พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ดอกเบี้ยคิดได้เฉพาะเมื่อผิดนัด
ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีเรียกเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และจำเลยยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินสุทธิค้างชำระนับแต่ผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ข้อตกลงเช่นว่านี้ แสดงว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยดอกเบี้ยที่กำหนดไว้จึงเป็นค่าเสียหายจาการไม่ชำระหนี้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ค่าจ้างต้องไม่มีเงื่อนไขจำกัดสิทธิลูกหนี้ มิฉะนั้นเจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด
จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ เพราะการชำระหนี้จะให้สำเร็จผลเป็นอย่างใดลูกหนี้จะต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้เป็นอย่างนั้นโดยตรง จึงจะเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนไขจำกัดตัดสิทธิอื่นๆ อับชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงมิใช่เป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์โดยชอบ โจทก์ย่อมมีเหตุผลที่จะปฏิเสธการรับชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลย โจทก์จึงไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในหนี้เงินค่าจ่างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเฉพาะเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ให้แก่โจทก์ ก็พออนุโลมว่าโจทก์ขอให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานจึงเห็นสมควรให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 และจำเลยยอมจ่ายเงินจำนวนทั้งหมดให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ไม่ยอมรับจึงไม่ถือว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 15 ต่อทุก 7 วัน ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายไม่สมบูรณ์เมื่อไม่มีลายมือชื่อครบถ้วน การคืนเงินและค่าเสียหายจากสัญญาที่ผิดนัด
สัญญาจะซื้อจะขายที่โจทก์ที่ 1 ทำกับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของฝ่ายจำเลยในช่องผู้ขาย มีเพียงลายมือชื่อโจทก์ที่ 1 ในช่องผู้ซื้อ ทั้งไม่มีลายมือชื่อพยาน และไม่ได้มีการระบุวันเดือนปีไว้ ในการติดต่อสื่อสารถึงกันก็ไม่ได้มีการอ้างถึงสัญญาดังกล่าว คงอ้างถึงแต่ใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วนซึ่งมีข้อความในข้อ 5 ระบุว่า โจทก์ที่ 1 ผู้จองจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ดังนั้น สัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ผูกพันกันตามใบสมัครเข้าร่วมการก่อสร้างบ้านปันส่วน เมื่อโจทก์ที่ 1 ผิดสัญญาและจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลย สิ่งใดที่ส่งมอบกันแล้วก็ต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงต้องคืนห้องชุดให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ต้องคืนค่างวดและเงินดาวน์ให้แก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ย และเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ในห้องชุดมาตลอดเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการงานอันที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์สินนั้น โจทก์ที่ 1 จึงต้องชดใช้ด้วยเงินตามควรตามมาตรา 391 วรรคสาม
การที่โจทก์ที่ 1 ได้ขายสิทธิในการผ่อนชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น ตามมาตรา 350 บัญญัติว่า แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการทำสัญญากันระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับโจทก์ที่ 2 ซึ่งจะเข้าเป็นลูกหนี้คนใหม่เลย สัญญาแปลงหนี้ใหม่จึงไม่เกิดขึ้น โจทก์ที่ 1 จึงยังคงเป็นลูกหนี้อยู่เช่นเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8032/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญายืมและซื้อขายสินค้า การผิดนัดชำระหนี้และดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงพระโขนง จากมูลหนี้ที่จำเลยทั้งสองไม่คืนวาล์วประตูน้ำพิพาทแก่โจทก์ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ศาลแขวงพระโขนงพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าการที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาเป็นเรื่องผิดสัญญาในทางแพ่งไม่ใช่เป็นการยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยืมโดยอาศัยมูลหนี้ในเรื่องยืม อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกัน: เริ่มนับเมื่อมีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาชำระ
การที่จำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ตามกำหนดนัดย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกัน โจทก์ชอบที่จะบังคับตามสัญญาประกันได้โดยมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้กำหนดระยะเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้นั้นย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่หนี้ที่กำหนดระยะเวลาชำระวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3304/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาผิดนัดชำระหนี้จากสัญญาประกันตัว: เริ่มเมื่อมีหนังสือบอกกล่าว
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากโจทก์ เมื่อถึงกำหนดนัดส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 18 มกราคม 2544 จำเลยไม่นำตัวผู้ต้องหามาส่งโจทก์ ย่อมทำให้จำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาประกันตัว โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินตามจำนวนที่ตีราคาประกันไว้ในสัญญาประกันซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ แต่การชำระหนี้ดังกล่าวมิได้มีกำหนดเวลาอันพึงจะชำระแก่กันไว้ โจทก์ชอบที่จะบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ก่อน เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดนับแต่เมื่อนั้น กรณีมิใช่เป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระในวันเดียวกับวันที่จำเลยไม่ส่งตัวผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วแต่ไม่ชำระหนี้ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากค่าปรับสัญญาประกัน: การกำหนดค่าปรับ, การแจ้งหนี้, และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนด ถ้าผิดนัดยินยอมชดใช้เงิน 120,000 บาท การที่ ธ. ไม่ส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนด จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงินมาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 เมื่อ ธ. ไม่ชำระจึงเป็นการผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับ 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5190/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลสั่งดอกเบี้ยตามกฎหมายเมื่อดอกเบี้ยในสัญญาสูงเกินกฎหมาย
ในการที่ธนาคารพาณิชย์ประกอบการธนาคารพาณิชย์นั้นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 โดยเฉพาะในการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาตรา 14 (2) บัญญัติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดที่ธนาคารพาณิชย์อาจเรียกได้และหากธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 14 (2) ดังกล่าว ย่อมมีความผิดทางอาญาที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 300,000 บาท ตามมาตรา 44 และปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 (2) ดังกล่าว คือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด ฉบับลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ดังนั้นธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในประกาศฉบับนี้ ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ข้อ 3 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติในเรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ สรุปได้ว่าธนาคารพาณิชย์ต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้า และอัตราสูงสุดที่จะเรียกจากลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข และให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยจากลูกค้าทุกประเภทได้ไม่เกินอัตราที่เรียกจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีบวกด้วยส่วนต่างสูงสุดตามที่ประกาศไว้ดังกล่าวแล้วเว้นแต่ในกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขจึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราที่ธนาคารพาณิชย์นั้นได้ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ดังนั้นหากลูกค้ามิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขธนาคารพาณิชย์จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราที่ประกาศกำหนดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขไม่ได้ และการฝ่าฝืนนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำความผิดทางอาญาดังกล่าวแล้ว การเรียกดอกเบี้ยเช่นว่านั้นยังเป็นการขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันมีผลให้การกำหนดเรียกดอกเบี้ยนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดซึ่งเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี และเมื่อนำสืบก็ปรากฏว่ามีการคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีท ร้อยละ 19 ต่อปีเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 ดังกล่าวแล้วดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงิน ป.พ.พ. มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
สัญญาทรัสต์รีซีท ข้อ 4 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี) นับแต่วันที่ธนาคารได้ชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 นอกจากนี้โจทก์ได้บรรยายไว้ในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับผิดชำระเงินคืนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดซึ่งเท่ากับร้อยละ 19 ต่อปี และเมื่อนำสืบก็ปรากฏว่ามีการคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาทรัสต์รีซีทในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ธนาคารชำระเงินค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 แต่อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีท ร้อยละ 19 ต่อปีเป็นอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกค้าผิดนัดชำระหนี้ ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้ จึงเป็นการเรียกดอกเบี้ยโดยฝ่าฝืนต่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดอันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 (2) และ 44 ดังกล่าวแล้วดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงิน ป.พ.พ. มาตรา 224 ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4801/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่? คดีขับไล่หลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความผิดนัด ศาลฎีกาตัดสินกลับ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าเป็นผู้อาศัยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์และฟ้องแย้ง ระหว่างพิจารณา โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์จะโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลย ส่วนจำเลยจะให้เงินโจทก์ 600,000 บาท และระบุวันรับโอนกรรมสิทธิ์และชำระเงินไว้ หากฝ่ายใดผิดนัดให้บังคับคดีได้ทันที แต่จำเลยผิดนัด โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนี้ สภาพข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีเดิมคือ จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินและบ้านของโจทก์ โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอม ข้อโต้แย้งสิทธิตามคำฟ้อง คำให้การ และฟ้องแย้งได้ถูกแปลงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือได้ว่าประเด็นแห่งคดีได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดไปแล้วโดยคำพิพากษาตามยอม จำเลยจึงครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิขอบังคับคดีให้จำเลยชำระเงิน 600,000 บาท ในคดีดังกล่าว แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ขอบังคับให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท เป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่เกิดขึ้นใหม่จากสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีเดิมซึ่งจำเลยผิดสัญญา และเป็นเรื่องที่โจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยนอกเหนือจากการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอม คดีทั้งสองจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุคนละอย่างกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้หลังคำพิพากษา ไม่กระทบสิทธิบังคับคดี หากผิดนัดชำระ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้
จำเลยทั้งสองเป็นหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองเสนอขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นรายเดือนซึ่งผู้แทนโจทก์ยินยอมตามเงื่อนไขและได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดไว้เพื่อรอฟังผลการชำระหนี้ภายนอกคงมีความหมายเพียงว่า ถ้าจำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ตามเงื่อนไขที่เสนอโดยไม่ผิดนัด โจทก์จะยังไม่ใช้สิทธิบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสอง แต่มิได้หมายความว่าสิทธิในการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองจะหมดสิ้นไป ทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะไม่มีข้อความใดที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน หลังจากเจ้าพนักงานบังคบคดีงดการบังคับคดีไว้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์เพียง 2 ครั้ง ในแต่ละครั้งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขโจทก์จึงชอบที่จะดำเนินการบังคบคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้