พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4552/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขประเมินภาษีที่ผิดพลาด: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการประเมินภาษีซ้ำหลังพบข้อผิดพลาดเป็นไปตามกฎหมาย
ค่ารายปีของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์เช่ามาจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมประจำปีภาษี 2531 ที่ถูกต้องจำนวน 18,195,941.60 บาท ต้องถือเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปี 2532 การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532สำหรับโรงงานดังกล่าวจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยคิดค่ารายปีเพียง 3,360,000 บาท ค่าภาษีที่จะต้องเสียจำนวน420,000 บาท โดยโรงงานนั้นไม่ได้ถูกรื้อถอนหรือถูกทำลายให้ลดลงจากเดิม ย่อมเป็นการประเมินที่ผิดพลาด ดังนั้นหลังจากพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบถึงจำนวนค่ารายปีที่ถูกต้องแท้จริงประจำปีภาษี 2531 จากคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางแล้วได้มีหนังสือแจ้งรายการประเมินให้นำค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2532 มาชำระเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นเพียงการแก้ไขการประเมินครั้งแรกที่ผิดพลาดนั้นเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 24 ประกอบมาตรา 8 และมาตรา 18 บัญญัติไว้นั่นเองไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่แก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดเสียใหม่ให้ถูกต้อง และมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินซ้ำซ้อนกันหรือเรียกเก็บปีละ 2 ครั้ง ฉะนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินค่าภาษีเพิ่มเติมอีกจำนวน 1,848,242.70 บาทจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทไม่ต้องรับผิดในเช็คที่สั่งจ่ายเพื่อประโยชน์บริษัท แม้มีการผิดพลาดในการจ่ายเงิน
เมื่อโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะกรรมการบริษัท ค.ให้เจ้าหนี้บริษัท ค. เป็นการสมประโยชน์ของบริษัท ค. แล้ว แม้โจทก์จะหักเงินมาชำระตามเช็คผิดบัญชี ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ค. กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเพียงกรรมการบริษัท ค.ได้ลาภงอกจากการนั้น เงินซึ่งโจทก์ได้จ่ายตามเช็ค ไม่ใช่ลาภมิควรได้สำหรับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 โจทก์เรียกคืนจากจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4489/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรถยนต์ประเภทผิดพลาด และสิทธิของนายทะเบียนในการปฏิเสธการต่อทะเบียน
รถยนต์คันพิพาทเดิมเป็นรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล หลังจากดัดแปลงให้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว เบาะสองแถวหน้าที่วางขวางตามตัวรถใช้นั่งในลักษณะปกติได้ 5 คน ส่วนพื้นที่ตอนท้ายของรถซึ่งมีเบาะอีก 2 เบาะ วางไว้กับพื้นรถตามความยาวของรถ ใช้เป็นที่เก็บยางอะไหล่และมีรอยวงล้อหลังโป่งนูนขึ้นมาทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นที่เก็บอุปกรณ์ของรถและใช้เป็นที่บรรทุกสิ่งของไม่อาจติดตั้งเบาะสำหรับคนนั่งในลักษณะการนั่งอย่างธรรมดาได้ เบาะที่วางไว้กับพื้นรถดังกล่าวไม่มีพนักพิงและเมื่อนั่งแล้วผู้นั่งต้องชันเข่าขึ้นเพราะไม่มีที่ห้อยเท้า ศีรษะก็อยู่ติดกับหลังคารถ ลักษณะของเบาะดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นที่นั่งตามความหมายในข้อ 2 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2524)ที่จะนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณจำนวนที่นั่งในรถตามกฎกระทรวงดังกล่าว รถยนต์พิพาทจึงเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน การที่นายทะเบียนยานพาหนะรับจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนมาแต่แรกไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์มาขอต่อทะเบียนและชำระภาษีในประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนโดยไม่ยอมจดทะเบียนเปลี่ยนประเภทเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนยานพาหนะมีอำนาจที่จะไม่รับชำระภาษีและไม่ต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินผิดพลาดทางบัญชีและการพิสูจน์เจตนาทุจริต จำเลยไม่มีความผิด
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม2525 แต่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ผิดพลาด การเพิกถอนโฉนด และความรับผิดของผู้เกี่ยวข้อง
