พบผลลัพธ์ทั้งหมด 134 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6000-6040/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายผลประโยชน์กรณีโอนกิจการ: การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายเงินบำเหน็จ/ผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน
ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับผลประโยชน์จากจำเลยเพิ่มตามอัตราที่ระบุไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนปีของการทำงานจนกระทั่งถึงวันที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แม้จะใช้ถ้อยคำว่า "ข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุ" ส่วนตามบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยกับตัวแทนลูกจ้างของจำเลยซึ่งกรมแรงงานได้รับจดทะเบียนไว้จะใช้ถ้อยคำว่า"ข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน" ซึ่งแตกต่างกันก็ตาม แต่สาระสำคัญของข้อบังคับเป็นอย่างเดียวกันคือ จำเลยจะจ่ายเงินพิเศษให้แก่ลูกจ้างที่สิ้นสุดสัญญาจ้างโดยไม่มีความผิดคำนวณตามระยะเวลาการทำงาน ทั้งได้กำหนดไว้ในภาคผนวก 3เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ตามบันทึกการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างสหภาพแรงงานลูกจ้างเค.แอล.เอ็ม. ในประเทศไทยกับจำเลย ซึ่งบันทึกไว้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2538 ก็มีความว่า จำเลยจะโอนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุของลูกจ้างไปเข้าเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีคำชี้แจงว่าสืบเนื่องมาจากเดิมที่จำเลยได้ใช้ภาคผนวก 3 ตามสภาพการจ้างเป็นแผนการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างทุกคนในประเทศไทย ซึ่งเป็นผลประโยชน์เพิ่มเมื่อลูกจ้างออกจากงาน เมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ต่อมาได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 นายจ้างจึงตกลงยกเลิกภาคผนวก 3 และให้ยกเลิกผลประโยชน์เพิ่มและให้โอนเงินตามสิทธิของลูกจ้างไปเข้าระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแทน จึงเห็นชัดเจนว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับแผนการเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุกับข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานของจำเลยเป็นเรื่องเดียวกัน จำนวนเงินหรือผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลง เมื่อคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้วเป็นจำนวนเดียวกัน เมื่อจำเลยและสหภาพแรงงานลูกจ้างได้ตกลงกันโอนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณอายุของลูกจ้างไปเข้าเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและจำเลยได้จ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินตามข้อบังคับเกี่ยวกับผลประโยชน์เมื่อออกจากงานให้แก่โจทก์ดังกล่าวอีก
งานในแผนกครัวการบินของจำเลยเป็นกิจการซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากลักษณะงานในแผนกอื่น ๆ ของจำเลย ถึงแม้ว่าจำเลยยังคงประกอบกิจการแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่เช่น ธุรกิจการบินและการให้บริการพิธีการทางสนามบินก็ตาม จำเลยก็ไม่สามารถจะโอนย้ายลูกจ้างในแผนกครัวการบินของจำเลยไปทำงานในแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ได้ ประกอบกับจำเลยได้เลิกจ้างลูกจ้างในแผนกครัวการบินทั้งหมดประมาณ 200 คน โดยมิได้เจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่จำเลยขายกิจการแผนกครัวการบินให้แก่ผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่กิจการดังกล่าวยังไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุน ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบการค้าโดยเสรี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
งานในแผนกครัวการบินของจำเลยเป็นกิจการซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากลักษณะงานในแผนกอื่น ๆ ของจำเลย ถึงแม้ว่าจำเลยยังคงประกอบกิจการแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่เช่น ธุรกิจการบินและการให้บริการพิธีการทางสนามบินก็ตาม จำเลยก็ไม่สามารถจะโอนย้ายลูกจ้างในแผนกครัวการบินของจำเลยไปทำงานในแผนกอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ได้ ประกอบกับจำเลยได้เลิกจ้างลูกจ้างในแผนกครัวการบินทั้งหมดประมาณ 200 คน โดยมิได้เจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่จำเลยขายกิจการแผนกครัวการบินให้แก่ผู้อื่น ทั้ง ๆ ที่กิจการดังกล่าวยังไม่ได้ประสบปัญหาการขาดทุน ก็เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจการดำเนินกิจการของจำเลยในการประกอบการค้าโดยเสรี ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่สิบเอ็ดดังกล่าว เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรแล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติชั่วร้ายแรง กรณีเรียกรับผลประโยชน์และปลอมแปลงเอกสาร
โจทก์อาศัยโอกาสที่โจทก์เป็นพนักงานของจำเลยหลอกลวงเรียกรับผลประโยชน์จากผู้อื่นเพื่อให้ผู้นั้นได้รับการบรรจุเป็นพนักงานของจำเลยทั้งได้ติดต่อทำเอกสารปลอมเพื่อใช้ในการสมัครงานของผู้อื่นด้วย เป็นการประพฤติชั่วประพฤติตนเป็นภัยต่อสังคมหรือจำเลยไม่รักษาเกียรติ ชื่อเสียง และกระทำผิดกฎหมายเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่จำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินโบนัสให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ให้ผลประโยชน์จากการเป็นความแก่ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี เป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยทำกับ ส. มีข้อตกลงว่า ให้ ส. ติดต่อว่าจ้างทนายความในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ก. ให้โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย โดย ส. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดีให้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และเมื่อคดีถึงที่สุดจำเลยชนะคดี จำเลยยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ส. ทันที โดย ส. จะต้องจ่ายเงินจำนวน 60,000 บาท แก่จำเลยในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นการตอบแทนแต่ ส. ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก. พิพาทกัน ดังนี้ สัญญาที่โจทก์และจำเลยทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ ส. ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150ที่แก้ไขใหม่) กรณีไม่เป็นสัญญาที่เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดเล่นพนันต้องมีเจตนาแสวงหาผลประโยชน์ หากไม่มีเจตนาดังกล่าว แม้จัดให้มีการเล่น ก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน
การจัดให้มีการเล่นตามบัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 จะต้องเป็นการจัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นทางนำมาซึ่งประโยชน์แก่ผู้จัด ผู้จัดจึงจะมีความผิดแม้ตามมาตรา 12 ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษจะใช้ถ้อยคำว่าผู้จัดให้มีการเล่นเท่านั้น ก็ย่อมหมายถึงผู้จัดให้มีการเล่นอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ. 2478 นั่นเอง ข้อความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 วรรคสอง ที่ว่า จัดให้มีขึ้นเพื่อเป็นทางนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ผู้จัดโดยทางตรงหรือทางอ้อม เป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อตามคำฟ้องของ โจทก์ไม่ปรากฎข้อความว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นบิลเลียดและสนุกเกอร์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเล่นบิลเลียดขึ้นเพื่อเป็นทางนำมาซึ่งผลประโยชน์แห่งตนโดยทางตรงหรือทางอ้อมถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน แม้ยังไม่ได้ใช้แสดงต่อผู้อื่น ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265
จำเลยเป็นผู้ทำสัญญากู้ยืมเงินรวมทั้งลายมือชื่อส. ผู้ให้สัญญาด้วยตนเองเมื่อปี2536ภายหลังที่ส. ถึงแก่ความตายไปแล้วในปี2533และลงวันที่ย้อนหลังไปว่าได้ทำสัญญาดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่15ธันวาคม2531ทำให้เห็นว่าสัญญาดังกล่าวทำขึ้นระหว่างส. กับจำเลยในขณะที่ส. ยังมีชีวิตอยู่และใจความของสัญญาดังกล่าวที่ว่าส.กู้ยืมเงินจำเลย100,000บาทถ้าส.ไม่คืนเงินจำนวนดังกล่าวส.ยอมโอนที่ดินสวนยาวพาราเนื้อที่14ไร่1งานแก่จำเลยนั้นนอกจากไม่เป็นความจริงแล้วยังน่าจะเกิดความเสียหายแก่ทายาทของส. อีกด้วยและเหตุที่จำเลยทำเอกสารดังกล่าวขึ้นเพื่อจะใช้อ้างกับด.ว่าที่ดินของส.เป็นของจำเลยและจะได้เรียกร้องค่าเสียหายต่อไปซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการที่จำเลยกระทำดังกล่าวเพื่อให้ด. หลงเชื่อว่าเอกสารสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงดังนั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา265 ข้อความที่ว่า"โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน"ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา264นั้นไม่ใช่การกระทำโดยแท้และไม่ใช่เจตนาพิเศษจึงไม่เกี่ยวกับเจตนาแต่เป็นพฤติการณ์ที่ประกอบการกระทำที่น่าจะเกิดความเสียหายได้แม้จะไม่เกิดความเสียหายขึ้นจริงก็เป็นองค์ประกอบความผิดที่พิจารณาได้จากความคิดธรรมดาของบุคคลทั่วไปในลักษณะเดียวกับจำเลยส่วนคำว่าผู้หนึ่งผู้ใดในข้อความที่ว่า"ได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง"นั้นแสดงว่านอกจากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้วยังต้องมีเจตนาพิเศษในการกระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงด้วยโดยมิได้เจาะจงผู้ที่ถูกกระทำให้หลงเชื่อไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องเป็นผู้ใดดังนั้นการที่จำเลยเจตนากระทำเอกสารปลอมขึ้นเพื่อให้ด. หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงก็เป็นความผิดแล้วแม้จำเลยยังมิได้นำเอกสารดังกล่าวไปใช้แสดงต่อด.ก็ตามทั้งบุคคลที่จะถูกทำให้หลงเชื่อนี้กฎหมายมิได้กำหนดว่าจำต้องเกี่ยวโยงเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับบุคคลที่น่าจะเกิดความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยคือทายาทของส. แต่อย่างใดแต่อาจเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา265แล้วกรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา264อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่า: การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนโดยพิจารณาผลประโยชน์ทุกฝ่าย
การกำหนดวันจดทะเบียนการเช่าตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมิได้ให้อำนาจจำเลยเปลี่ยนแปลงวันจดทะเบียนการเช่าได้โดยพลการ การเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเหตุขัดข้องขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าเป็นเพียงข้อเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าออกไปเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ตอบตกลง ทั้งไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ แต่ตรงกันข้ามโจทก์กลับมอบอำนาจให้ ศ.ไปจดทะเบียนการเช่าแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้เดิมอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ยอมตกลงตามข้อเสนอของจำเลย การเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าของจำเลยจึงไม่มีผล ต้องถือตามกำหนดนัดเดิม เมื่อจำเลยไม่ไปตามนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมด พร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้นในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้นท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วย แม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา แต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมด พร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้นในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้นท่านให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วย แม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา แต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4553/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่า: ศาลพิจารณาความเหมาะสมจากผลประโยชน์ที่สูญเสียและผลได้ที่จำเลยได้รับ
การกำหนดวันจดทะเบียนการเช่าตามที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมิได้ให้อำนาจจำเลยเปลี่ยนแปลงวันจดทะเบียนการเช่าได้โดยพลการ การเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเหตุขัดข้องขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าเป็นเพียงข้อเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าออกไปเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตอบตกลง ทั้งไม่ได้กระทำการอันใดขึ้นอันจะพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ แต่ตรงกันข้ามโจทก์กลับมอบอำนาจให้ ศ. ไปจดทะเบียนการเช่าแทนตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้เดิมอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่ยอมตกลงตามข้อเสนอของจำเลย การเสนอขอเลื่อนวันจดทะเบียนการเช่าของจำเลยจึงไม่มีผล ต้องถือตามกำหนดนัดเดิม เมื่อจำเลยไม่ไปตามนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนการเช่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตลอดจนเรียกร้องจำเลยคืนเงินมัดจำและค่าตอบแทนการเช่าที่รับไว้ทั้งหมดพร้อมค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,600,000 บาท นั้น ในส่วนค่าชดเชยความเสียหายเป็นเรื่องจำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ไปจดทะเบียนการเช่ากับโจทก์ โจทก์มีสิทธิริบเบี้ยปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ของจำเลยหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ในการที่จะวินิจฉัยว่าสมควรเพียงใดนั้น ท่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน คดีนี้นอกจากค่าเช่าเป็นรายเดือนแล้ว จำเลยเรียกค่าตอบแทนการเช่าจากโจทก์ 18,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินงวดแรกให้แก่จำเลยในวันทำสัญญา 1,800,000 บาท ที่เหลือ 16,200,000 บาทจะชำระในวันจดทะเบียน หากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนการเช่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับริบเงินที่โจทก์ชำระแล้วได้ทั้งหมด