พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าลักษณะค่าจ้าง: แม้จ่ายรายเดือน แต่หากผูกกับผลงานโดยตรง ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ค่านายหน้าที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน แม้จะเป็นการจูงใจให้ขายสินค้าได้มากขึ้นก็ตาม แต่ขณะเดียวกันก็คือเงินที่จำเลยจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานตามผลงานที่โจทก์ทำได้โดยตรงนั่นเอง ส่วนที่จำเลยได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างไร รวมทั้งจะมีการเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ไม่ใช่ข้อสำคัญ เมื่อวิธีการจ่ายค่านายหน้าอาจปรับได้กับความหมายของคำว่า "ค่าจ้าง"ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานดังกล่าวมาข้างต้นจึงถือว่าค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิพากษ์วิจารณ์ผลงานการก่อสร้างโดยสุจริต ไม่ถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หากมีเหตุอันสมควรและเชื่อได้ว่ามีมูล
การที่โจทก์ส่งมอบงานต่อทางราชการ โดยยังก่อสร้างไม่เสร็จย่อมทำให้ประชาชนรวมทั้งจำเลยที่ 2 เข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ทำงานไม่เรียบร้อย และผิดระเบียบของทางราชการ ส่วนที่โจทก์กับคณะกรรมการตรวจรับงานจะมีข้อตกลงกันเป็นพิเศษอย่างไรนั้นจำเลยที่ 2 ไม่อาจรู้ได้ เมื่อมีเหตุให้น่าสงสัยอันสมควร จำเลยที่ 2จึงได้ลงพิมพ์โฆษณาบทความวิพากษ์วิจารณ์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมว่า "สนามที่สร้างแบบสุกเอาเผากิน ทำเพียงไม่กี่วันก็เสร็จ" เพราะเชื่อโดยสุจริตว่ามีมูลความจริง ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำจึงไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินค่าหลักประกันและค่าผลงานออกจากค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา
สัญญามีใจความว่า ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นจำนวนร้อยละ 8ของราคาที่จ้าง 1,984,000 บาท มามอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและหลักประกันนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้เมื่อผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันดังกล่าวถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาเข้าลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา380 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อค่าเสียหายของโจทก์มี 3,047,200 บาท จึงชอบที่จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกันซึ่งโจทก์ริบไปแล้วมาหักออกจากค่าเสียหายดังกล่าวได้ คงเหลือค่าเสียหายที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ 1,063,200 บาท ค่าผลงานที่จำเลยทำไปแล้ว ตามปกติจำเลยมีสิทธิได้รับชดใช้คืนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามแต่ตามสัญญามีข้อกำหนดว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างทำและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานนั้นโดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าว ผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลย ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างและหากเป็นจำนวนพอสมควรโจทก์มีสิทธิรับผลงานนี้ได้โดยไม่ต้องใช้ราคาแก่จำเลยผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การชำระเงินค่าจ้างเมื่อผลงานเสร็จและผ่านการตรวจรับ แม้จำเลยยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้าง
ข้อความในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ข้อ 5 ที่ว่า "ผู้ว่าจ้าง(จำเลย) ตกลงจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 36,977 บาท เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเหมา เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริงและได้ผ่านการตรวจรับงานจากบริษัท ว. และและวิศวกรผู้ควบคุมงานแล้ว โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัท ว." นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่ว่า "เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริง และได้ผ่านการตรวจรับงานตามที่ระบุไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่ข้อความส่วนที่สองที่ว่า" โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัทว." หาใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระเงินค่าจ้างไม่ เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่มุ่งหมายให้จำเลยเร่งรัดให้บริษัท ว. ชำระค่าก่อสร้างแก่จำเลยตามสัญญาที่จำเลยทำกับบริษัท ว. เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จและผ่านการตรวจรับงานตามเงื่อนไขในสัญญาส่วนแรกแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำงานเสร็จส่งมอบงานและมีการตรวจรับงานตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินงวดจากบริษัท ว. จึงไม่ต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3694/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการ-ผลผูกพันสัญญา: แม้ไม่มีตราบริษัท แต่ผลงานรับไปแล้วถือเป็นตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเอกสารท้ายฟ้องจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างต่อเติมตึกแถวตามฟ้องโดยแนบเอกสาร การว่าจ้างมีลายมือชื่อผู้สั่งจ้างมาท้ายฟ้อง ดังนั้นกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งมีอำนาจว่าจ้างโจทก์แทนจำเลยจะเป็นใครก็ต้องเป็นไปตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนซึ่งอาจจะมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้เป็นกรรมการภายหลังได้ จึงเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่า ในขณะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ผู้ใดเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าบริษัทจำเลยมี ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทน จำเลยไม่เคยตกลงว่าจ้างโจทก์ต่อเติมตึกแถวตามฟ้องเห็นได้ว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ท.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ต่อเติมตึกแถวของจำเลย ท.