พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่สามารถใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
ในคดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ดังนั้น จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องในคดีอาญา: ป.วิ.อ. มาตรา 158 ใช้บังคับโดยเฉพาะ, ไม่อ้างอิง ป.วิ.พ. มาตรา 172
ในคดีอาญาเมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 158 ได้บัญญัติเรื่องคำบรรยายฟ้องไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1690/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทันที ทำให้สิทธิฎีกาถูกจำกัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดยื่นอุทธรณ์ โดยอ้างเหตุสุดวิสัย โดยมิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าว จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และไม่รับอุทธรณ์ด้วย โดยยื่นภายในกำหนดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2 คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บทบัญญัติ ป.วิ.พ. ในคดีอาญา และการพิจารณาอายุความตาม ป.วิ.อ.
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่า จะนำบทบัญญัติของ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้นและให้นำมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสองและมาตรา 193/17 วรรคสอง ซึ่งเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงแห่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่บทบัญญัติของ ป.วิ.พ. จึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ ป.วิ.อ. ได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8087/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษตามกฎหมายใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 66 วรรคหนึ่ง ลงโทษจำคุก 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) (ที่ถูกมาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) ด้วย) ลงโทษจำคุก 4 ปี แม้จะเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ทั้งบทลงโทษและโทษจำคุกที่ลงแก่จำเลย แต่การแก้ไขบทลงโทษเป็นการปรับบทลงโทษบทเดิมตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของคำฟ้องคดีเบียดบังทรัพย์สิน: การบรรยายรายละเอียดความผิด
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ หน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาที่เกิดเหตุจำเลยซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท พ.ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียว ได้จำหน่ายสินค้าของบริษัทโดยระบุประเภท น้ำหนักของสินค้า และจำนวนเงินที่จำหน่ายสินค้าได้แต่ละวัน แล้วเบียดบังเงินที่จำหน่าย สินค้าได้นั้นเป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว ยังได้บรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุด้วย คำบรรยายฟ้องเช่นนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินของบริษัทไปอย่างไรด้วยวิธีการใดมาด้วย ก็เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์ในคดีอาญาต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ไม่อาจใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ โดยอนุโลมได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 54 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 มีผลเท่ากับจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อ
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
ศาลฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง คำสั่งดังกล่าวไม่ถึงที่สุด จำเลยจึงชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยก็ดี ล้วนเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อสำนวนขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คดีอาญา การใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติเรื่องการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้ ชอบที่จะต้องยกคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกานั้นเสียและศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคสอง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ของฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายความเท็จและข้อสำคัญในคดี
ตามคำฟ้องบรรยายว่า จำเลยเบิกความเป็นพยานในคดีอาญาที่พนักงานอัยการโจทก์ ฟ้องขอให้ลงโทษจ่าสิบตำรวจ ส. จำเลย ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยเบิกความในชั้นศาลว่า ไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน ซึ่งคำเบิกความของจำเลยดังกล่าวเป็นความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาต่อศาล และความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แม้โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดว่า ข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนอย่างไรก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายถึงการเบิกความอย่างไรเป็นความเท็จและความจริงเป็นอย่างไร ข้อที่ว่าจ่าสิบตำรวจ ส. เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตายโดยใช้อาวุธปืนยิงหรือไม่นั้น เป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว เมื่อความจริงจำเลยเห็นจ่าสิบตำรวจ ส. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย แล้วจำเลยมาเบิกความว่า ไม่ได้หันไปดูว่าใครเป็นคนยิงและถูกยิงไม่เห็นเหตุการณ์ขณะที่มีการยิงกัน คำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง ย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้อยู่ในตัวเอง ฟ้องโจทก์จึงมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี เป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคสอง จำคุก 3 ปี จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐานเบิกความเท็จตามฟ้องหรือไม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาล เพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8254/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 เหตุจากจำเลยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาใช้โดยมิได้คัดค้านข้อเท็จจริงในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธสงสัยโดยจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใด ตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร คงคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาไว้ในฎีกาเท่านั้น ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจตามมาตรา 213 ป.วิ.อ.
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา