พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดสำเร็จ แม้ตำรวจจะตรวจพบยาไม่ครบจำนวนตามตกลง และการปรับบทลงโทษสำหรับจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
ตกลงซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกันจำนวน 8,000 เม็ด ราคา 400,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบถุงเมทแอมเฟตามีนของกลางซึ่งมีจำนวน 6,800 เม็ด แก่เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งไม่ตรงตามที่ตกลงซื้อขายกัน และเจ้าพนักงานตำรวจได้รับมอบมาแล้วถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางอันเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจะตรวจนับพบว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางยังขาดจำนวนตามที่ตกลงกันไว้ และได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้จำเลยที่ 1 ถือไว้โดยทำทีที่จะนับเงินให้ตามจำนวนราคาเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยที่ 1 บอกก็เพื่อถ่วงเวลาหาโอกาสส่งสัญญาณให้เจ้าพนักงานตำรวจที่ซุ่มดูเพื่อเข้าจับกุมจำเลยที่ 1 กับพวก ที่ร่วมกันกระทำความผิดก็ตาม ก็หาทำให้การกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 กับพวก ซึ่งเป็นความผิดสำเร็จแล้ว กลับกลายเป็นเพียงความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางไม่
การปรับบทความผิดและลงโทษเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
การปรับบทความผิดและลงโทษเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
อายุความฟ้องคดีอาญา ตาม ป.อ.มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับ เมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งสองวรรค
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกัน คือ นอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การพิจารณานับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 นี้ จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกัน ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
จำเลยเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรมคลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32 วรรคสาม จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69 แล้ว
จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 32วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่ศาลล่างพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ซึ่งถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและสอง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกันกล่าวคือนอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การนับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกันไม่ ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสามเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม บัญญัติไว้ จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคารดังกล่าว ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69
จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยทั้งสามเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม บัญญัติไว้ จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคารดังกล่าว ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69
จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น-พยายามฆ่า-มีจิตบกพร่อง-การปรับบทลงโทษ-ความผิดอาวุธปืน
ก่อนเกิดเหตุประมาณ 6 ถึง 7 เดือน จำเลยเคยมีอาการผิดปกติทางจิตและเคยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล และตามคำเบิกความของแพทย์หญิง ก. พยานจำเลยกับใบรับรองแพทย์ซึ่งระบุว่าจำเลยเป็นโรคจิตประเภทชนิดหวาดระแวงประกอบกับรายงานการวินิจฉัยโรคของโรงพยาบาลนิติจิตเวชซึ่งระบุเช่นกันว่าป่วยเป็นโรคจิต จึงเชื่อว่าจำเลยกระทำไปเพราะมีจิตบกพร่องหรือโรคจิต แต่ข้อเท็จจริงได้ความอีกว่า ขณะเกิดเหตุ อ. อยู่ใกล้กับจำเลยและเข้าแย่งอาวุธปืนจากจำเลยด้วย แต่จำเลยไม่ได้ใช้อาวุธปืนยิงหรือทำร้าย อ. แต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าภาวะจิตใจของจำเลยขณะกระทำความผิดยังสามารถรู้สึกผิดชอบหรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปด้วย การปรับบทลงโทษแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
จำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานทำให้ผู้อื่นเกิดความกลัวหรือตกใจโดยการขู่เข็ญและฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอันเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวต่อเนื่องเป็นหลายกรรมต่างกัน ต้องปรับบทลงโทษจำเลยประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 วรรคสอง ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปด้วย การปรับบทลงโทษแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน และความถูกต้องของการปรับบทลงโทษ
เงินที่จำเลยทั้งสามลักเอาจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(10) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามมาตราดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง และที่พิพากษาปรับจำเลยทั้งสามคนละ 50 บาท โดยมิได้พิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสามไม่ชำระค่าปรับจะจัดการอย่างไรต่อไปสมควรแก้ไขว่าหากจำเลยทั้งสามไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
การมีไว้เพื่อขายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติว่าเป็นความผิดคงบัญญัติความผิดเฉพาะฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง,71 และเมื่อเป็นยาแผนปัจจุบันด้วย จึงเป็นความผิดฐานขายยาแผนปัจจุบันตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง,101 อีกด้วย อันเป็นการกระทำกรรมเดียวต้องปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันฟุตบอลและสลากกินรวบ: ความผิดหลายกรรม, การรับสารภาพ, และการปรับบทลงโทษ
สำหรับข้อหาเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโลก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการเล่นทายผลฟุตบอลโลก อันเป็นการเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันซึ่งได้ระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 3 ท้าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน นำมาซึ่งผลประโยชน์ของตน และร่วมเล่นกับพวกที่หลบหนีอยู่ ส่วนข้อหาเล่นการพนันสลากกินรวบ โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบ อันนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตน และร่วมกันเล่นพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน อันเป็นการเล่นซึ่งระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 โดยถือเอาเลขท้าย 3 ตัว ของเลขรางวัลที่ 1 และเลขท้าย 2 ตัว ของสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 และ 16 ระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2541 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2541 เป็นเลขถูกรางวัลสลากกินรวบ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการบรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี อีกทั้งจำเลยก็ให้การรับสารภาพ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามคำฟ้องแล้ว ส่วนยอดเงินตามโพยมิใช่องค์ประกอบความผิดแต่เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องทั้งสองข้อหาจึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า พฤติการณ์ในการค้นและออกหมายค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจนำพยานหลักฐานที่ได้มาใช้รับฟังลงโทษจำเลยได้นั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งมิใช่ข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเพียงกรรมเดียวซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้ไขโทษ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า พฤติการณ์ในการค้นและออกหมายค้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจนำพยานหลักฐานที่ได้มาใช้รับฟังลงโทษจำเลยได้นั้นหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งมิใช่ข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยเพียงกรรมเดียวซึ่งไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฏหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้องโดยไม่แก้ไขโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน, การปรับบทลงโทษเกินคำขอ, และการรอการลงโทษในคดีป่าไม้
แม้จำเลยตั้งใจเข้าไปเก็บเอาไม้กฤษณาเพื่อนำออกไปขายหาเลี้ยงชีพ แต่ก่อนที่จำเลยจะได้ไม้กฤษณามาเพื่อนำออกไปขาย จำเลยได้ตัดโค่นต้นไม้กฤษณาและเซาะต้นไม้กฤษณาเป็นชิ้นแล้วรวบรวมไว้ซึ่งเป็นเจตนาและการกระทำต่างหากจากการครอบครองเพื่อนำออกไปขาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11
คดีขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาว่าโทษที่ศาลล่างลงแก่จำเลยเหมาะสมหรือไม่ แต่ต้องไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทำไม้หวงห้าม และมิได้ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 , 73 การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11 และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอุทยานฯ และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายป่าไม้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2505 มาตรา 16,24โดยบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้หวงห้ามประเภท ก. ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต มิได้บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยกับพวกเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นภายในเขตอุทยานแห่งชาติ อันเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 16(2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิด แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษด้วย และจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก