คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผลย้อนหลัง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือนาซาร์: พินัยกรรมภายใต้กฎหมายอิสลาม ผลย้อนหลังและการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และ เป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่าหนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้วแต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนดคือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้นและคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาข้าวและการมีผลย้อนหลังของประกาศยกเลิกการควบคุมราคา ความผิดยังคงอยู่แม้มีประกาศยกเลิก
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุม ประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ภายหลังที่จำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)(7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้สักในที่เอกชนก่อนกฎหมายใหม่: ผลย้อนหลังทางอาญาเป็นโมฆะ
มีไม้สักแปรรูปได้มาจากไม้ในที่เอกชนไว้ตั้งแต่ก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 3)2494 ซึ่งขณะนั้นไม่เป็นความผิด แม้จะได้มีไว้ต่อมาจนใช้ พระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 3) แล้ว ซึ่งแม้เป็นไม้สักขึ้นในที่เอกชนก็เป็นไม้หวงห้ามนั้นการมีไม้นั้นก็ไม่เป็นความผิดเพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยกเลิกมีผลย้อนหลังไม่ได้: การตัดผมของคนต่างด้าว
เดิมมีพระราชกฤษฎีกาห้ามคนต่างด้าวรับจ้างทำการตัดผมต่อมาในระหว่างพิจารณาคดีมีพระราชกฤษฎีกายกเลิกกฤษฎีกาเดิมคงห้ามการอาชีพบางอย่าง แต่ไม่ห้ามการตัดผม ดั่งนี้ถือว่ากฎหมายใหม่ต่างกับกฎหมายเก่าลงโทษจำเลยไม่ได้ อ้างฎีกาที่ 623/85

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของกฎหมายใหม่ต่อการกระทำผิดก่อนหน้า: อากรแสตมป์
หลักการตีความของกฎหมายโดยทั่ว ๆ ไป
การที่มิได้ปิดอากรแสตมป์ในตราสารอันฝ่าฝืนต่อพ.ร.บ.อากรแสตมป์ 2475 ๆ ได้วางโทษเป็นทางอาญาเท่านั้น หกได้กำหนดหน้าที่ทางแพ่งให้ผู้กระทำผิดต้องเสียอากรเพิ่มไม่ ผู้นั้นจึงไม่ต้องเสียอากรเพิ่ม
พ.ร.บ.อากรแสตมป์ฉะบับที่ 4 ปี 2479 มิได้มีข้อความบังคับว่าผู้ที่ฝ่าฝืนมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งต้องปิดตาม พ.ร.บ.อากรแสตมป์ 2475 อยู่แล้ว ก่อนวันใช้ พ.ร.บ.นี้ก็จำต้องเสียอากรเพิ่มตาม พ.ร.บ.นี้ด้วยเหมือนกัน (คือสั่งให้ใช้บังคับย้อนหลัง)
พ.ร.บ.อากรแสตมป์ฉะบับที่ 4 ปี 2479 เป็นกฎหมายเพิ่มหน้าที่ทางแพ่งให้ผู้มิได้ปิดอากรแสตมป์ต้องเสียอากรเพิ่ม โดยมิได้ยกเว้นโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.อากรแสตมป์ 2475 ประการใดให้
หลักการตีความของพ.ร.บ.ใด ๆ โดยทั่วไปต้องถือว่า พ.ร.บ.ที่ออกใหม่ไม่มีผลย้อนหลังกะทบกะเทือนถึงการกระทำที่เป็นมาแล้วก่อนวันใช้ พ.ร.บ.นั้น
ผู้ที่มิได้ปิดอากรแสตมป์อันฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อากรแสตมป์ 2475 อยู่ก่อนวันใช้ พ.ร.บ.อากรแสตมป์ฉะบับที่ 4 นั้น จะถูกบังคับให้ต้องเสียอากรเพิ่มตาม พ.ร.บ.ฉะบับหลังนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตราสารก่อนมี พ.ร.บ.อากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานได้ แม้ไม่ติดอากรแสตมป์ พ.ร.บ.ไม่มีผลย้อนหลัง
ตราสารที่ทำกันก่อนใช้ พ.ร.บ.อากรแสตมป์นั้นย่อมใช้เป็นพะยานหลักฐานในศาลได้โดยมิต้องปิดอากรแสตมป์ พ.ร.บ.อากรปสตมป์ พ.ศ.2475 หามีผลบังคับย้อนหลังถึงตราสารที่ได้กระทำก่อน พ.ร.บ.นี้ไม่พะยานเอกสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6901/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต่อการคืนภาษี: บทบัญญัติไม่มีผลย้อนหลัง
ขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2554 ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 วินิจฉัยว่า ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ จึงยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) เพื่อขอคืนภาษีเงินได้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ด้วยเหตุนี้ การพิจารณาของจำเลยที่ 1 ว่าจะคืนภาษีให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2554 ในวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2555 หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 วินิจฉัยว่า มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหาได้วินิจฉัยให้บทบัญญัติดังกล่าวตกเป็นโมฆะหรือเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้นไม่ ซึ่งจะมีผลเป็นการลบล้าง ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่มีบทบัญญัตินั้นไม่ เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 เป็นกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ซึ่งตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ.2550 ข้อ 55 วรรคสี่ ที่กำหนดว่า ในกรณีที่ศาลมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ไม่มีผู้ถูกร้อง ให้ศาลแจ้งคำวินิจฉัยของศาลแก่ผู้ร้องและให้ถือว่าวันที่ศาลลงมติซึ่งเป็นวันที่ปรากฏในคำวินิจฉัยเป็นวันอ่าน ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่เวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยคือ วันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ไม่มีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นจับกุมใช้ยันจำเลยได้ แม้มีกฎหมายใหม่ห้ามรับฟัง แต่ไม่มีผลย้อนหลัง การสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีบทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 84 ที่แก้ไขใหม่ โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป บัญญัติว่า "ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน..." ก็ไม่มีผลย้อนหลังไปกระทบถึงคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยดังกล่าวที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย คำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมจึงใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป เมื่อพนักงานสอบสวนสอบถามคำให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในวันที่ 10 ตุลาคม 2547 ก่อนวันที่บทบัญญัติมาตรา 134/1 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจนำมาตรา 134/1 มาใช้บังคับแก่การสอบถามคำให้การของจำเลยในคดีนี้ได้ การสอบสวนจำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พ.ร.บ.ล้างมลทินมีผลย้อนหลังทำให้ไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยได้ แม้คดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีมีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุที่ขอให้เพิ่มโทษ จำเลยที่ 3 ได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 3 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 3 หรือไม่ ทั้งปัญหาว่าเมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวและไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟอกเงิน: ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน แม้ได้มาก่อนมีกฎหมาย และไม่ใช่คดีแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯ มิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 46
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯ เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินซึ่งมีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินในกรณีที่ศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน โดยมิต้องคำนึงถึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับหรือไม่ เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้ตามนัยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 40-41/2546
แม้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ฯ มาตรา 59 วรรคสอง จะบัญญัติให้พนักงานอัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงก็ตาม แต่คดีนี้ถือว่าเป็นคดีแพ่ง จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอ
of 2