คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลดหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, การปลดหนี้เฉพาะส่วนไม่กระทบความรับผิดของผู้อื่น
ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใด จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 อีกอัตราหนึ่ง ดังนี้ หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้น ก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง การปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น
ปัญหาว่าบริษัทจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันหนี้ หากไปประกันหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่ มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน - ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม - การปลดหนี้เฉพาะบางส่วนไม่กระทบความรับผิดของผู้อื่น
ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมี
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่1 อีกอัตราหนึ่งดังนี้หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้นก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิงการปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น
ปัญหาว่าบริษัทจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันหนี้หากไปประกันหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, การปลดหนี้เฉพาะส่วนไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกันอื่น
ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใด. จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม.
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง. ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่1 อีกอัตราหนึ่ง. ดังนี้ หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่.
จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน. จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้. แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้น. ก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่.เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง. การปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น.
ปัญหาว่าบริษัทจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันหนี้. หากไปประกันหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่. มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาซื้อขาย: การตกลงเลิกสัญญาโดยคู่สัญญา ไม่ใช่การปลดหนี้โดยฝ่ายเดียว
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญาซื้อขายต่อกัน มิใช่เป็นการปลดหนี้โดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่การปลดหนี้ตามมาตรา 340
คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกสัญญาซื้อขายต่อกัน มิใช่เป็นการปลดหนี้โดยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้ของผู้ค้ำประกันและการเรียกร้องหนี้ระหว่างผู้ค้ำประกันร่วม ผู้ค้ำประกันที่ได้รับการปลดหนี้แล้วไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันร่วม
เมื่อเจ้าหนี้ได้ยอมปลดหนี้ตามส่วนของผู้ค้ำประกันลูกหนี้แล้ว หนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะพึงต้องชำระก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ค้ำประกันร่วมกันอีกคนหนึ่งเกินกว่าที่ต้องรับผิดไม่ได้
ผู้ค้ำประกันร่วมคนหนึ่งซึ่งยอมชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินกว่าส่วนที่ตนต้องรับผิดนั้น ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นผู้ซึ่งเจ้าหนี้ได้ปลดหนี้ให้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดหนี้ผู้ค้ำประกันและการเรียกร้องหนี้ระหว่างผู้ค้ำประกันร่วม ผู้ค้ำประกันที่ได้รับการปลดหนี้แล้วไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนที่เหลือ
เมื่อเจ้าหนี้ได้ยอมปลดหนี้ตามส่วนของผู้ค้ำประกันลูกหนี้แล้ว หนี้ที่ผู้ค้ำประกันจะพึงต้องชำระก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ค้ำประกันร่วมกันอีกคนหนึ่งเกินกว่าที่ต้องรับผิดไม่ได้
ผู้ค้ำประกันร่วมคนหนึ่งซึ่งยอมชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินกว่าส่วนที่ตนต้องรับผิดนั้น ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นผู้ซึ่งเจ้าหนี้ได้ปลดหนี้ให้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และสิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องแทนลูกหนี้
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมปลดหนี้ให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นแม่ลูกกันโดยที่ต่างก็รู้อยู่ว่าเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าหนี้ก็ชอบที่จะร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้นั้นเสียได้
การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องแก่บุคคลที่ 3อันเป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์เจ้าหนี้ย่อมร้องแทนลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ไม่ถือเป็นประนีประนอม หากไม่มีหลักฐานการชำระหนี้ครบถ้วน การต่อสู้เรื่องปลดหนี้ต้องมีหลักฐาน
โจทก์เคยฟ้องจำเลยให้ชำระเงินตามสัญญากู้ เป็นเงิน 10,000 บาท แล้วโจทก์ขอถอนฟ้องคดีนั้นเสีย โดยโจทก์บรรยายในคำร้องขอถอนฟ้องว่า "จำเลยได้มาขอความตกลงโดยยอมชำระหนี้ให้แล้วจึงหมดความจำเป็นที่จะดำเนินคดีต่อไป โจทก์จึงขอถอนฟ้อง" ครั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องไปแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินให้เพียง 8400 บาท ยังมิได้ชำระอีก 1600 บาท จึงขอให้ศาลบังคับ ดังนี้ จะถือว่าถ้อยคำที่โจทก์บรรยายมาในคำร้องขอถอนฟ้องเป็นการประณีประนอมไม่ได้ เพราะไม่มีความหมายว่า จำเลยได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นแล้ว หรือว่าได้มีความตกลงเป็นสัญญาประนีประนอมกันขึ้นแล้วหากจำเลยจะต่อสู้ว่า โจทก์ตกลงยอมรับชำระหนี้เพียง 8400 บาท ก็เป็นเรื่อง ต่อสู้ขอปลดหนี้ ต้องบังคับตามมาตรา 340
of 4