พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าโดยปริยาย: การไม่ปฏิบัติตามสัญญาและการเพิกเฉยเป็นระยะเวลานาน ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลงและคืนสู่ฐานะเดิม
ก่อนทำสัญญาเช่านั้นจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จแล้วเพียงแต่ยังมิได้ตบแต่งเท่านั้น โจทก์ตกลงจะชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยเป็นเงิน 1,000,000 บาท โดยโจทก์จะจ่ายให้ในวันจดทะเบียนการเช่า แม้ตามสัญญาเช่าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าเมื่อใดแต่โจทก์กับจำเลยยอมรับกันว่าได้ตกลงกันจะไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่ 5มกราคม 2535 ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์จะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าอีก 100,000บาท กับเงินช่วยค่าก่อสร้างจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่จำเลย ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่า แต่ปรากฏว่าในวันนัดจดทะเบียนการเช่าดังกล่าว โจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่ค้างชำระอยู่ 100,000 บาท และเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลย และจำเลยเองก็ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า โจทก์และจำเลยไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่ากันอีกต่อไป ทั้งหลังจากนั้นโจทก์และจำเลยต่างปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการเช่าและมิได้เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญา จนเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2535 โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขอบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้แก่โจทก์ กรณีเช่นนี้แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไปฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ ดังนั้น โจทก์และจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391
สัญญาเช่าได้เลิกกันโดยปริยายและโจทก์กับจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่เวลาที่รับไว้ และจำเลยยังต้องใช้ค่าก่อสร้างตบแต่ง ซึ่งโจทก์ได้ใช้เงินไปในการงานนั้น แต่ค่าเสียหายอื่น ๆ นอกจากนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
สัญญาเช่าได้เลิกกันโดยปริยายและโจทก์กับจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่เวลาที่รับไว้ และจำเลยยังต้องใช้ค่าก่อสร้างตบแต่ง ซึ่งโจทก์ได้ใช้เงินไปในการงานนั้น แต่ค่าเสียหายอื่น ๆ นอกจากนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร แม้ไม่มีใบอนุญาตจัดสรร การแบ่งขายที่ดินถือเป็นการจัดสรรโดยปริยาย
แม้จะไม่ปรากฏว่าบริษัทก.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286และที่ดินโฉนดเลขที่31569ส่วนที่เป็นทางพิพาทนั้นเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็ตามก็ถือได้ว่าการกระทำของบริษัทก. ที่แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย90แปลงเพื่อขายนั้นเป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่าบริษัทก. จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาทอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ข้อ30 การที่บริษัทก. จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากหากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของบริษัทก.ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายดังนั้นทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินที่จัดสรรและที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัทก.จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อจากบริษัทก.ย่อมอยู่ในบังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30ที่จะกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้การที่มีการก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางภารจำยอมย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อที่ดินแปลงที่ทางภารจำยอมตั้งอยู่โอนมาเป็นของจำเลยโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายและการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อ
โจทก์มอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่าง ๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์ สาขาชัยนาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ในวันดังกล่าวจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่ 2 มกราคม 2532 ป.ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์ สาขาชัยนาท ได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ จ.ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร ลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้ว แม้ จ.เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วง และในการลงชื่อของ จ.ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับ ทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของ จ.ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง จึงมีผลเสมือนว่า จ.ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น ดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วน ไม่เป็นโมฆะ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้ และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวน 48 งวด คือ 4 ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นเอา 4 ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตาม ก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกัน การกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้ และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในจำนวน 48 งวด คือ 4 ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใด บวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระ จากนั้นเอา 4 ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตาม ก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบ หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9403-9495/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างโดยปริยาย การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข และหน้าที่ปฏิบัติตามข้อตกลง
