พบผลลัพธ์ทั้งหมด 804 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางคดี: ผลผูกพันตามคำเบิกความพยานและผลต่อการตัดสินคดีแรงงาน
โจทก์และจำเลยท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ บ. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยมีเงื่อนไขว่า หาก บ. เบิกความว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ 700,000 บาทเศษให้ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเป็นธรรม โจทก์ยอมแพ้คดี และโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 792,857.28 บาท ให้แก่จำเลย ถ้าเบิกความว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยตามยอดเงินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้โดยถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมและจำเลยจะจ่ายค่าชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ รวม 318,000 บาท ให้แก่โจทก์ ต่อมา บ. เบิกความที่ศาลแรงงานกลางว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยจำนวน 700,000 บาทเศษจริง ตรงตามคำท้า ซึ่งเงื่อนไขบังคับก่อนนั้นได้สำเร็จผลตามคำท้าสมประโยชน์แก่จำเลยคำท้าจึงบังเกิดผลแล้ว โจทก์ต้องแพ้คดีตามคำท้าโดยยอมรับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างโดยไม่ต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นพิพาท การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าโดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จึงเป็นการพิพากษาคดีที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 (1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางกระบวนพิจารณา: ผลผูกพันตามคำเบิกความพยาน และการพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยาน
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามคำท้า เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่นการสาบาน หรือการเบิกความของพยานปากใดปากหนึ่ง ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วสมประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง อันเป็นผลให้คู่ความฝ่ายที่ได้ประโยชน์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยไม่ต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นข้อพิพาท คดีนี้โจทก์และจำเลยท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของนางสาว บ. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาว่า หากนางสาว บ. เบิกความว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ 700,000 บาทเศษ ให้ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเป็นธรรม โจทก์ยอมแพ้คดี และโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 792,857.28 บาท ให้แก่จำเลย ถ้านางสาว บ. เบิกความว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยตามยอดเงินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้โดยถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยจะจ่ายค่าชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ รวม 318,000 บาท ให้แก่โจทก์ ต่อมานางสาว บ. มาเบิกความว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยจำนวน 700,000 บาทเศษ จริง ตรงตามคำท้าเงื่อนไขบังคับก่อนจึงสำเร็จผลตามคำท้าสมประโยชน์แก่จำเลย คำท้าบังเกิดผลแล้ว โจทก์ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างโดยไม่ต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นพิพาท การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าโดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่มีผลผูกพัน และกระทบต่อสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น
โจทก์และจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 2 แปลง ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โดยให้โจทก์ได้ที่ดินแปลงละ 1 ไร่ และระบุตำแหน่งที่ดินส่วนของโจทก์ไว้ด้วย อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 เท่ากับว่า กรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 12 ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก ซึ่งมีผลไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของที่ดินเท่านั้น แต่ยังมีผลรวมตลอดไปถึงจำนวนเนื้อที่ดินด้วย เพราะหากแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แปลงละ 1 ไร่ ตามข้อตกลงแล้ว ที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลง และไม่อาจนำมาแบ่งให้แก่จำเลยทั้งสิบสองได้ในจำนวนเท่า ๆ กันโดยไม่กระทบถึงสิทธิในจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยที่ 12 จะพึงได้รับ เมื่อข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรม ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2548)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: โมฆะเฉพาะส่วนคดีอาญา, ส่วนอื่นมีผลผูกพัน, ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสามและจำเลยกับ ว. ที่ให้โจทก์ทั้งสามถอนฟ้องคดีอาญาที่ยื่นฟ้องจำเลยกับ ว. ไว้ ในข้อหาปลอมเอกสารสิทธิ ใช้เอกสารสิทธิปลอม ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินไม่ใช่คดีความผิดอันยอมความได้ เป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ นอกจากมีข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นโมฆะแล้ว ยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว คงเหลือเฉพาะข้อ 4 และข้อ 5 เท่านั้น ที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้นำเงินจำนวน 700,000 บาท ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์แล้วแจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยได้ไปขอรับเงินดังกล่าวแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่จ่ายเงินให้เพราะจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามโดยปราศจากภาระติดพันได้ แสดงว่าฝ่ายจำเลยก็มีความประสงค์จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงส่วนอื่นนอกเหนือจากเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่เช่นเดิม และข้อตกลงส่วนอื่นทั้งหมดก็ล้วนแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ จึงไม่ทำให้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญายังคงมีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
จำเลยนำที่ดินไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลภายนอกหลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้วโดยจำเลยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามข้อตกลง จำเลยย่อมรู้ว่าทำให้โจทก์ทั้งสามเสียเปรียบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และศาลพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามโดยปลอดภาระจำยอมได้ไม่เป็นการกระทบสิทธิของบุคคลภายนอก เพราะมิได้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
บันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ นอกจากมีข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาซึ่งเป็นโมฆะแล้ว ยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว คงเหลือเฉพาะข้อ 4 และข้อ 5 เท่านั้น ที่ยังมีปัญหาอยู่ โดยปรากฏว่าฝ่ายโจทก์ได้นำเงินจำนวน 700,000 บาท ไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์แล้วแจ้งให้จำเลยทราบ และจำเลยได้ไปขอรับเงินดังกล่าวแล้ว แต่เจ้าพนักงานไม่จ่ายเงินให้เพราะจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามโดยปราศจากภาระติดพันได้ แสดงว่าฝ่ายจำเลยก็มีความประสงค์จะบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงส่วนอื่นนอกเหนือจากเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่เช่นเดิม และข้อตกลงส่วนอื่นทั้งหมดก็ล้วนแต่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งทั้งสิ้น ซึ่งไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ จึงไม่ทำให้ข้อตกลงประนีประนอมยอมความดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญายังคงมีผลผูกพันคู่กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
จำเลยนำที่ดินไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่บุคคลภายนอกหลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกันแล้วโดยจำเลยไม่มีอำนาจกระทำได้ตามข้อตกลง จำเลยย่อมรู้ว่าทำให้โจทก์ทั้งสามเสียเปรียบ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และศาลพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสามโดยปลอดภาระจำยอมได้ไม่เป็นการกระทบสิทธิของบุคคลภายนอก เพราะมิได้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้นไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้มีส่วนโมฆะ และคำพิพากษาไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ทั้งสามและจำเลยมีข้อพิพาทระหว่างกันทั้งคดีแพ่งและอาญา การที่ต่อมาโจทก์ทั้งสามและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยระบุให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินด้วย ข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่สัญญาประนีประนอมยอมความยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญา คงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่ และข้อตกลงอื่นไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างศาสนสมบัติของวัด โดยผู้แทนของวัด มีผลผูกพันจำเลย
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฏิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัญญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฏิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัญญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584-2585/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สัญญาซื้อขายที่อิงราคาประเมินเบื้องต้น ย่อมมีผลผูกพัน แม้เนื้อที่จริงคลาดเคลื่อน
คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนฯ กันตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ถูกต้องตามขั้นต้นของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แม้จะระบุไว้ในสัญญาซื้อขายดังกล่าว ข้อ 2 (1) ว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ก็ตาม แต่ในข้อ 8 ก็ระบุว่า ถ้ามีการคลาดเคลื่อนในจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงยินยอมให้คิดราคาค่าทดแทนตามจำนวนเนื้อที่ที่ซื้อขายตามความเป็นจริงที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว เนื้อที่ที่ถูกเวนคืนที่ระบุไว้ในข้อ 2 (1) ดังกล่าว เป็นการประมาณการ แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินจึงทราบเนื้อที่ที่ดินจำนวนที่แน่อนอนว่าถูกเวนคืนเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 30.90 ตารางวา มากกว่าที่ประมาณการไว้เนื้อที่ 42.90 ตารางวา ซึ่งก็คือจำนวนเดียวกันกับที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฯ มาตั้งแต่ต้นอันเป็นส่วนเดียวกันกับที่โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฯ ที่ทำขึ้นถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลใช้บังคับได้ ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินเนื้อที่ 42.90 ตารางวา คืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ ศ. ได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทน ศ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในฐานะเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ศ. ด้วย เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำการแทนจำเลยที่ 2 มิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด บันทึกคำให้การฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นการสละมรดกที่มีผลผูกพัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 1750 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาเช่าหลังผู้ให้เช่าเสียชีวิต การต่ออายุสัญญาเช่า และการละเมิดสัญญา
โจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทโดยได้รับมรดกจาก ป. ซึ่ง ป. ได้ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาท กำหนดอายุสัญญาเช่า 15 ปี โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าข้อ 11 ระบุว่า เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่าแล้วผู้ให้เช่าจะต่อสัญญาเช่าให้ทุกๆ 3 ปี ซึ่งข้อความตามข้อตกลงดังกล่าว เป็นเพียงคำมั่นของ ป. ว่าจะให้ผู้เช่าต่ออายุสัญญาครั้งต่อไปเท่านั้น ยังไม่ก่อให้เกิดสัญญา แต่คำมั่นนี้ยังไม่มีผลผูกพัน ป. เพราะยังไม่ได้ความว่าจำเลยได้สนองรับก่อน ป. ถึงแก่ความตายทั้งเมื่อจำเลยได้รู้อยู่ว่า ป. ผู้เสนอตายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 ก่อนสัญญาเช่าจะครบกำหนดคือวันที่ 31 ธันวาคม 2538 กรณีจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 360 ซึ่งบัญญัติว่าห้ามมิให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 169 วรรคสองมาใช้บังคับ ดังนั้น คำมั่นของ ป. ดังกล่าวย่อมไม่มีผลบังคับและไม่เป็นมรดกตกทอดอันจะผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นทายาทที่จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 1599 และมาตรา 1600 หนังสือขอต่อสัญญาของจำเลยจึงไร้ผล และไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าใหม่ โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากตึกพิพาทได้
เมื่อจำเลยและบริวารไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุด การที่จำเลยและบริวารยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาท จึงเป็นการอยู่โดยปราศจากสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้ตึกแถวพิพาท
เมื่อจำเลยและบริวารไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุด การที่จำเลยและบริวารยังคงอยู่ในตึกแถวพิพาท จึงเป็นการอยู่โดยปราศจากสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้ตึกแถวพิพาท