คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปล่อยชั่วคราว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารราชการโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน และการใช้เอกสารปลอมเพื่อขอปล่อยชั่วคราว
หนังสือรับรองราคาที่ดิน ที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ เป็นเอกสาร ซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงเป็นเอกสารราชการ
จำเลยที่ 2 เป็นตัวการจัดให้มีการทำปลอมหนังสือรับรองราคาที่ดิน แล้วมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกันใน การยื่นคำร้อง ขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาต่อศาล จำเลยที่ 2 จึงมีความผิด ฐานปลอมเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและผลกระทบต่อค่าปรับ ผู้ประกันไม่มีส่วนในการจับกุม
จำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนี ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ในคดีอื่นผู้ประกันจึงแจ้งให้ศาลทราบ กรณียังถือไม่ได้ว่าผู้ประกันมีส่วนในการจับกุมจำเลยอันเป็นเหตุที่จะลดหย่อนค่าปรับให้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 กับดุลพินิจศาลในการปล่อยชั่วคราวและการปรับนายประกัน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ข้อ 1 ที่กำหนดว่าให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็คนั้นเป็นข้อกำหนดที่ใช้บังคับแก่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการในการสั่งปล่อยชั่วคราวเท่านั้น หาได้ใช้บังคับในการพิจารณาสั่งปล่อยชั่วคราวของศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การปลอมลายมือชื่อผู้ขอประกันเพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว
ในคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวมีลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้ขอประกันซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อปลอมและมีลายมือชื่อจำเลย พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้ขอประกันแล้วให้นำมายื่นต่อศาลชั้นต้นและแถลงเท็จต่อศาล การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31และมาตรา 33
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นความผิดต่อศาล ถ้าได้กระทำต่อหน้าศาล ข้อเท็จจริงอันเป็นความผิดก็จะปรากฏต่อศาลแล้ว ศาลย่อมลงโทษได้ทันที แต่ถ้ามิได้กระทำต่อหน้าศาลหรือศาลยังไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อศาลนั้นจะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ศาลก็ชอบที่จะไต่สวนหาความจริงในภายหลังได้
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป การที่ศาลชั้นต้นบันทึกถ้อยคำของ ส. ไว้ในแบบพิมพ์คำให้การโดย ส. ได้ปฏิญาณหรือสาบานตนแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 แม้จะมิได้กระทำต่อหน้าจำเลย ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
ศาลล่างมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การปลอมลายมือชื่อผู้ขอประกันเพื่อยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว
ในคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวมีลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้ขอประกันซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อปลอมและมีลายมือชื่อจำเลย พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยรู้เห็นในการปลอมลายมือชื่อ ส. ในช่องผู้ขอประกันแล้วให้นำมายื่นต่อศาลชั้นต้นและแถลงเท็จต่อศาล การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา31 และมาตรา 33
ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นความผิดต่อศาล ถ้าได้กระทำต่อหน้าศาล ข้อเท็จจริงอันเป็นความผิดก็จะปรากฏต่อศาลแล้วศาลย่อมลงโทษได้ทันที แต่ถ้ามิได้กระทำต่อหน้าศาลหรือศาลยังไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏต่อศาลนั้นจะเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ ศาลก็ชอบที่จะไต่สวนหาความจริงในภายหลังได้
บทบัญญัติเรื่องละเมิดอำนาจศาลเป็นกฎหมายพิเศษที่ศาลมีอำนาจค้นหาความจริงได้โดยไม่จำต้องกระทำต่อหน้าจำเลยดังเช่นการพิจารณาคดีอาญาทั่วไป การที่ศาลชั้นต้นบันทึกถ้อยคำของ ส.ไว้ในแบบพิมพ์คำให้การโดยส. ได้ปฏิญาณหรือสาบานตนแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112แม้จะมิได้กระทำต่อหน้าจำเลย ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