การตกลงอันจะก่อให้เกิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งรวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นหาได้จำต้องเฉพาะการตกลงโดยชัดแจ้งไม่อาจมีการตกลงโดยปริยายก็ได้ จำเลยเคยจ่ายเงินพิเศษแก่ลูกจ้างปีละ15วันแล้วได้เปลี่ยนมาเป็นการจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแทนลูกจ้างของจำเลยหาได้ทักท้วงหรือโต้แย้งคัดค้านประการใดไม่ตรงกันข้ามกลับยอมรับเอาผลการเปลี่ยนแปลงโดยยอมรับเอาคูปองค่าอาหารแทนเงินพิเศษตลอดมาจึงมีผลผูกพันจำเลยและลูกจ้าง จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างคนละ190บาทต่อเดือนนั้นคูปองค่าอาหารที่จ่ายให้มีลักษณะเป็นสวัสดิการอันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่งเมื่อลูกจ้างยอมรับเอาและจำเลยก็ได้จ่ายคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างตลอดมาจึงเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือมี2กรณี คือกรณีแรกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ยี่สิบคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา10วรรคแรกซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีนี้จะต้องมีข้อความดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา11ส่วนกรณีที่สองข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้างและสามารถตกลงกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา18ซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้วนายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างหรือกรรมการของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณีจะต้องลงลายมือชื่อและต้องนำไปจดทะเบียนอีกด้วย จำเลยผู้เป็นนายจ้างตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารโดยมิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องและมิใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามกฎหมายจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือดังนี้จำเลยจะยกเบิกการจ่ายคูปองค่าอาหารซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยที่มิได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแก่ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา13หาได้ไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าก่อนที่จำเลยจะยกเลิกจ่ายคูปองค่าอาหารจำเลยได้ตกลงกับตัวแทนลูกจ้างแล้วนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานฟังมาว่าไม่ได้มีการเจรจาสองฝ่ายให้ยกเลิกการจ่ายคูปองค่าอาหารอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายเงินโบนัสและคูปองค่าอาหารให้แก่ลูกจ้างแยกต่างหากจากกันแม้จำเลยจะเพิ่มเงินโบนัสแก่ลูกจ้างแต่การที่จำเลยยกเลิกการจ่ายคูปองอาหารอันเป็นผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับคูปองอาหารย่อมไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างจำเลยจะแก้ไขยกเลิกโดยลำพังโดยที่มิได้ดำเนินการตามมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หาได้ไม่ คำพิพากษาศาลแรงงานกล่าวไว้ในส่วนของคำวินิจฉัยว่าจำเลยต้องจ่ายค่าอาหารแก่โจทก์แต่พิพากษาให้จำเลยจ่ายอาหารแก่โจทก์นั้นเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจำเลยตกลงจ่ายคูปองค่าอาหารแก่ลูกจ้างเดือนละ190บาทซึ่งจำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกาเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความจึงให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจ่ายคูปองค่าอาหารเดือนละ190บาทแก่โจทก์ทุกคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสื่อสารโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำ
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่า หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันที ทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนด การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาท โดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม 2533 แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญา ไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใด ๆ ที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญา ทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่ แต่ไม่เป็นที่ตกลงกัน ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้ว การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญา หรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลัง หามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิม อันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญา แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยผิดสัญญาหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมิได้ผิดสัญญา แต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยาย โจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม โดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาซื้อขายโดยปริยาย: การเจรจาใหม่แสดงเจตนาไม่ผูกพันตามสัญญาเดิม
