คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลัดอำเภอ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลัดอำเภอทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอาวุธปืนแล้วยักยอกเงินและทำให้เอกสารสูญหาย มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยเป็นปลัดอำเภอทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนอาวุธปืนส่งเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาสั่งอนุญาตแล้วจึงเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ร้องขออนุญาตนั้น. หากรับคำขอจดทะเบียนและเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมไว้แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมทั้งหมดเสีย และทำให้คำขอจดทะเบียนสูญหายไปบ้างบางส่วนนั้น จำเลยย่อมมีผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 หาผิดตามมาตรา 151,154,157,158,352 ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินที่เคยทำประโยชน์แล้วและไม่มีโฉนด การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิม ซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลย โดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย ๆ ก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 6 คือ เป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่า ได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1099/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินที่เคยถูกไต่สวนออกโฉนดแล้วแต่ถูกทำลาย การจดทะเบียนโดยปลัดอำเภอแทน นายอำเภอชอบด้วยกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ทำประโยชน์แล้ว จนเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำใบไต่สวนและทำโฉนดแล้วพร้อมที่จะมอบให้เจ้าของที่เดิมซึ่งได้ร้องขอออกโฉนดไว้ หากแต่เจ้าของที่เดิมไม่ไปรับใบไต่สวนและโฉนดจนเกิน 10 ปี เจ้าพนักงานจึงได้สั่งทำลายเสีย ที่พิพาทจึงไม่มีใบไต่สวนและไม่มีโฉนด ครั้นที่พิพาทตกมาเป็นของจำเลยโดยเจ้าของเดิมที่ว่านั้นยกให้จำเลย จำเลยก็ได้ครอบครองทำประโยชน์มา จำเลยร้องขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิ ศาลก็สั่งแสดงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาท ที่พิพาทจึงเป็นที่ดินที่อยู่ในความหมายของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 6 คือเป็นที่ดินที่อยู่ในประเภทที่ดินซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอรับโฉนดที่ดินตามบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เวลาจะโอนขายไม่ต้องให้นายอำเภอรับรองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การจดทะเบียนสิทธิและการทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทรายนี้ปลัดอำเภอเป็นผู้ทำแทนนายอำเภอ ย่อมเป็นการทำที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 71(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกบัตรประชาชน: ปลัดอำเภอไม่ใช่ผู้รักษาราชการแทน แม้ได้รับคำสั่งจากนายอำเภอ
คำว่า "ผู้รักษาการแทน" ตามกฎกระทรวงมหาดไทยดั่งกล่าว หมายถึงผู้รักษาราชการแทนโดยธรรมดา เช่นไม่มีตัวนายอำเภอหรือนายอำเภอไม่ได้มาปฏิบัติราชการ ผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนทำงานแทน เรียกว่าเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีตัวนายอำเภอและนายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แม้จะมีงานมากและนายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอช่วยทำแทนให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็ว ผู้รับคำสั่งจากนายอำเภอคือ ปลัดอำเภอก็เป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอ ไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทน
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอ แต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะ อาญา ม.230.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจออกบัตรประชาชน: ปลัดอำเภอไม่ใช่ผู้รักษาราชการแทนหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่
คำว่า 'ผู้รักษาการแทน' ตามกฎกระทรวงมหาดไทยดั่งกล่าวหมายถึงผู้รักษาราชการแทนโดยธรรมดา เช่นไม่มีตัวนายอำเภอหรือนายอำเภอไม่ได้มาปฏิบัติราชการผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนทำงานแทน เรียกว่าเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีตัวนายอำเภอและนายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แม้จะมีงานมากและนายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอช่วยทำแทนให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็วผู้รับคำสั่งจากนายอำเภอคือปลัดอำเภอก็เป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทน
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอแต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา230
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 609/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำนันขุดนาตามคำสั่งปลัดอำเภอ แม้ทำตามก็ยังละเมิดเจ้าของนา
ปลัดอำเภอบอกให้กำนันขุดนาจองถนนเพื่อสาธารณะประโยชน์เมื่อไม่ปรากฏว่าปลัดอำเภอผู้นั้นมีอำนาจตามกฎหมายที่จะสั่งได้เช่นนั้นและปรากฏว่านาที่ขุดนั้นเป็นนาของผู้อื่น กำนันขุดทั้งที่รู้ว่าเจ้าของจะเสียหายดังนี้ แม้กำนันจะทำตามคำสั่งปลัดอำเภอ ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของนาเจ้าของนามีสิทธิฟ้องกำนันให้ทำให้พื้นดินดีตามเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปลัดอำเภอออกเอกสารเท็จให้คนต่างด้าว ย่อมมีความผิดทางอาญา
ปลัดอำเภอทำหนังสือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในหน้าที่ราชการของตน ให้แก่คนต่างด้าวผู้ไม่มีสิทธิจะอยู่ในเมืองไทยได้ โดยจดข้อความเท็จลงในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเพื่อให้เห็นว่า มีสิทธิอยู่ในเมืองไทยได้ ดังนี้ปลัดอำเภอผู้นั้นย่อมมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 แต่ไม่ผิดตามมาตรา 222,224,229

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437-1438/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการอายัติทรัพย์ของปลัดอำเภอและการมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลรักษาของกลาง
ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ มาตรา 106 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะรับอายัติทรัพย์
ปลัดอำเภอมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัติของกลางได้ ฉะนั้นจึงมีอำนาจมอบหมายให้จำเลยผู้มีข้าวไม่แจ้งปริมาณ เป็นผู้รักษาข้าวของกลางไว้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437-1438/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยึด/อายัดทรัพย์ของปลัดอำเภอ และความรับผิดของผู้ได้รับมอบหมายรักษาของกลาง
ตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ มาตรา 106 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะรับอายัดทรัพย์
ปลัดอำเภอมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดของกลางได้ ฉะนั้นจึงมีอำนาจมอบหมายให้จำเลยผู้มีข้าวไม่แจ้งปริมาณ เป็นผู้รักษาข้าวของกลางไว้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม: การลงวันเดือนปีและตำแหน่งเจ้าพนักงาน
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมือง มีวันเดือนปีเขียนอยู่ตอนต้นปลัดอำเภอผู้เขียนได้ลงนามแสดงเป็นผู้เขียนในตำแหน่งปลัดอำเภอในตอนท้าย และอ่านข้อความให้ฟังแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงวันเดือนปีซ้ำอีก พินัยกรรมย่อมสมบูรณ์
of 4