้ร่วมกันจัดการมรดกคงไม่อาจถือเอาเสียงข้างมากได้และไม่เป็นผลดีแก่กองมรดก จึงสมควรตั้งผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียว ผู้ร้องเป็นบุตรคนโต ของผู้ตายและเป็นพี่ของทายาททุกคน มีอายุ47 ปี เคยช่วยเหลือผู้ตายดูแล กิจการโรงแรมซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอยู่นานประมาณ 10 ปี เคยเป็นเทศมนตรี สมาชิกสภาจังหวัด ประธานสภาจังหวัดและเคยดำเนินธุรกิจโดยเป็นผู้จัดการบริษัทเงินทุนนานประมาณ 8 ปีทั้งบรรดาทายาทส่วนมากของผู้ตายต่างยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ส่วนผู้คัดค้านแม้จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแต่อายุเพียง 26 ปี เมื่อเทียบกับผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องมีประสบการณ์ในชีวิต และการทำงานมากกว่าผู้คัดค้าน และตามข้อนำสืบของผู้คัดค้านยังฟังไม่ชัดแจ้งว่า ผู้ร้องมีเจตนาที่จะเบียดบังและยักย้ายทรัพย์มรดกหรือมีความประพฤติไม่ดีต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกมากกว่าผู้คัดค้าน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตร: พิจารณาความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมและประโยชน์สูงสุดของเด็ก
ตามปกติอำนาจปกครองย่อมอยู่กับบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 การที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นภริยาว่า จำเลยทะเลาะกับโจทก์แล้วหนีออกจากบ้านไปอาศัยอยู่ที่อื่น ขอให้บังคับจำเลยให้ส่งบุตรคืนแก่โจทก์ ก็เป็นการฟ้องเพื่อจะใช้อำนาจปกครองนั่นเอง แต่ศาลจะให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) หากกรณีส่อแสดงว่าการให้บุตรอยู่กับมารดาจะเป็นการเหมาะสมกว่า(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1225/2508) เมื่อได้ความว่าบุตรอายุเพียง2 ปี ยังไร้เดียงสาและได้อยู่กับจำเลยด้วยดีคลอดมา ไม่ปรากฏข้อบกพร่องเสียหาย การให้บุตรอยู่กับจำเลยระยะนี้บุตรจะได้รับความอบอุ่นมากกว่าอยู่กับโจทก์ และจำเลยก็รับว่าไม่รังเกลียดที่จะให้โจทก์เยี่ยมเยียน จึงควรให้บุตรอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยผู้เป็นมารดาไปก่อน หากมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปโจทก์ก็ชอบที่จะเรียกร้องเอาบุตรคืนได้ ชั้นนี้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเจตนาแบ่งที่ดินต้องพิจารณาสภาพที่ดินและเจตนาของผู้แบ่งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
การตีความแสดงเจตนานั้น กฎหมายให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ในการแบ่งที่ดินระหว่างเจ้าของรวมซึ่งมีกรรมสิทธิ์คนละส่วนเท่า ๆ กัน แม้ฝ่ายหนึ่งจะตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเลือกเอาก่อน โดยมิได้กำหนดวิธีการรังวัดแบ่งแยกไว้ชัดแจ้ง ก็มิได้หมายความว่า ฝ่ายที่มีสิทธิเลือก จะเลือกชี้แบ่งเอาได้ตามใจชอบ เมื่อมีปัญหาว่าจะแบ่งอย่างไรจึงจะถูกต้องตรงตามเจตนา ศาลย่อมต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของที่ดินประกอบ เพื่อหยั่งทราบถึงเจตนาอันแท้จริง
โจทก์ 2 คนและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมแบ่งที่ดินกันคนละส่วนเท่า ๆ กัน ที่ดินนั้นด้านตะวันออกติดทะเล และด้านตะวันตกมีทางออก ทางทิศเหนือสุดมีบ้านจำเลยปลูกอยู่ และทิศใต้สุดมีบ้านโจทก์ที่ 1 ปลูกอยู่ โจทก์ที่ 1 ได้ส่วนแบ่งของตนไปแล้ว โดยได้ที่ดินด้านทิศใต้สุดยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ส่วนที่เหลือ โจทก์ที่ 2 แถลงต่อศาลว่า ให้จำเลยเลือกเอาก่อนตามสภาพของที่ดินหากแบ่งเป็นส่วน ๆ เรียกต่อจากโจทก์ที่ 1 ยาวจากทิศตะวันออกไปตะวันตก ที่ดินจะมีทางออกและติดทะเลด้วยกันทุกแปลง หากแบ่งยาวจากทิศเหนือไปใต้ แปลงที่อยู่ติดทะเลจะถูกที่ดินอื่นล้อมขนาบไม่มีทางออก ย่อมเล็งเห็นเจตนาของโจทก์ที่ 2 ได้ว่า ประสงค์ให้แบ่งที่ดินเป็น 2 ส่วน ยาวจะทิศตะวันออกไปตะวันตกเรียงกันไป และติดทะเลด้วยกันทุกแปลง แล้วให้จำเลยเลือกเอาก่อนแปลงใดแปลงหนึ่ง ซึ่งไม่เดือดร้อนด้วยกันทุกฝ่าย จำเลยจะเลือกแบ่งให้โจทก์ที่ 2 ได้ที่ดินด้านติดทะเลแต่ถูกล้อมขนาดไม่มีทางออกหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองเด็ก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ แม้บิดาโดยทั่วไปมีอำนาจ
ตามธรรมดาแล้วอำนาจปกครองอยู่แก่บิดา แต่เมื่อมีความเหมาะสม ศาลอาจสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
กรณีผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นโจทก์เหมือนกรณีฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อชำระสะสางกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการและศาลต้องสอดส่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสั่งตามที่เห็นสมควรตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 151 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ยอมรับเจ้าหนี้ที่เสนอรับจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นที่มาประชุมเสนอรับเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม แต่มีเจ้าหนี้มาประชุม 96 ราย จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 182 ราย คิดเป็นเงินที่ขอรับชำระหนี้จำนวนมาก โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มาประชุมไม่สามารถและเต็มใจที่จะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นใหม่เพื่อสรรหาเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ไม่ชอบที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (1)
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12502/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในครอบครัว: การดูแลบุตรหลังการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1548 แล้ว ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของทั้งโจทก์และจำเลย ตามมาตรา 1546 และ 1547
ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาว่าผู้เยาว์สมควรจะอยู่กับโจทก์หรือจำเลย เพราะข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์เพิ่งจะปรากฏขึ้นในชั้นฎีกา แต่เมื่อคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 248 ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนเพียงพอที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลล่างวินิจฉัยก่อน ศาลฎีกาสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไปเลย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ มีอำนาจปกครองและเลี้ยงดูผู้เยาว์ด้วยกัน แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้อยู่ด้วยกัน กรณีจึงพิจารณาความเหมาะสมว่าผู้เยาว์อยู่กับผู้ใดจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์สูงสุด เมื่อโจทก์เพิ่งจะประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนจำเลยทำงานมีความมั่นคง ทั้งผู้เยาว์อยู่อาศัยกับจำเลยมาโดยตลอด ผู้เยาว์เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน มีเพื่อน มีความอบอุ่นอยู่แล้ว ทั้งไม่มีข้อบกพร่องในการดูแลของจำเลย การจะให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับโจทก์ เป็นการให้ผู้เยาว์ไปเผชิญสภาพแวดล้อมใหม่ หาโรงเรียนใหม่ เข้าสู่สังคมใหม่ ที่ไม่ปรากฏว่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์หรือผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือไม่ กรณีไม่มีความเหมาะสมที่จะให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับโจทก์ การที่ผู้เยาว์อยู่อาศัยกับจำเลยจึงมีความเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ ให้จำเลยเปิดโอกาสให้โจทก์ได้พบผู้เยาว์ได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองบุตรหลังการหย่า: ศาลใช้ดุลพินิจคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เยาว์
แม้ว่า ป.พ.พ. มาตรา 1566 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา" แต่ก็มีข้อยกเว้นตามบทบัญญัติมาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 วรรคสอง (5) ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งให้บิดาหรือมารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวได้ หากผู้ใช้อำนาจปกครองประพฤติตนไม่สมควรหรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงประโยชน์และความผาสุกของผู้เยาว์เป็นสำคัญ โดยไม่ถือว่าเป็นการสั่งเพิกถอนอำนาจปกครองของผู้ใช้อำนาจปกครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง
of 2