คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปลูกสร้างอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารและให้เช่าต่อ
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารละเมิดสิทธิหรือไม่: สิทธิส่วนบุคคลกับการควบคุมอาคาร
การปลูกสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยไม่ละเว้นระยะไว้ให้ห่าง50 เซนติเมตร ตามเทศบัญญัติซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 นั้นไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ถ้าหากจำเลยได้กระทำผิดกฎหมายนั้นก็เป็นเรื่องของเทศบาลหรือทางราชการที่จะเข้าควบคุมฟ้องร้องเอาเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เริ่มนับจากวันก่อสร้างเสร็จ ไม่ใช่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
ความผิดฐานปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ซึ่งได้แก้ไขแล้วโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 นั้น จะเกิดเป็นความผิดขึ้นเริ่มแต่วันทำการปลูกสร้างติดต่อเนื่องกันไปจนถึงวันทำการปลูกสร้างอาคารเสร็จอายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่การปลูกสร้างอาคารเสร็จลง หาใช่ความผิดนั้นจะต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รบอนุญาตจากเจ้าพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต นับแต่วันก่อสร้างเสร็จ ไม่ใช่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
ความผิดฐานปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 ซึ่งได้แก้ไขแล้วโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น จะเกิดเป็นความผิดขึ้นเริ่มแต่วันทำการปลูกสร้างติดต่อเนื่องกันไปจนถึงวันทำการปลูกสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่การปลูกสร้างอาคารเสร็จลง หาใช่ความผิดนั้นจะต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดปลูกสร้างอาคาร: นับจากก่อสร้างเสร็จ ไม่ใช่ช่วงที่ยังไม่ได้รับอนุญาต
ความผิดฐานปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 ซึ่งได้แก้ไขแล้วโดยพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 นั้น. จะเกิดเป็นความผิดขึ้นเริ่มแต่วันทำการปลูกสร้างติดต่อเนื่องกันไปจนถึงวันทำการปลูกสร้างอาคารเสร็จ. อายุความฟ้องร้องย่อมนับถัดจากวันที่การปลูกสร้างอาคารเสร็จลง หาใช่ความผิดนั้นจะต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่ผู้กระทำยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031-1041/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องการปลูกสร้างอาคาร ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำประเภทใด จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 7 แยกเป็นการกระทำได้ 3 อย่างคือ (1) สร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วน (2) ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วในลักษณะอันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่อาคารนั้นมาก หรือเป็นการเพิ่มหรือขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก (3) แปลงอาคารสำหรับบุคคลอาศัยเป็นอาคารเพื่อประโยชน์อย่างอื่นกลับกัน การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้ถือว่าทำการปลูกสร้างอาคาร ฉะนั้น โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยทำการปลูกสร้างอาคารเท่านั้นก็ไม่ชัดพอจะให้จำเลยเข้าใจฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างอาคารอย่างไหนในสามอย่างดังกล่าว
โจทก์ฟ้องบรรยายว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารโดยการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารเดิมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมากดังนี้ ไม่ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นการสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนหรือไม่ ศาลก็จะลงโทษจำเลยในเรื่องปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031-1041/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องฐานปลูกสร้างอาคาร ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิดให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อกล่าวหา
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 มาตรา 7แยกเป็นการกระทำได้ 3 อย่างคือ (1) สร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วน (2) ต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วในลักษณะอันเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่อาคารนั้นมาก หรือเป็นการเพิ่มหรือขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก (3) แปลงอาคารสำหรับบุคคลอาศัยเป็นอาคารเพื่อประโยชน์อย่างอื่นหรือกลับกัน การกระทำอย่างใดหนึ่งในสามอย่างนี้ถือว่าทำการปลูกสร้างอาคาร ฉะนั้น โจทก์จะบรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยทำการปลูกสร้างอาคารเท่านั้นก็ไม่ชัดพอจะให้จำเลยเข้าใจฟ้องว่าจำเลยได้ทำการปลูกสร้างอาคารอย่างไหนในสามอย่างดังกล่าว
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารโดยการต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารเดิมในลักษณะที่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและขยายพื้นแห่งอาคารนั้นมาก ดังนี้ ไม่ว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นการสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนหรือไม่ ศาลก็จะลงโทษจำเลยในเรื่องปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ล้วนไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาตและล้ำที่ดินผู้อื่น ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์สาธารณะ
จำเลยทำการปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานเลย และปรากฎว่าชายคาเรือนล้ำที่คนอื่นเข้าไปประมาณ 50 ซ.ม. และเรือนพิพาทปลูกคล่อมทางที่คนอื่นเคยใช้ออกไปสู่ทางสาธารณะอันเป็นการเสียหายเดือนร้อนแก่คนอื่นเช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะต้องสั่งรื้อเรือนพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้เป็นโจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาตและล้ำที่ดินผู้อื่น ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนเพื่อคุ้มครองสิทธิและประโยชน์สาธารณะ
จำเลยทำการปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานเลย และปรากฏว่าชายคาเรือนล้ำที่คนอื่นเข้าไปประมาณ 50 ซ.ม. และเรือนพิพาทปลูกคร่อมทางที่คนอื่นเคยใช้ออกไปสู่ทางสาธารณะอันเป็นการเสียหายเดือดร้อนแก่คนอื่นเช่นนี้ ย่อมเป็นการสมควรที่ศาลจะต้องสั่งรื้อเรือนพิพาทตามที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นผู้เป็นโจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปลูกสร้างอาคารเป็นคนละส่วนกับกรรมสิทธิในที่ดิน การก่อสร้างต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร และข้อจำกัดตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดิน
กรรมสิทธิในที่ดินเป็นสิทธิอย่างหนึ่งต่างหากจากการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร เพราะการปลูกสร้างอาคารนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้อีกต่างหาก ผู้ใดจะทำการปลูกสร้างอาคารต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง
ที่พิพาทอยู่ในเขตที่จะต้องตัดถนนตามพระราชกฤษฎีกาจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ฯลฯ 2473 โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในที่พิพาท จำเลยมีคำสั่งไม่อนุญาตดังนี้เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มาตรา 2 บัญญัติว่า"ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดปลูกสร้างโรงเรือนหรือทำการอย่างหนึ่งอย่างใดลงในที่ดินภายในเขตนั้น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าพนักงาน"
of 2