สัญญาซื้อขายมิได้ระบุแจ้งชัดว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดแล้วสัญญาเป็นอันเลิกกันทันทีทั้งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาก็เห็นได้ว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้มิใช่ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ณเวลาที่กำหนดการที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทโดยกำหนดโอนที่ดินภายในเดือนมกราคม2533แต่เมื่อครบกำหนดตามสัญญาไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้บอกกล่าวหรือเตรียมการใดๆที่จะทำการโอนที่ดินตามสัญญาทั้งได้เจรจาตกลงราคาที่พิพาทกันใหม่แต่ไม่เป็นที่ตกลงกันถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลง เลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายแล้วการที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาหรือโจทก์มีหนังสือให้ไปโอนที่พิพาทในภายหลังหามีผลว่าเป็นการยึดถือตามสัญญาเดิมอันจะทำให้สัญญาเดิมมีผลผูกพันแต่ประการใดไม่ แม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญาแต่เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยปริยายโจทก์จำเลยจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมโดยจำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391หาได้ขัดต่อสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตใช้รถยนต์โดยปริยายและการรับผิดในทางการจ้าง
แม้ว่าตามระเบียบของกรมชลประทานจำเลย การที่จะนำรถยนต์คันเกิดเหตุขับออกไปข้างนอกได้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเสียก่อนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาคนใดเป็นผู้เก็บกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุที่ ท.ต้องนำคำอนุมัติการใช้รถยนต์ไปเสนอแล้วจึงขอรับกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุไปขับรถยนต์คันเกิดเหตุ การที่จำเลยมอบการครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุและกุญแจของรถยนต์คันเกิดเหตุให้ ท.ซึ่งทำให้ ท.พร้อมที่จะขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลาเช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท.ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุแล้ว ดังนั้นที่ ท.ขับรถยนต์คันเกิดเหตุออกจากกรมชลประทานสามเสนไปแล้วไปชน ศ.ตาย แล้วขับรถยนต์คันเกิดเหตุเข้ามากรมชลประทานสามเสนเหมือนเดิม โดยไม่ว่าในการขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นความประสงค์ของ ท.เองหรือพนักงานของกรมชลประทานคนใดของจำเลยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท. กระทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของ ท.ดังกล่าวจึงถือว่ากระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยแล้ว
โจทก์ที่ 1 เพิ่งรู้ว่า ท.เป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยชนผู้ตายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2531 โจทก์ที่ 1 จึงได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน-ตำรวจในวันที่ 28 เมษายน 2531 จึงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 28 เมษายน 2531 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ในวันที่ 11 เมษายน 2532 จึงไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 1 เพิ่งรู้ว่า ท.เป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยชนผู้ตายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2531 โจทก์ที่ 1 จึงได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน-ตำรวจในวันที่ 28 เมษายน 2531 จึงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 28 เมษายน 2531 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ในวันที่ 11 เมษายน 2532 จึงไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5351/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งตัวแทนโดยปริยายจากการยอมรับหนังสือเชิญและค่าตอบแทน
จำเลยที่ 1 เป็นศึกษาธิการเขตลาดกระบัง โจทก์มีหนังสือเชิญศึกษาธิการเขตลาดกระบังเป็นผู้ประสานงานของโจทก์ให้สิทธิแก่ผู้รับเชิญว่าหากไม่สามารถไปร่วมประชุมหรือรับ-ส่งเงินของสมาชิกหรือรับ-ส่งหนังสือสัญญากู้เงินสามัญ ขอให้มอบให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ผู้รับเชิญเห็นสมควรไปปฏิบัติงานแทนเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบ แสดงว่าโจทก์ตั้งศึกษาธิการเขตลาดกระบังคือจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหนังสือเชิญดังกล่าว ทั้งยังยอมรับค่าตอบแทนที่โจทก์จ่ายให้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 รับเป็นผู้ติดต่อประสานงานของโจทก์โดยปริยาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะโดยปริยาย: การใช้สอยทางต่อเนื่องโดยไม่มีการหวงห้าม ทำให้ประชาชนมีสิทธิใช้สอยได้
โดยลักษณะของทางสาธารณะอาจเป็นได้2กรณีคือเจ้าของที่ดินอุทิศให้เป็นทางสาธารณะกับการที่มีประชาชนใช้สอยเป็นเวลานานโดยไม่มีการหวงห้ามเข้าลักษณะเป็นทางสาธารณะโดยปริยายคดีนี้ได้ความว่าจากปากซอยพานิชอนันต์เข้าไปตามถนนซอยประมาณ175เมตรเป็นทางสาธารณะถัดจากทางพิพาทเข้าไปก็เป็นทางสาธารณะอีกส่วนหนึ่งและที่เป็นซอยแยกก็เป็นทางสาธารณะด้วยลักษณะการใช้สอยทางพิพาทของประชาชนปรากฏว่าใช้มาเป็นเวลานานกว่า10ปีพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้แล้วว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะโดยปริยายเมื่อฟังว่าเป็นทางสาธารณะแล้วประชาชนทั่วไปรวมทั้งจำเลยมีสิทธิใช้สอยได้ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายและห้ามมิให้จำเลยใช้ทางพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายและขอบเขตความรับผิดในสัญญาจ้าง
จำเลยรับเงินค่าจ้างของลูกจ้างโจทก์ 3 คน ไว้โดยคนทั้งสามยินยอมให้จำเลยรับแทน จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนโดยปริยายของลูกจ้างโจทก์ทั้งสามคนดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 797 วรรคสอง การที่จำเลยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่คนทั้งสามน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยรับจากโจทก์ไว้แทนคนทั้งสาม ก็เป็นเรื่องที่คนทั้งสามจะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าจ้างของคนทั้งสามในส่วนที่จำเลยรับไว้จากโจทก์แล้วไม่จ่ายให้แก่คนทั้งสามคืนจากจำเลย