จึงเป็นเรื่องทั้งโจทก์และจำเลยต่างกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างก็ยอมรับในเบี้ยปรับที่อีกฝ่ายกำหนดไว้ด้วยแม้จำนวนเบี้ยปรับที่โจทก์จะได้รับในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาจะสูงกว่าเบี้ยปรับที่จำเลยจะได้รับในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาแต่จำเลยก็ได้เปรียบโจทก์ในส่วนที่จำเลยได้เงินของโจทก์ไว้แล้วถึง 1,800,000 บาท แต่โจทก์ไม่ได้ทรัพย์สินของจำเลยไว้ นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 จำเลยให้การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยเช่าที่ดินและสถานีบริการน้ำมันดังกล่าวเป็นเวลา 17 ปี ได้เงินค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนเป็นจำนวนสูงกว่าที่โจทก์เสนอให้ซึ่งหากทั้งโจทก์และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยไม่เห็นว่าจะมีรายได้จากสถานีบริการน้ำมันของจำเลยเป็นจำนวนสูงกว่าค่าตอบแทนการเช่าและค่าเช่ารายเดือนที่ต้องจ่ายให้จำเลย พร้อมทั้งดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราที่จะได้จากธนาคารหากนำเงินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้ว โจทก์และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยก็คงจะไม่ทำสัญญาเช่ากับจำเลยเป็นแน่ การที่จำเลยผิดสัญญาย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ดังกล่าวไปแม้พยานโจทก์ที่กล่าวถึงจำนวนเงินกำไรที่โจทก์จะได้รับหากมีการเช่าตามสัญญาเป็นเวลา 16 ปี จะเป็นไปอย่างลอย ๆ ไม่ได้แสดงหลักเกณฑ์ในการคำนวณหารายได้ดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นก็ได้ลดจำนวนเงินเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ลงเหลือ 3,000,000 บาท อันเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตหน้าที่ - การเบียดบังผลประโยชน์สถานีวิทยุ - ความผิด ป.อ.มาตรา 353
ตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ.2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร มิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือก และไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน
โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้ บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157 ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้ บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2186/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิหุ้นส่วนและการยุติสิทธิเรียกร้องเมื่อผลประโยชน์โอนเป็นหุ้นบริษัทอื่น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้ผลตอบแทนการลงแรงเป็นหุ้นในบริษัท 2,000 หุ้น โดยไม่ได้ออกเงิน ซึ่งถือว่าโจทก์ได้ลงเงินในบริษัท ก.ผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนจึงโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก.แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนอีกต่อไป เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์อ้างเพียงว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ได้แต่ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องในฐานะหุ้นส่วนตามสัญญาห้างหุ้นส่วนเพราะผลประโยชน์ที่ได้จากการเป็นหุ้นส่วนโอนมาเป็นหุ้นในบริษัท ก.อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินตามฟ้องแล้ว ข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวยุติไป ดังนั้นปัญหาว่าสัญญาห้างหุ้นส่วนเลิกกันแล้วหรือไม่ แม้วินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจใช้ชื่อสมาคมที่คล้ายคลึงกับผู้อื่นเพื่อสร้างความสับสนและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า เป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกัน โจทก์ใช้ชื่อ "จตุรเสนาสมาคม"มาก่อน จำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อนโดยเป็นเหรัญญิก แล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อนและจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมา หลังจากจำเลยที่ 2 ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่ 1ขึ้นมาใหม่ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่ 1 รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนนั้นและจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1 จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคม และดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี 7 พยางค์ และจำเลยที่ 1มี 5 พยางค์ และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกัน ประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้การที่จำเลยที่ 1 กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่ 1 เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่ 1ใช้ชื่อดังกล่าวได้