ได้ลงชื่อสั่งจ้างในเอกสารหมาย จ.7โดยมีวงเล็บชื่อของบริษัทจำเลยไว้ใต้ลายมือชื่อของตน แม้จะลงชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้ซึ่งอาจไม่สมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลย แต่จำเลยได้รับเอาผลงานที่โจทก์ได้ทำตามสัญญาดังกล่าวทั้งหมดและได้ขายตึกแถวไปแล้ว ถือได้ว่า ท. ทำสัญญาว่าจ้างในฐานะเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย มิใช่ ท.ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์เป็นส่วนตัว สัญญาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยซึ่งเป็นตัวการ แม้ ท. จะออกเช็คส่วนตัวชำระค่าก่อสร้างบางส่วนแก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเรื่องของ ท. กับจำเลยไม่เกี่ยวกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก สัญญาว่าจ้างต่อเติมตึกแถวเป็นสัญญาจ้างทำของ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ดังนั้นในขณะฟ้องคดีโจทก์จึงไม่จำเป็นต้องอ้างอิงเอกสารแสดงการว่าจ้างเป็นหลักฐานแห่งคำฟ้อง เมื่อเอกสารนี้ได้มีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว ก็สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันผลงานและผลกระทบต่อการหักกลบลบหนี้: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิหักเงิน 10 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าจ้างที่โจทก์จะจ่ายให้จำเลยที่ 1แต่ละงวดเพื่อเป็นประกันผลงาน แต่โจทก์มิได้หักเงินจำนวนนี้ไว้เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ให้จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันเงินจำนวนนี้ไว้กับโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องรับผิดใช้ค่าปรับและค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะหากจำเลยที่ 2 ไม่เข้าค้ำประกันเงินจำนวนดังกล่าวแล้วโจทก์ก็จะหักเงินจำนวนนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 และโจทก์มีสิทธิที่จะนำเงินดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับค่าปรับและค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายไม่ใช่ค่าจ้าง หากไม่มีเวลาทำงานปกติและมิใช่การคำนวณตามผลงาน
โจทก์ไม่มีเวลาทำงานปกติ จะทำวันใดหรือไม่ทำวันใดก็ได้การที่โจทก์ขายสินค้าแต่ละชิ้นแล้วได้เปอร์เซ็นต์นั้นมิใช่เป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงาน เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานและไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะลูกจ้าง vs. ค่าจ้างจากผลงาน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ และชี้ว่าค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายไม่ใช่ค่าจ้าง
เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟังเป็นดังที่โจทก์อุทธรณ์ จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา ศาลฎีกาไม่อาจนำข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายได้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว โจทก์ไม่มีเวลาทำงานปกติ จะทำวันใดหรือไม่ทำวันใดก็ได้การที่โจทก์ขายสินค้าแต่ละชิ้นแล้วได้เปอร์เซ็นต์นั้น มิใช่เป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงาน เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่โจทก์ได้รับจึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างให้เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน และไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้าง: แม้มีเงื่อนไขผลงาน แต่จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างตามสัญญา หากไม่ได้ยกเลิกจ้าง
สัญญาจ้างข้อ 5 กำหนดเงินเดือนโจทก์ไว้เป็นจำนวนแน่นอนข้อ6 กำหนดเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องทำผลงานขั้นต่ำขายเครื่องรับโทรทัศน์ให้ได้ 5 เครื่องต่อเดือน และข้อ 9 กำหนดว่าถ้าไม่สามารถทำผลงานได้ตามเงื่อนไขสัญญาจ้างถือเป็นการยกเลิกโดยอัตโนมัติ ดังนี้แม้สัญญาข้อ 6 จะมีเงื่อนไขการทำผลงานไว้แต่ก็มิได้กำหนดว่าหากเดือนใดโจทก์ทำไม่ได้ตามเงื่อนไข จำเลยจะไม่จ่ายเงินเดือนสำหรับเดือนนั้นแก่โจทก์ส่วนความในข้อ 9 นั้น มีผลเป็นการเลิกจ้างโจทก์เท่านั้น มิได้หมายความว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน ฉะนั้นแม้โจทก์ทำผลงานไม่ได้ตามสัญญา จำเลยก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2190/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างเหมาประจำมีสิทธิค่าชดเชย แม้จ่ายค่าแรงตามผลงาน การคำนวณต้องใช้ค่าจ้าง 180 วันสุดท้าย
โจทก์ทำงานกับจำเลยเป็นคนงานเหมาประจำได้ค่าจ้างเป็นรายเทการทำงานต้องเซ็นชื่อไปและกลับแม้ไม่มีงานให้ทำการ ลางานต้องยื่นใบลาการบังคับบัญชาขึ้นต่อหมวดพัสดุมี สิทธิได้รับค่าครองชีพ เบิกค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียนบุตร ได้ มีสิทธิทำงานไปจนเกษียณอายุคนงานประเภท เหมาชั่วคราวของจำเลยไม่มีสิทธิต่างๆดังกล่าว การจ่ายค่าแรงของคนงานเหมาประจำหากได้ค่าแรงน้อยกว่าเดือนละ530บาทก็จะได้รับ 530 บาทแสดงว่าจำเลยมิได้คำนึงถึงผลสำเร็จ แห่งงานที่โจทก์ทำให้จำเลยแม้การจ่ายค่าแรงจำเลยจะคิด ให้แก่ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุราจากจำนวนเทของสุราที่บรรจุขวดและผู้ทำหน้าที่ล้างขวดสุราจำเลยจ่ายค่าแรงให้เท่ากับ ผู้ทำหน้าที่บรรจุสุรา การคิดค่าแรงตามจำนวนเทจึงเป็นเพียงวิธีการคำนวณค่าจ้างเท่านั้นไม่ใช่การคิดค่าแรงงานตาม ผลงานที่คนงานประจำทำได้ในแต่ละวันความสัมพันธ์ระหว่าง โจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย ปัญหาว่าการที่โจทก์จะ มีสิทธิรับบำเหน็จหรือไม่จ่ายเงินเข้าสมทบกองทุนบำเหน็จหรือไม่ ก็ไม่ทำให้สภาพการเป็นลูกจ้างของโจทก์เปลี่ยน ไปเป็นไม่ใช่ลูกจ้างปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์ดังกล่าวจึงมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง จึงไม่เป็นสาระแก่การ วินิจฉัย ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การทั้งมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์เป็นลูกจ้างประจำที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน การคำนวณค่าชดเชยของโจทก์จึงต้องคิดจากค่าจ้างของการทำงานที่ โจทก์ได้รับจริงในหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย