คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โทษทวีคูณ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า: การปรับถือเป็นโทษแล้ว แม้ยังไม่พ้นโทษจำคุกที่รอการลงโทษ
การระวางโทษทวีคูณตามมาตรา 113 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ ที่บัญญัติว่า "บุคคลใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้อีก ให้ระวางโทษทวีคูณ" ไม่ต้องพิจารณาว่าจะต้องพ้นโทษจำคุกที่รอไว้อีกหรือไม่ เพราะเพียงแต่ได้รับโทษปรับก็ถือว่าต้องระวางโทษตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ นี้แล้ว กรณีต้องวางโทษทวีคูณตามบทมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษทวีคูณในความผิดเครื่องหมายการค้า การปรับถือเป็นโทษทางอาญา
การปรับเป็นโทษอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18(4) ดังนั้น เพียงแต่ได้รับโทษปรับก็ถือว่าต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างสิ่งล้ำน้ำและการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.เดินเรือฯ ศาลฎีกายืนโทษปรับและคำสั่งรื้อถอน
ความผิดตามพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456มาตรา 117ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 118 โดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาทจำเลยปลูกสร้างอาคารเป็นสะพานทางเดินและทำเป็นศาลาท่าน้ำล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำในน้ำ ของทะเลสาบเป็นเนื้อที่ 143.32 ตารางเมตร การที่ศาลล่างลงโทษปรับจำเลย 214,980 บาท เมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้งคงปรับ 107,490 บาทเป็นการปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ตารางเมตรละ 1,500 บาท นับว่าเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ มาตรา 118 ทวิ ที่แก้ไขแล้วเป็นการกำหนดวิธีการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ปลูกสร้างขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตามฟ้อง ดังนั้น แม้ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าเจ้าท่ามีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนหรือแก้ไขสิ่งปลูกสร้างแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในความผิดเครื่องหมายการค้าซ้ำ หากพ้นโทษเดิมยังไม่ครบ 5 ปี การปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปีโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมา กระ ทำความผิดในคดีนี้เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดในคดีปรับผู้ประกัน กรณีจำเลยไม่มาศาลตามสัญญาประกัน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนโดยมี ม.เป็นผู้ประกัน ต่อมาเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยปรากฏว่าผู้ประกันผิดนัดไม่อาจนำตัวจำเลยมาพิจารณาคดีได้เป็นการผิดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกัน ต่อมาเมื่อผู้ประกันดำเนินการจนได้ตัวจำเลยมาศาลและขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับ ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ลดค่าปรับลงอีก ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 119 ผู้ประกันจะฎีกาต่อไปหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษและชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ที่ลักไป ศาลฎีกาแก้เป็นปรับและคุมความประพฤติ
แม้จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปหลายครั้ง แต่ราคาทรัพย์รวมทั้งสิ้นเพียง 18,812 บาทและหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้เงินจำนวน 100,000 บาทแก่โจทก์ร่วม จนโจทก์ร่วมพอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 1รู้สำนึกถึงความผิดที่ตนกระทำและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุก มาก่อน ทั้งประกอบอาชีพสุจริตมาโดยตลอด นิสัยและความประพฤติ โดยทั่วไปไม่ปรากฏข้อเสียหาย จึงสมควรรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 1 ไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเกินกว่า ราคาทรัพย์ที่ลักไปให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว จึงไม่ชอบที่ ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมอีกอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้รับเหมาไม่ปฏิบัติตามสัญญา
พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ลงมือก่อสร้างอาคารหรือทำงานล่าช้าหยุดงานบ่อยจนผลงานไม่ปรากฏล้วนอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอด โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยน่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญา และยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก โดยโจทก์บอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วถึง 11 เดือน และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์กำหนดให้สัญญามีผลเลิกกันนั้น ล่วงเลยวันที่สัญญาครบกำหนดอายุแล้วนานถึง 6 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญอย่างอื่นให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าวโจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้างบริษัทท. ให้ทำการก่อสร้างอาคารต่อจากที่จำเลยทำไว้จนแล้วเสร็จหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วเป็นเวลา1 ปี 7 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า จึงเห็นได้ว่าความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงทวีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19(1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ สัญญาจ้างข้อ 19(1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลย ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติ ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้อง เอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญา ข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19(1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยัง มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย ตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตาม สัญญาข้อ 19 วรรคท้าย สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิ ที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิ ทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลย แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวัน ในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอา ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แล้ว เพราะ หลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญา ทันที่ จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับ สัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิ ในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญา ข้อ 19(1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง มาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆตามสัญญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ ต้องไม่เกินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากร การปรับเกินกว่าสี่เท่าขัดต่อกฎหมาย
แม้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวินี้เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษปรับนี้จึงย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ปรับจำเลยเรียงตัวคนละสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว จึงเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า ขัดต่อบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดครั้งเดียวและบทบัญญัติเฉพาะ
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่บัญญัติให้ลงโทษปรับ 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากรนั้น เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ดังนั้นการปรับจำเลยเรียงตัว คนละ 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันย่อมเป็น การปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งเกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อ บทกฎหมายดังกล่าว และในมาตรา 120 ก็บัญญัติไว้เป็นพิเศษ ว่าเมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้ แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ กรณีจึงไม่อาจนำความ ในมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7497/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และบอกเลิกสัญญาจากความล่าช้าในการก่อสร้าง
ตามสัญญาจ้างกำหนดสิทธิของโจทก์ผู้ว่าจ้างในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาไว้ว่า หากจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิที่จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19 (1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยที่ 1 ได้อีกด้วยตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ซึ่งสิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างข้อเดียวกันก็ตาม แต่ก็เป็นสิทธิที่แยกต่างหากจากกันกล่าวคือ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกใช้สิทธิดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิดังกล่าวทุกกรณีก็ได้
เมื่อปรากฏว่า ใกล้จะครบกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาแต่ละฉบับตามที่ได้ขยายเวลาออกไป โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ให้เร่งรัดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา พร้อมทั้งแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับไว้ด้วย หลังจากครบกำหนดเวลาตามที่ได้ขยายออกไปแล้ว โจทก์ได้ไปตรวจงานก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 หยุดการก่อสร้าง ซึ่งโจทก์เห็นว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าและจำเลยที่ 1 คงจะไม่ทำการก่อสร้างอีกต่อไป โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แล้ว เพราะหลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ทันที ยังให้โอกาสแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะทำการก่อสร้างต่อไปอีก จนกระทั่งปรากฏว่างานก่อสร้างไม่คืบหน้าเพราะจำเลยที่ 1 ละทิ้งงานอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้ายต่อเนื่องกับสัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิในการที่โจทก์จะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันตามสัญญาข้อ 19 (1) แต่อย่างใด เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้งมาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้
of 11