ศาลล่างมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลย ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3118/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปล่อยชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีคนเข้าเมือง: ห้ามอุทธรณ์จนกว่ามีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลว่า ล. ภรรยาของผู้ร้องถูกผู้คัดค้านควบคุมตัวไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้มีคำสั่งปล่อยตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90ศาลสั่งรับคำร้อง นัดไต่สวนและหมายเรียก ล. และผู้คัดค้านมาศาล ผู้คัดค้านแถลงว่า ล. เป็นคนญวนอพยพต้องห้ามเข้าเมืองจึงควบคุมตัวไว้เพื่อส่งกลับประเทศเวียตนามหรือประเทศที่สามโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปจึงให้นัดสืบพยานของคู่ความ และได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัว ล.ชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ปล่อยชั่วคราวนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเพราะจะต้องมีการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องอีก คำสั่งดังกล่าวจะเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม กรณีก็ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีความมั่นคงต่อศาลทหาร และการขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลพลเรือน
ผู้ร้องถูกหาว่ากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ (สังกัดกระทรวงกลาโหม) ซึ่งศาลนั้นได้สั่งประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ ณ เรือนจำชั่วคราว ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ศาลอาญาซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งปล่อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาต่างชาติ เหตุไม่มีที่อยู่และอาจหลบหนี ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกายืนคำสั่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ 1 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ต้องหาที่ 1 ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและไม่มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักร พฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ 1 อาจหลบหนีได้ ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่พิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์แห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 108 และเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน กรณีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195-4197/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดวันคดีถึงที่สุดหลังถอนฎีกา กรณีจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยแล้ว หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้น จำเลยก็ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล เมื่อพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยดังกล่าวพอแปลความหมายได้ว่าจำเลยต้องการให้ศาลฎีกาอธิบายความหมายของคำสั่งที่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาตามคำร้องว่าในกรณีนี้คดีถึงที่สุดเมื่อใด
ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกา แต่ยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดตามที่จำเลยยื่นคำร้องไว้ เมื่อกรณีที่จำเลยขอถอนฎีกาเช่นนี้ ศาลฎีกาเคยมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาแล้วสั่งต่อไปว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่จำเลยยื่นคำร้องขอถอนฎีกาในกรณีที่จำเลยนั้นต้องขังระหว่างฎีกาในขณะยื่นคำร้อง แต่คดีนี้จำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกาและขณะที่ยื่นคำร้องขอถอนฎีกา จำเลยยังได้รับการปล่อยชั่วคราว ผู้ประกันเพิ่งมาขอถอนประกันและส่งตัวจำเลยต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ฉะนั้น จึงเห็นควรระบุให้ชัดเจนว่าคดีถึงที่สุดนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 อันเป็นวันที่ผู้ประกันส่งตัวจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักประกันการปล่อยชั่วคราว: ศาลสั่งให้ธนาคารจ่ายเงินได้ถือว่าบังคับคดีแล้ว แม้เจ้าพนักงานยังมิได้ดำเนินการ
ผู้ประกันขอปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 โดยนำสมุดเงินฝากประจำของธนาคาร ก. มาเป็นหลักประกัน เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้มีหนังสือแจ้งธนาคาร ก. ถอนเงินฝากมาชำระค่าปรับ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้บังคับเอาแก่ทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแล้ว เพียงแต่อยู่ในขั้นตอนดำเนินการให้ธนาคารจัดส่งเงินตามสมุดเงินฝากประจำดังกล่าวมาชำระค่าปรับเท่านั้น แม้เจ้าพนักงานศาลมิได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็เป็นความบกพร่องของเจ้าพนักงานศาลซึ่งเป็นเรื่องทางธุรการ กรณีไม่ต้องบังคับคดีโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะต้องออกหมายบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 อีก ดังนี้ แม้จะล่วงเลยระยะเวลามากว่า 10 ปี ก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่มีเหตุคืนหลักประกันให้ผู้ประกัน
of 3