คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกผูกพันด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ยังมิได้จดทะเบียน
คดีก่อน ธนาคาร ก. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย โดยมีจำเลยคดีนี้เป็นผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่า ที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้องเป็นของจำเลยคดีนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินทั้งสามแปลงตามคำพิพากษาคดีดังกล่าว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะบุคคลภายนอกซึ่งอาจอ้างสิทธิตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: เจ้าหนี้ต้องผูกพันตามแผน แม้จะอายัดทรัพย์สินก่อนฟื้นฟู
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (7) ที่ใช้คำว่า "ยึด" ย่อมหมายถึงการอายัดด้วย การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ทำการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้ก่อนที่ศาลมีคำสั่งคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ แต่เมื่อมูลหนี้ของผู้คัดค้านเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้คัดค้านจึงยื่นขอชำระหนี้ได้โดยชอบเมื่อแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านไว้ และศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผู้คัดค้านจึงผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามแผนซึ่งรวมถึงการได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ทั้งนี้โดยผลของมาตรา 90/60 ผู้คัดค้านไม่อาจได้รับชำระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากจำนวนและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนนั้น ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้อีกต่อไป ผู้บริหารแผนชอบที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9201/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีผลบังคับใช้ของสัญญาเช่าซื้อแม้มีข้อผิดพลาดในการส่งเอกสาร และการผูกพันตามสัญญาจากการรับประโยชน์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวโจทก์เพียงแต่มีภาระการพิสูจน์โดยนำพยานหลักฐานมานำสืบให้พอรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงน่าจะเป็นไปดังที่โจทก์ฟ้องก็เป็นการเพียงพอแล้ว โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความยืนยันประกอบหนังสือมอบอำนาจว่า อ. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ มอบอำนาจให้พยานเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ ส่วนจำเลยทั้งสองไม่ได้สืบพยานหลักฐานหักล้างข้อนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงเพียงพอให้รับฟังได้ว่าโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวแล้ว สัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 การที่ทนายความโจทก์ยื่นหนังสือรับรองที่ไม่ปรากฏว่า อ. ผู้มอบอำนาจมีชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์นั้น ก็เป็นเพราะหนังสือรับรองฉบับนี้สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้หลังวันทำสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นข้อผิดพลาดในการอ้างส่งเอกสาร เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัด ย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 แล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7626/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นตัวแทนกู้ยืมเงิน แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้ หากมีพยานหลักฐานสนับสนุน
โจทก์เป็นตัวแทนของจำเลยในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร แล้วนำเงินที่กู้ยืมมามอบให้แก่จำเลย แม้การเป็นตัวแทนในการกู้ยืมเงินจะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง ก็มีผลใช้บังคับกันได้ในระหว่างตัวการกับตัวแทน เมื่อโจทก์ถูกบังคับชำระหนี้ที่กู้ยืม จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียไปคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์เท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่สามารถเพิกถอนได้
โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็มีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไขหากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. 138 วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาตามยอมก็ถึงที่สุด ไม่อาจถูกเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าคำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินมาทั้งหมดแล้วยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่นั้น ความมุ่งหมายของจำเลยคือต้องการให้คำพิพากษาตามยอมเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมซึ่งต้องกระทำโดยศาลสูง จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งเพิกถอนคำพิพากษาของศาลนั้นเองไม่ได้ แม้จำเลยจะเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ได้ไต่สวนนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญา แม้ใช้ตราประทับไม่ถูกต้อง หากได้รับประโยชน์จากสัญญานั้น
แม้ว่าตราประทับของบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ใช้ประทับในสัญญาจะมิใช่ตราสำคัญที่บริษัทจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็เป็นตราที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ในการทำธุรกรรมทางการค้ากับโจทก์ตลอดมาเป็นเวลานานประมาณ 10 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์ตามสัญญาแล้ว การทำสัญญาดังกล่าวจึงสมประโยชน์จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันและรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาเดิม แม้เปลี่ยนคู่ความ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คดีก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางทั้งแปลง แม้โจทก์และจำเลยคดีนี้จะเป็นคนละคนกับโจทก์จำเลยในคดีก่อน แต่โจทก์คดีนี้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ในคดีก่อน โจทก์คดีนี้จึงเป็นผู้สืบสิทธิจากโจทก์ในคดีก่อน ส่วนจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยคดีนี้ต่างมีหน้าที่ดูแลสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน ทั้งโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนว่าที่ดินพิพาททับที่สาธารณประโยชน์คูขวางหรือไม่ ซึ่งได้ถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้โจทก์และจำเลยคดีนี้ต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนด้วย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และ 148 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องเป็นว่า ที่ดินโฉนดพิพาทคงเหลือเนื้อที่ 12 5/10 ตารางวา ให้จำเลยแก้ไขแล้วส่งมอบใบแทนโฉนดที่ดินคืนแก่โจทก์นั้น เมื่อโจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาในคดีก่อน ก็ต้องถือว่าที่ดินพิพาทตามฟ้องของโจทก์เป็นที่สาธารณประโยชน์คูขวางทั้งแปลง ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยแก้ไขโฉนดที่ดินพิพาทจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้และปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะกรรมหมั้นและการคืนสินสอด: สัญญาที่ทำขึ้นภายหลังยังผูกพันได้
ในขณะที่ อ. ทำการหมั้นกับ บ. นั้น บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่า บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและ บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของ อ. และ บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่ อ. กับ บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ การลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดมีผลผูกพัน
อุทธรณ์ของผู้ร้องในหน้าแรกมีตัวหนังสือที่มีตรายางประทับข้อความว่าผู้ร้องจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นและทุก ๆ 7 วันนั้น เป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาใช่เป็นเพียงแบบฟอร์มและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ศาลไม่ ศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 7 วัน โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2545 หลังจากที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ 7 วันก็ตาม แต่การที่ทนาย ผู้ร้องลงลายมือชื่อรับทราบข้อความที่ประทับตรายางต้องถือว่าผู้ร้องยอมผูกพันตามข้อความที่ประทับตรายางนั้น ถ้าไม่มาก็ให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งแล้ว ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะไม่มาฟังคำสั่งก็ถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบและผู้ร้องทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2545 เมื่อปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2545 ว่าผู้ร้องมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาเดิม โจทก์ฟ้องเพิกถอนสัญญาประนีประนอมซ้ำไม่ได้
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ให้การว่าจำเลยที่ 3มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียว ต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยจำเลยที่ 3 มิได้ให้ความยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 พิพากษาให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 3 คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในอีกคดีหนึ่ง โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นการอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่
of 52