คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป้ายโฆษณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาเป็น 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดขนาด/น้ำหนัก ผู้มีอำนาจสั่งรื้อไม่มีอำนาจฟ้อง
ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะ จะถือเป็นอาคารตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ 2 ประการคือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ในขณะเกิดเหตุยังไม่มีกฎกระทรวงใช้บังคับ ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นอาคารตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนรวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า ‘เครื่องหมาย’ ในป้ายโฆษณาตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ภาพประกอบถือเป็นเครื่องหมาย ทำให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายพ.ศ. 2510 ป้ายอาจแสดงด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ถือว่าเป็นป้าย ดังนั้นป้ายที่มีอักษรไทยล้วนตามบัญชีอัตราภาษีป้าย ประเภท (1) ย่อมหมายถึงป้ายที่ไม่มีสิ่งอื่นใดเลยนอกจากอักษรไทย
คำว่าเครื่องหมาย นั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2493 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายป้ายโฆษณาภาพยนตร์ที่มีอักษรไทย ภาพดาราภาพยนตร์ ภาพสัตว์และภาพวัตถุอื่น ๆ จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับเครื่องหมายตามบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18437/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีป้ายประเภท 3(ข) ถูกต้องตามกฎหมาย โดยคำนวณจากพื้นที่ป้ายที่มีขอบเขตกำหนด และอัตราภาษีที่กำหนด
ตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) ท้าย พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 ระบุว่า "ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ"ย่อมแสดงให้เห็นว่าป้ายที่แม้มีเพียงบางส่วนของอักษรไทยอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศก็ถือเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข) โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีอักษรไทยอยู่ที่ส่วนใดของป้ายอีกหรือไม่ ดังนั้น เมื่อป้ายรายการที่ 8 มีข้อความอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (3) (ข)
สำหรับป้ายรายการที่ 1, 2 และที่ 6 ส่วนบนมีอักษรไทยว่า "โตโยต้า" มีอักษรต่างประเทศว่า "TOYOTA" และมีสัญลักษณ์ ส่วนล่างมีอักษรไทยว่า "โตโยต้าหนองคาย แผนกขาย ศูนย์บริการ แผนกอะไหล่ และศูนย์บริการตัวถังและสี" อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบประเภทอลูมิเนียม แม้ส่วนบนและส่วนล่างข้อความจะอยู่บนวัสดุปิดผิวที่ต่างระดับกันและมีขนาดต่างกัน แต่ข้อความทั้งส่วนบนและส่วนล่างต่างก็อยู่บนวัสดุปิดผิวเรียบซึ่งเป็นอลูมิเนียมและสีเดียวกันและอยู่บนโครงสร้างที่ได้ทำในคราวเดียวกัน ทั้งในส่วนข้อความหรือสัญลักษณ์ทั้งส่วนบนและส่วนล่างก็ล้วนเป็นข้อความและสัญลักษณ์ แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์ ทำให้ป้ายส่วนบนและส่วนล่างมีลักษณะเป็นป้ายที่มีความต่อเนื่องกันอย่างไม่อาจแยกออกจากกันได้ และเป็นป้ายที่มีอักษรไทยอยู่ใต้และต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ จึงเป็นป้ายตาม (3) (ข)
ส่วนกรณีการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายนั้นตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534 มาตรา 17 ระบุว่า ให้คำนวณภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) และ (7) และตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งตามบัญชีอัตราภาษีป้าย (6) (ก) ระบุว่า ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการคำนวณพื้นที่เพื่อเสียภาษีป้ายที่มีขอบเขตนั้น ให้คำนวณพื้นที่โดยเอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย
of 2