ผู้รับมอบอำนาจตายก่อนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หนังสือมอบอำนาจย่อมระงับสิ้นไปหรือหมดสภาพไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 826 จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วว่าผู้มอบอำนาจตายแต่ยังดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจนเสร็จสิ้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการปฏิบัติราชการในหน้าที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมที่ดินจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
กรมที่ดินย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนและแก้ไขรายการจดทะเบียนที่ดินและโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และแบ่งแยกโฉนดโดยมิชอบ โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ระงับสิ้นไปแล้วเพราะผู้มอบอำนาจตายได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา61
แม้จำเลยที่ 3 จะซื้อที่พิพาทมาโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันทางทะเบียนและเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตก็ตาม แต่โจทก์ก็รับซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไว้จากจำเลยที่ 3 โดยสุจริตเช่นกัน เมื่อกรมที่ดินสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนที่พิพาทและโฉนดที่พิพาท เป็นเหตุให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นกลับคืนไปยังเจ้าของที่แท้จริงกรณีเช่นนี้ถือว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิ์ จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 479.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากความผิดพลาดในการจดวันนัดพิจารณา ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนในวันที่ 8 มิถุนายน 2527 มิใช่วันที่ 8 พฤษภาคม 2527ตามที่ศาลจดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาสืบพยานจำเลยในวันที่ 8 พฤษภาคม 2527 และมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความจึงเป็นคำสั่งจำหน่ายคดี โดยที่โจทก์จำเลยไม่ได้ขาดนัดพิจารณาเป็นคำสั่งที่เกิดจากการผิดหลงไม่มีผลบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบโดยผิดหลงนั้นได้ ตามมาตรา 27.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดสินนอกฟ้อง: ศาลฎีกาตัดสินว่าการวินิจฉัยประเด็นนอกคำฟ้องของศาลชั้นต้นและอุทธรณ์เป็นการผิดพลาด
คำฟ้องของโจทก์แสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์เพียงข้อเดียวว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ร่วมกันซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์ ไม่มีข้อหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำแทนจำเลยที่ 2 และเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 อันจะพอถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการซื้อเชื่อสินค้าของโจทก์ แม้ศาลล่างทั้งสองรับวินิจฉัยและตัดสินในปัญหานี้มา ก็เป็นการตัดสินนอกคำฟ้องและนอกข้อหาของโจทก์อันเป็นการต้องห้ามตาม มาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าในการซื้อเชื่อสินค้าของโจทก์จำเลยที่ 2 ได้เชิดจำเลยที่ 1หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นเรื่องนอกคำฟ้องและนอกข้อหาของโจทก์ศาลฎีการับฟัง เช่นนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแท้จริงของคู่สัญญา แม้ชื่อผู้เอาประกันภัยในกรมธรรม์ผิดพลาด ก็ยังถือเป็นคู่สัญญาได้
โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์รายพิพาทไว้กับจำเลย แต่กรมธรรม์ประกันภัยระบุชื่อผู้เอาประกันภัยผิดพลาดไป กรณีถือได้ว่าจำเลยกับโจทก์มีเจตนาอันแท้จริงที่จะผูกพันต่อกันในฐานะคู่สัญญา เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 44/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจดทะเบียนภารจำยอมผิดพลาด: ศาลพิพากษายืนตามเจตนาเดิมของคู่กรณี แม้การจดทะเบียนไม่ตรงตามความจริง
โจทก์จำเลยมีเจตนาจดทะเบียนช่องทางเดินผ่านที่ดินภารยทรัพย์ด้านเหนือมาแต่แรก บันทึกและรูปจำลองของเจ้าพนักงานที่ดินผิดจากเจตนาแท้จริงของคู่กรณี เป็นสารสำคัญของนิติกรรม ศาลพิพากษาให้จดทะเบียนภารจำยอมใหม่ให้ตรงตามเจตนาที่เป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์จากความผิดพลาดในโฉนด
โจทก์จำเลยแบ่งที่ดินมรดกต่างครอบครองที่ดินที่แบ่งคนละแปลงแต่โฉนดที่โจทก์ได้รับมาในชื่อโจทก์เป็นโฉนดที่ดินแปลงอีกแปลงหนึ่งส่วนโฉนดที่จำเลยได้รับไปในชื่อจำเลยเป็นโฉนดที่ดินที่โจทก์ครอบครองโจทก์ครอบครองมาเกิน 10 ปีโดยเข้าใจผิดว่าครอบครองที่ดินตามโฉนดที่ตนมีชื่อ ดังนี้ แม้โจทก์เพิ่งทราบความผิดพลาดโจทก์ก็ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382