พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: ศาลแขวงปรับบทลงโทษตามมาตรา 328 มิได้ แม้เป็นบทหนักกว่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7777/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนผิดกฎหมายและการริบของกลาง: การปรับบทและขอบเขตการริบ
จำเลยมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียน ซึ่งเป็นอาวุธปืนของกลางรวมทั้งสิ้น 3 กระบอก ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสามด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนนี้ จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
จำเลยมีอาวุธปืนยาวประจุปาก (ปืนแก๊ป) ชนิดประกอบขึ้นเองเมื่อเป็นอาวุธปืนที่มีทะเบียน จำเลยจึงมีความผิดในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีและซ่อมแซมอาวุธปืนเท่านั้น อาวุธปืนดังกล่าวมิใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะพึงต้องริบตาม ป.อ.มาตรา 32 และมิใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 33 (1) การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ริบอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้คืนอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวแก่เจ้าของตามที่ปรากฏชื่อทางทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษฐานรับของโจร แม้ศาลล่างจะปรับบทจากความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ยกฟ้องฐานรับของโจรจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาศาลฎีกาเห็นว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานลักทรัพย์แต่การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจะต่างกันระหว่างการกระทำผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญและจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลล่างทั้งสองก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วเพียงแต่ปรับบทฐานความผิดต่างกันเท่านั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้โทษจากยักยอกเป็นฉ้อโกง ประเด็นอายุความ และอำนาจศาลในการปรับบท
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วยในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมายดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา194แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีในวงเงินเอาประกันภัย100,000บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปีและได้รับส่วนลดเป็นพิเศษโจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัทท. กับจำเลยโดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง1กรมธรรม์และทำสัญญาประกันชีวิตให้ม. อีก1กรมธรรม์โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง2กรมธรรม์ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน179,500บาทแต่ปรากฏว่าบริษัทท. ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและม. เป็นเงินเพียง10,584บาทและ8,659บาทตามลำดับซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง1ปีและโจทก์ร่วมกับม. จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปีปีละครั้งแสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีแต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าวกลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและม. ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วมจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องคดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าวจึงทักท้วงต่อจำเลยจำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1เดือนในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24กันยายน2534และจำเลยได้ปฏิเสธว่าโจทก์ร่วมและม. ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่9ธันวาคม2534คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุมาตราในฟ้องอาญา ไม่จำเป็นต้องระบุวรรค ศาลมีหน้าที่ปรับบทตามข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด..." เห็นได้ว่าบทบัญญัติดังกล่าว เพียงแต่อ้างบทมาตราก็เพียงพอแล้วหาจำต้องระบุวรรคด้วยไม่ เพราะการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดวรรคใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทมาตราและวรรคให้ถูกต้องตามฟ้องและข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดทางอาญา: มาตรา 140 วรรคสาม ต้องพิจารณาโทษหนักกว่าวรรคหนึ่ง/สอง
ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 140วรรคสาม โดยไม่ปรับบทตามมาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา 140 วรรคแรกด้วยนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 140 วรรคสาม มิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัวและการไม่ปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 140 วรรคแรก หรือวรรคสองย่อมไม่ทราบว่าจำเลยต้องระวางโทษหนักกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่งของมาตรา140 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140
ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา140วรรคสามโดยไม่ปรับบทตามมาตรา138วรรคสองและมาตรา140วรรคแรกด้วยนั้นไม่ถูกต้องเพราะมาตรา140วรรคสามมิได้บัญญัติความผิดไว้ชัดแจ้งในตัวและการไม่ปรับบทว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา140วรรคแรกหรือวรรคสองย่อมไม่ทราบว่าจำเลยต้องระวางโทษหนักกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้กึ่งหนึ่งของมาตรา140วรรคหนึ่งหรือวรรคสองและปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเมื่อไม่ได้ขอลงโทษตามกฎหมายเดิม
พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2535 มาตรา 30เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ(8) และมาตรา 78 เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43 (1) (2) (5) หรือ (8) และมาตรา 78 มาด้วยจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2535มาตรา 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ: ไม่ต้องปรับบทตามมาตราทั่วไป
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามป.อ.มาตรา 264 ซึ่งเป็นบททั่วไปในคำพิพากษาอีก
จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย
จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ การปรับบทมาตรา 264 ไม่จำเป็นเมื่อมีความผิดตามมาตรา 265
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 ซึ่งเป็นบททั่วไปในคำพิพากษาอีก จำเลยกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิ และใช้เอกสารสิทธิปลอม การปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 ในคำพิพากษาต้องระบุบทมาตราประกอบด้วย