คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปิดงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่ในการเจรจาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือ ลด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่เจรจาตามกฎหมายแรงงาน การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือลดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433-3434/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปิดงานบางส่วนของนายจ้างในข้อพิพาทแรงงาน การแจ้งปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อแจ้งสหภาพแรงงาน
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 และมาตรา 22 วรรคสามมิได้จำกัดสิทธิของนายจ้างว่าเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว นายจ้างจะต้องใช้สิทธิปิดงานทั้งหมดเท่านั้น ฉะนั้นนายจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานบางส่วนเฉพาะลูกจ้างที่มีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้นได้
การแจ้งถึงการปิดงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ให้นายจ้างแจ้งให้ฝ่ายลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้ง มิได้กำหนดให้แจ้งแก่ลูกจ้างเป็นรายบุคคล เมื่อนายจ้างแจ้งการปิดงานเป็นหนังสือให้สหภาพแรงงานผู้แจ้งข้อเรียกร้องที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกทราบแล้ว การแจ้งการปิดงานจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาคลอดและค่าจ้างเมื่อนายจ้างใช้สิทธิปิดงานเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
การที่โจทก์คลอดบุตรระหว่างที่จำเลยปิดงานอันเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 22วรรคสามนั้น ถึงแม้โจทก์ไม่ได้คลอดบุตรในช่วงเวลาดังกล่าว โจทก์ก็มิได้ทำงานให้จำเลยเพราะจำเลยปิดงานซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานชั่วคราวตามมาตรา 5 วรรคหกแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในเมื่อโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยในระหว่างนั้น จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ เพราะการจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนดังนั้นการที่โจทก์คลอดบุตรในช่วงเวลาที่จำเลยปิดงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าจ้างช่วงปิดงานและลาคลอด: สิทธิลูกจ้างเมื่อนายจ้างใช้สิทธิปิดงานและลูกจ้างไม่ได้ยื่นใบลาคลอด
โจทก์เป็นลูกจ้างประจำของจำเลยมาแล้วเกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 จำเลยใช้สิทธิปิดงานเนื่องจากมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2528 จำเลยกับลูกจ้างตกลงกันได้ จึงเปิดงานและเริ่มรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน โจทก์คลอดบุตรเมื่อวันที่29 เมษายน 2528 และจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2528 โดยโจทก์มิได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบของจำเลยดังนี้ การปิดงานของจำเลยเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 22 วรรคสาม กรณีที่โจทก์คลอดบุตรในช่วงแรกระหว่างจำเลยปิดงานนั้นแม้โจทก์ไม่ได้คลอดบุตร โจทก์ก็มิได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างจากจำเลยในระยะเวลาช่วงแรกดังกล่าว ส่วนในช่วงที่สองนับแต่วันที่จำเลยเปิดงานจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นใบลาคลอดตามระเบียบเกี่ยวกับการลาคลอดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีวันลาคลอดอันพึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามที่บัญญัติไว้ในข้อ 18 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนข้อเรียกร้องแรงงานทำให้สิทธิปิดงานของนายจ้างระงับ และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง
การที่เจ้านายหรือลูกจ้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยื่นขอเรียกร้องเพื่อกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีข้อยกเว้นว่าการยื่นขอเรียกร้องสามารถทำเป็นข้อเสนอในการเจรจาได้ เมื่อลูกจ้างซึ่งเป็นฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องได้ถอนข้อเรียกร้องของฝ่ายตน ข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องย่อมระงับไป สิทธิของนายจ้างที่จะปิดงานย่อมระงับไปด้วย นายจ้างจะอ้างเหตุว่าในระหว่างเจรจาต่อรองได้เสนอให้อายุสัญญาข้อตกลงมีกำหนด 2 ปี เป็นการยื่นข้อเรียกร้องของนายจ้างแล้วไม่ได้ เพราะไม่ได้ดำเนินการดังที่กฎหมายบัญญัติไว้
ข้อพิพากแรงงานระงับไปโดยลูกจ้างถอนข้อเรียกร้องแล้วนายจ้างยังเปิดบริษัทดำเนินกิจการอยู่ตลอดมา แต่บ่ายเบี่ยงปิดงานไม่ยอมรับเฉพาะลูกจ้างซึ่งยื่นข้อเรียกร้องเข้าทำงาน เมื่อสัญญาแรงงานยังมีอยู่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ยังปิดงานเฉพาะลูกจ้างดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนข้อเรียกร้องแรงงานทำให้สิทธิปิดงานระงับ, การปิดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อเรียกร้องเพื่อกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต้องทำเป็นหนังสือ ในกรณีที่ฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องถอนข้อเรียกร้องของฝ่ายตนไปตามสิทธิของตน และอีกฝ่ายหนึ่งมิได้โต้แย้งถือว่าข้อเรียกร้องของฝ่ายแรกหมดสิ้นไปข้อพิพาทแรงงานที่เกิดจากสาเหตุที่ฝ่ายนั้นยื่นข้อเรียกร้องย่อมระงับไปด้วยสิทธิที่จะปิดงาน(ของอีกฝ่ายหนึ่ง)ย่อมระงับตามไปด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปิดงาน-นัดหยุดงาน: ข้อพิพาทแรงงานตกลงกันไม่ได้ นายจ้าง/ลูกจ้างมีสิทธิเท่าเทียมกัน
เมื่อมีข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ไม่ว่าข้อขัดแย้งนั้นจะเกิดจากฝ่ายใดเป็นฝ่ายแจ้งหรือข้อเรียกร้อง ถ้าได้ดำเนินการเจรจาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วแต่มิอาจตกลงกันได้ ซึ่งถือเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้นั้น นายจ้างหรือลูกจ้างย่อมมีสิทธิปิดงานหรือนัดหยุดงานได้แล้วแต่กรณี ไม่ใช่จะมีสิทธิเฉพาะฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งปิดงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การแจ้งผ่านผู้แทนลูกจ้างมีผลผูกพันถึงลูกจ้างทุกคน
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 34 วรรคท้าย ที่กำหนดหลักเกณฑ์ของการปิดงานว่านายจ้างต้องแจ้งเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่ง คือลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่รับแจ้งนั้น มิได้หมายความว่านายจ้างต้องแจ้งการปิดงานแก่ลูกจ้างผู้แจ้งข้อเรียกร้องเป็นรายตัว การที่นายจ้างแจ้งการปิดงานต่อผู้แทนลูกจ้างเพียงคนเดียว ย่อมถือได้ว่านายจ้างได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 34 วรรคท้ายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดหยุดงานและการปิดงานโดยนายจ้างทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว
การนัดหยุดงานเป็นมาตรการที่ลูกจ้างกระทำเพื่อบีบบังคับให้นายจ้างต้องยอมตามข้อเรียกร้องของฝ่ายลูกจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้าง นายจ้างไม่ได้รับประโยชน์จากแรงงานของลูกจ้าง การจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยลูกจ้างมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง การที่ลูกจ้างนัดหยุดงานย่อมจะต้องเล็งเห็นความเสียหายอันจะเกิดแก่นายจ้าง และลูกจ้างก็ต้องยอมรับผลแห่งการที่ไม่ได้ทำงานแก่นายจ้างด้วย ดังนั้น เมื่อทั้งลูกจ้างซึ่งนัดหยุดงานและนายจ้างก็ปิดงานเป็นการโต้ตอบกันโดยสมัครใจและถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วจึงเรียกร้องสิทธิอันจะพึงเกิดจากการจ้างแรงงานหาได้ไม่ ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างนัดหยุดงาน
of 3