พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่จำเลยให้การรับสารภาพ และปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามช่วงเวลาที่กระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นนายจ้างของลูกจ้างผู้มีชื่อจำนวน 55 คน ได้กระทำผิดด้วยการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างดังกล่าว จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามที่โจทก์บรรยาย มาในคำฟ้อง จำเลยจะฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงให้ผิดไปจากที่ปรากฏในคำฟ้องซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพแล้วไม่ได้ ทั้งข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างในฎีกาก็เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่การกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีผลใช้บังคับจึงต้องปรับบทให้ถูกต้องตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการปรับบทกฎหมาย แม้ไม่มีคำขอเพิกถอนโดยตรง ศาลสามารถพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของฟ้องแย้งได้
ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยมีคำขอให้โจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้แก่จำเลย กับห้ามโจทก์ใช้หรือขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้เกิดผลให้โจทก์สิ้นสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ตามวัตถุประสงค์ในคำขอของจำเลยดังกล่าวตามที่จำเลยมีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67จึงเป็นการพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของฟ้องแย้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ชอบ
จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลฎีกาพิจารณาการปรับบทกฎหมายและโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยที่ 2 รักใคร่กันฉันชู้สาว ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ด้วยกันตามลำพังในยามวิกาลทราบว่า ผู้ปกครองของผู้เสียหายที่ 1 กำลังติดตามหาผู้เสียหายที่ 1 อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังขับรถพาจำเลยที่ 2 และผู้เสียหายที่ 1 ไปหลบเพื่อให้พ้นจากการติดตามหาตัวผู้เสียหายที่ 1 พบ จำเลยที่ 1 มีอายุ 27 ปี เป็นผู้ใหญ่กว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุ 17 ปีเศษ และผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอายุเพียง 14 ปีเศษ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าโดยพฤติการณ์และในสภาวะที่จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 1 ไปตามลำพังเช่นนั้น ย่อมเป็นโอกาสที่จำเลยที่ 2 จะล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม จำคุกคนละ 3 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับคนละ 5,000 บาท และรอการลงโทษให้ โจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเองโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ โดยโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับสำหรับความผิดในข้อหานี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม จำคุกคนละ 3 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับคนละ 5,000 บาท และรอการลงโทษให้ โจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเองโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ โดยโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับสำหรับความผิดในข้อหานี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายลงโทษในความผิดอาญาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3) เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเยาวชนฯ, การปรับบทกฎหมายยาเสพติด, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายอาญา
ศาลที่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนจะต้องเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 เท่านั้น
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ.จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตาม ป.วิ.อ. คดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3และศาลฎีกาตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4 ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา104 (2) เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม
ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท มีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ.มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลบังคับใช้แล้ว แม้คดีนี้ขณะที่กระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนก็ตาม แต่ในท้องที่จังหวัดราชบุรีซึ่งจำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติและเป็นท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวดังนั้น ศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ.จึงมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)ศาลชั้นต้นจึงไม่ใช่ศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายในมาตรา 4 เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาจำเลยแล้ว การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องอุทธรณ์ฎีกาไปตาม ป.วิ.อ. คดีจึงขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3และศาลฎีกาตามลำดับ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาจึงมิใช่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวตามความหมายของมาตรา 4 ด้วยเช่นกัน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาย่อมไม่มีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา104 (2) เพื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรีได้ แม้ในขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกาได้พิจารณาคดีนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดราชบุรีได้เปิดทำการและมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม
ขณะที่จำเลยกระทำผิด จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.896 กรัม เกินกว่าปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ต้องรับโทษตามมาตรา 106 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท แต่ในระหว่างพิจารณาปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20ระบุชื่อ เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 จึงมีผลให้การมีเมทแอมเฟตามีนคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เพียง 3.896 กรัม ไม่ถึง 20 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป และเมื่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 67 ระวางโทษเบากว่าระวางโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106 ทวิ ซึ่งใช้อยู่ในขณะจำเลยกระทำความผิดจึงเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67 ตาม ป.อ.มาตรา 3 แต่สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท มีระวางโทษหนักกว่าฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 89ซึ่งระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาทจึงถือว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวแตกต่างและมิได้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ดังนี้ ความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขายจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 89 ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณตาม ป.อ.มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะไม่ฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร, การปรับบทกฎหมาย และการกำหนดโทษปรับรายวัน
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร4 ชั้น ซึ่งขัดต่อมาตรา 31 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะเข้าใจโดยสุจริตหรือสำคัญผิดว่าได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร 5 ชั้นก็ตาม อาคารที่จำเลยก่อสร้างก็ยังเป็นอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตโดยไม่ต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตแต่ได้รับโอนมาเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารดังกล่าว ก็ไม่สามารถทำให้จำเลยมีอำนาจดำเนินการก่อสร้างให้ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตต่อไปได้อีก และจะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากภาระหน้าที่ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคารที่ผิดรายการที่ได้รับอนุญาตนั้นหาได้ไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารและได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเพราะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมายได้อันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนและถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จำเลยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารได้ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างอาคารและให้รื้อถอนอาคารด้วยการก่อสร้างอาคารต่อไปและงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคาร ย่อมถือได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันจำเลยประสงค์ต่อผลซึ่งเป็นการกระทำโดยเจตนา ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ซึ่งจำเลยต้องรื้อถอนอาคารบางส่วนก็ตาม แต่จำเลยมิได้ดำเนินการรื้อถอน และยังคงฝ่าฝืนต่อไป กรณีเช่นนี้หาทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำผิดไม่
จำเลยจัดให้มีการก่อสร้างอาคารที่ผิดจากรายการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วกระทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเกิดขึ้นเมื่อจำเลยทราบคำสั่งแล้วงดเว้นไม่ยอมรื้อถอนอาคารภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง
แม้การปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลย คู่ความมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 ทวิ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความไว้ จึงต้องนำอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาปรับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารเริ่มแต่วันที่จำเลยได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งติดต่อกันไปจนถึงวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารเสร็จ กรณีหาใช่ความผิดต่อเนื่อง และหาใช่อายุความยังไม่เริ่มนับตราบใดที่จำเลยยังคงฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นอยู่ไม่
ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเริ่มเกิดเป็นความผิดขึ้นนับแต่วันที่ฝ่าฝืนไม่ยอมรื้อถอนอาคาร และเป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังคงฝ่าฝืนหรือไม่ยอมรื้อถอนอาคาร เมื่อจำเลยยังฝ่าฝืนอยู่ตลอดมาอายุความจึงยังไม่เริ่มนับ
กรณีที่มีทั้งระวางโทษที่กำหนดและโทษรายวัน การที่จะพิจารณาว่าศาลใดลงโทษสูงต่ำกว่ากัน ต้องพิจารณาลักษณะของโทษแยกกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกและปรับ กับปรับรายวันวันละ 200 บาท จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว และศาลอุทธรณ์ลงโทษปรับและปรับรายวันวันละ 500 บาท ย่อมเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติดต่อความผิดเดิม: การปรับบทกฎหมายและขอบเขตความรับผิด
ขณะจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเมื่อวันที่24 มิถุนายน 2539 การเสพเมทแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา62 ตรี ซึ่งจำเลยผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 106 ตรี ต่อมาก่อนการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 97 (พ.ศ.2539)ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2539 ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อและจัดแบ่งประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 เดิมทุกฉบับ และให้วัตถุออกฤทธิ์ที่ระบุชื่อในบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ตามความใน พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวไม่ได้ระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์อีกต่อไป และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ระบุไว้ในบัญชีท้ายประกาศลำดับที่ 20 ว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เท่านั้น จึงมีผลให้การเสพเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 57 ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามมาตรา 91 และไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 อีกต่อไป อันเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ.มาตรา 3 วรรคแรก
สำหรับข้อหาความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ แม้การเสพเมทแอมเฟตามีนจะไม่เป็นความผิดตามมาตรา102 (3 ตรี) เพราะภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่ความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 102 (3 ทวิ) และมาตรา 127ทวิ และมีโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มิได้ถูกยกเลิกไป จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิดดังกล่าวหรือบัญญัติให้เป็นคุณตามป.อ.มาตรา 2 และ 3 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อไม่มีกรณีที่จะต้องปรับบทด้วยกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด ส่วนข้อหาความผิดฐานจำเลยเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งและ 157 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไปแต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539)ดังกล่าว และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ อันเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ซึ่งต้องให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว และศาลไม่อาจสั่งจำเลยให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย ตามบทกฎหมายดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.185, 215 และ 225 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือเฉพาะบทความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ106 ตรี และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี)และ 127 ทวิ เท่านั้น ซึ่งต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี อันเป็นบทหนักที่สุด
สำหรับข้อหาความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102(3 ตรี) และ 127 ทวิ แม้การเสพเมทแอมเฟตามีนจะไม่เป็นความผิดตามมาตรา102 (3 ตรี) เพราะภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่ความผิดฐานผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 102 (3 ทวิ) และมาตรา 127ทวิ และมีโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย มิได้ถูกยกเลิกไป จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติภายหลังยกเลิกความผิดดังกล่าวหรือบัญญัติให้เป็นคุณตามป.อ.มาตรา 2 และ 3 แต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อไม่มีกรณีที่จะต้องปรับบทด้วยกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี) และ 127 ทวิซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำความผิด ส่วนข้อหาความผิดฐานจำเลยเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่งและ 157 ทวิ วรรคหนึ่ง นั้น เมื่อภายหลังการกระทำความผิดดังกล่าวเมทแอมเฟตามีนไม่ถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อไปแต่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539)ดังกล่าว และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่ซึ่งเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ อันเป็นกรณีที่บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ซึ่งต้องให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว และศาลไม่อาจสั่งจำเลยให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลย ตามบทกฎหมายดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.185, 215 และ 225 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือเฉพาะบทความผิดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ106 ตรี และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (3 ตรี)และ 127 ทวิ เท่านั้น ซึ่งต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ตรี และ 106 ตรี อันเป็นบทหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5616/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณะ, ความผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทกฎหมาย, และการบังคับคดีค่าปรับ
ความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365กฎหมายมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีบัญญัติไว้โดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา9,108ทวิวรรคสองและแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเพราะต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำที่แตกต่างกันสามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ การยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา29,30เป็นวิธีที่จะกระทำเพื่อเป็นการชดใช้ค่าปรับเป็นการบังคับคดีไม่จำที่ศาลจะต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนและการไล่เบี้ย แม้ฐานะฟ้องผิด ศาลปรับบทกฎหมายได้
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคารโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่จำเลยก็ให้การยอมรับว่า จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงิน ทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริง อันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง
เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์
เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 แต่ประการใด
แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง
เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์
เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฏอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทางฝากเงินเพื่อประกันหนี้และการชำระหนี้แทน การปรับบทกฎหมายเพื่อบังคับใช้สิทธิ
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการที่จำเลยกู้เงินจากธนาคารโดยทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้ ต่อมาโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระเงินแทนจำเลยตามจำนวนที่ค้างอยู่ให้แก่ธนาคาร โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย ซึ่งจำเลยก็ให้การยอมรับว่า จำเลยได้กู้เงินจากธนาคารตามฟ้องและโจทก์ได้ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากประจำของโจทก์ให้แก่ธนาคารที่จำเลยกู้เงิน ทั้งยอมรับว่าโจทก์ได้ชำระเงินแทนจำเลยไปจริงอันเป็นการต่อสู้คดีได้ถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้การที่โจทก์ทำหนังสือมอบสิทธิการรับเงินฝากให้ไว้แก่ธนาคารผู้ให้กู้จะมิใช่การค้ำประกันตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 แต่ก็เป็นเรื่องความตกลงกันในทางฝากเงินเพื่อเป็นประกันหนี้อันเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เมื่อโจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารแทนจำเลยตามที่จำเลยขอร้องโดยจำเลยรับจะชำระเงินคืนโจทก์ และธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก็ยอมรับชำระหนี้แล้ว จำเลยจึงต้องใช้เงินคืนโจทก์ตามข้อสัญญาที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันไว้ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันอันจะรับช่วงสิทธิมาฟ้องไล่เบี้ยจำเลยได้นั้น เป็นเพียงการสำคัญผิดในฐานะของโจทก์ซึ่งมิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องอย่างชัดเจนว่าโจทก์ได้ชำระเงินกู้ที่จำเลยค้างชำระแทนจำเลย และขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้ที่โจทก์ชำระแทนไปดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงข้อเท็จจริงที่ปรากฎอย่างใดแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินคืนในฐานะใดตามกฎหมาย ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 แต่ประการใด