คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป่าไม้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินก่อนพ.ร.บ.ที่ดิน 2497 และการมิใช่ป่าตามพ.ร.บ.ป่าไม้
แม้การแจ้งสิทธิการครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุของ ส. ซึ่งเป็นยายของจำเลยไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายแต่ก็เป็นหลักฐานสนับสนุนว่าส. ได้ครอบครองที่ดินนั้นก่อนประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ใช้บังคับที่ดินดังกล่าวจึงไม่ใช่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯมาตรา4(1)เมื่อ ส. ยกที่ดินนั้นให้จำเลยจำเลยจึงมีสิทธิครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7246/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิทำไม้พ้นวิสัยจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และการคืนเงินจากสัญญาที่สมบูรณ์
การชำระหนี้ของจำเลยตามสัญญาตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ ทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการต้องชำระหนี้ของจำเลยที่จะต้องให้นาย ป. ได้รับสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ตามสัญญาที่ทำไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนจากนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 372วรรคหนึ่ง
แม้สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเป็นประโยชน์แก่จำเลยโดยนาย ป. จะทวงถามให้จำเลยโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้ให้นาย ป. ได้หลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม 2535 ก็ตาม แต่เมื่อมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ ฯ และรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้สัมปทานทำไม้สิ้นสุดลงก่อนถึงเวลาที่กำหนดไว้เป็นเงื่อนเวลาเริ่มต้น ทำให้การชำระหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนเป็นอันพ้นวิสัย โดยจะโทษจำเลยหรือนาย ป. ไม่ได้ จำเลยก็ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นที่ได้กำหนดไว้เดิมนั้นมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ต่อไป
เมื่อนาย ป. ชำระเงิน 8,000,000 บาท อันเป็นการชำระหนี้ของนาย ป. ตามสัญญาให้จำเลยรับไปครบถ้วนแล้ว นาย ป. จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวได้ เมื่อนาย ป. ตาย สิทธิดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของนาย ป. จึงเป็นมรดกของนาย ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1600โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จะเป็นโมฆะเพราะวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 63 ก็ต่อเมื่อบทบัญญัติดังกล่าว ห้ามมิให้มีการโอนสัมปทานทำไม้ แต่ปรากฏว่าบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ห้ามมิให้ผู้รับสัมปทานโอนสิทธิตามสัมปทานให้แก่ผู้อื่น ทั้งไม่มีบทบัญญัติอื่นใน พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ บัญญัติห้ามเด็ดขาดเช่นนั้นด้วย สัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้จึงไม่ได้มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ อันจะทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113เดิม (มาตรา 150 ใหม่)
นาย ป. ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาโอนสิทธิการเป็นลูกช่วงทำไม้เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย และเป็นการชำระหนี้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้เงินที่จำเลยได้รับจึงไม่เป็นลาภมิควรได้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 ดังกล่าวที่จะต้องฟ้องเรียกร้องภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.โรงงาน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ การอนุญาตจาก พ.ร.บ.โรงงาน ไม่คุ้มครองความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
การที่จำเลยตั้งโรงงานแปรรูปไม้จำเลยต้องปฏิบัติตามกฎหมาย2ฉบับคือต้องขออนุญาตตั้งโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงานและเมื่อจำเลยใช้โรงงานดังกล่าวแปรรูปไม้จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา48วรรคหนึ่งด้วยจำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงานแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้รับอนุญาตให้แปรรูปไม้จำเลยจึงมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้ามตามกฎหมายโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา48 แม้ใบอนุญาตให้จำเลยประกอบกิจการโรงงานระบุว่าให้จำเลยแปรรูปไม้ได้ก็เป็นเพียงระบุกิจการของจำเลยไว้เท่านั้นและผู้อนุญาตก็ไม่ใช่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติป่าไม้ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรงงานเท่านั้นแต่ไม่คุ้มให้จำเลยพ้นผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีป่าไม้ และการริบของกลางตามกฎหมาย
จำเลยถูกพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ รวมสองคดี คือ คดีนี้กับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 889/2536 ของศาลชั้นต้นและโจทก์ขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 889/2536สำหรับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 889/2536 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยให้เบาลงโดยไม่รอการลงโทษจำคุกและคดีถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดสองคดีและศาลลงโทษจำคุกทั้งสองคดี จึงสมควรนับโทษจำเลยต่อตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และมีคำขอให้ริบของกลาง ซึ่งเป็นอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด แต่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่สั่งคำขอดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เฉพาะไม้สักแปรรูป 180 ชิ้น ซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดซึ่งศาลจะต้องริบ ศาลฎีกาหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และแก้ไขเสียให้ถูกต้อง โดยให้ริบไม้สักแปรรูปของกลางดังกล่าวเสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีป่าไม้: การบรรยายฟ้องไม่ชัดเจนและโทษจำคุกต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ปรากฎว่าโจทก์บรรยายการกระทำผิด ในข้อหานี้มาในคำฟ้อง แต่ในคำขอท้าย ฟ้องโจทก์มิได้อ้างบท มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ฉะนั้นจะถือว่าโจทก์ ได้ขอให้ลงโทษในข้อหามีไม้ยังมิได้แปรรูปไวในครอบครองแล้วได้ไม่ กรณีจึงต้องยกฟ้องข้อหานี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้ รับอนุญาต เมื่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484มาตรา 48,73 วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำ 1 ปีที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาจึงเป็นการลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ และฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาลงโทษจำคุก จำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีป่าไม้: การขอลงโทษตามบทมาตราที่มิได้ระบุในคำขอท้ายฟ้อง และการแก้ไขโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีไม้ที่ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองแต่คำขอท้ายฟ้องมิได้อ้างมาตรา 69 แห่ง พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 อันบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด จึงถือว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษในข้อหานั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลย 1 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48,73วรรคสอง อันเป็นการลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดเมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และฎีกาขอให้ลงโทษเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาจึงลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการกระทำผิดป่าไม้: คนงานโรงงานแปรรูปไม้ผิดฐานสนับสนุนเจ้าของโรงงาน
การที่จำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าโรงงานแปรรูปไม้ที่จำเลยทั้งสองทำงานอยู่เป็นโรงงานที่ไม่ได้รับอนุญาต และไม้สักแปรรูปที่ใช้ทำเครื่องประดิษฐ์เป็นไม้แปรรูปที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแต่จำเลยทั้งสองยังยินยอมทำงานเป็นลูกจ้างของเจ้าของโรงงานเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าของโรงงานกระทำความผิดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ของบุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ และการคืนทรัพย์ให้เจ้าของ
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 64 ทวิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้ใช้หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้การกระทำความผิด เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีได้จนกว่าพนักงานอัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น มิได้มีข้อความระบุถึงกรณีเจ้าของเครื่องมือดังกล่าวมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ให้ยึดได้ ดังนั้นจะยึดทรัพย์ของบุคคลที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดไว้ประกอบคดีจนกว่าคดีจะถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษทางอาญาที่ถูกต้องตามกฎหมายป่าไม้และป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาบทหนักและอำนาจแก้ไขโทษของศาล
ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 วางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทห้าหมื่นบาท แต่โทษฐานทำไม้หวงห้ามตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 73 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2525มาตรา 4 วางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท โทษจำคุกที่จำเลยทั้งแปดจะได้รับตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ดังกล่าวสูงถึงยี่สิบปีจึงเป็นโทษ ที่หนักกว่าโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าว ซึ่งมีโทษขั้นสูงเพียงสิบห้าปี โดยไม่ต้องคำนึงว่าโทษขั้นต่ำ ของกฎหมายใดจะสูงกว่ากัน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานแผ้วถางป่าและทำไม้หวงห้าม โดยไม่รับอนุญาต แต่ให้ลงโทษฐานแผ้วถางป่าตามพระราชบัญญัติ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนัก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จึงไม่ถูกต้อง แม้ไม่มีคู่ความ ฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ และเมื่อศาลฎีกา เห็นอีกว่า ที่ศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 8 ในข้อหาดังกล่าวคนละ 8 ปีนั้นหนักเกินไปก็กำหนดโทษ ให้น้อยลงอีกได้ ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วยเพราะ เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 สำหรับข้อหามีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยทั้งแปดคนละ 4 ปี เช่นเดิม แม้ข้อหาดังกล่าวนี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดมานั้นหนักเกินไป ก็มีอำนาจแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และสำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไข กรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2488 มาตรา 69,72 ตรีโดยไม่ระบุวรรค ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยระบุวรรคให้ถูกต้องได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การปิดประกาศกฎหมายป่าไม้เพื่อใช้บังคับ จำเป็นต้องมีการนำสืบหลักฐานการปิดประกาศ ณ สถานที่ที่กฎหมายกำหนด
ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เรื่องกำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และเรื่องกำหนดเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้หวงห้าม มิใช่กฎหมาย โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่า ได้ปิดสำเนาประกาศตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 5 แห่งพ.ร.บ. ป่าไม้ฯ แล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าจำเลยจะยกขึ้นต่อสู้หรือไม่ก็ตามเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่โจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความเช่นนั้น จึงลงโทษจำเลยไม่ได้.
of 16