คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ก่อเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยิงเพื่อป้องกันตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายร่างกายก่อน การกระทำต่อเนื่องเป็นเหตุผลลบล้าง
จำเลยกับพวกอีกคนหนึ่งเข้ามากลุ้มรุมชกต่อยผู้เสียหายกับพวกที่ใต้ถุนเรือนแล้วออกวิ่งหนี ผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไป จำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน เพราะจำเลยกับพวกเป็นฝ่ายก่อเรื่องก่อน การที่ผู้เสียหายกับพวกไล่ตามจำเลยไป แล้วจำเลยยิงผู้เสียหาย เป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องจากการกระทำผิดครั้งแรกของจำเลยกับพวกยังไม่ขาดตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หากเป็นการกระทำเพื่อให้พ้นภัยอันตรายจากผู้ก่อเหตุ
ผู้เสียหายมีเจตนาทำร้ายจำเลยให้ถึงตาย ใช้เหล็กแหลมยาว 12 นิ้วฟุตแทงจำเลยในขณะที่จำเลยนอนหงาย จำเลยใช้มุ้งปัดป้องเหล็กแหลมหลุดจากมือผู้เสียหายติดกับมุ้งจำเลยจึงถือเหล็กแหลมนั้นไว้ ผู้เสียหายเอาเหล็กแหลมอีกอันหนึ่งตรงเข้าหาจำเลยแล้วกอดปล้ำกัน การที่จำเลยแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายมีอาวุธอยู่ในมือขณะกอดปล้ำกันเช่นนี้ แม้จำเลยจะแทงผู้เสียหายหลายแผล บางแผลลึกเข้าช่องท้อง การกระทำของจำเลยดังนี้นับได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ แม้ผู้ถูกทำร้ายเป็นผู้ก่อเหตุก่อนและมีอาวุธ
ผู้เสียหายมีเจตนาทำร้ายจำเลยให้ถึงตาย ใช้เหล็กแหลมยาว12 นิ้วฟุตแทงจำเลยในขณะที่จำเลยนอนหงาย จำเลยใช้มุ้งปัดป้องเหล็กแหลมหลุดจากมือผู้เสียหายติดกับมุ้งจำเลยจึงถือเหล็กแหลมนั้นไว้ ผู้เสียหายเอาเหล็กแหลมอีกอันหนึ่งตรงเข้าหาจำเลยแล้วกอดปล้ำกัน การที่จำเลยแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายมีอาวุธอยู่ในมือขณะกอดปล้ำกันเช่นนี้ แม้จำเลยจะแทงผู้เสียหายหลายแผล บางแผลลึกเข้าช่องท้อง การกระทำของจำเลยดังนี้ นับได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุไม่ทำให้พ้นความรับผิดในค่าสินไหมทดแทน การพิจารณาผู้ก่อเหตุในการคำนวณค่าเสียหาย
ที่จะเป็นนิรโทษกรรมตามมาตรา 449 นั้น ต้องเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายอันได้รับยกเว้นโทษ ดังนั้นจำเลยจะอ้างการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ซึ่งในทางอาญาจำเลยก็ยังต้องรับโทษ มาปัดความรับผิดไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนหาได้ไม่
ค่าสินไหมทดแทนควรจะให้มากน้อยเพียงใด ต้องพิจารณาว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเป็นข้อสำคัญ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาลจากผู้ก่อเหตุ แม้มีการตกลงค่าเสียหายเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาล พ. อันเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มิใช่เรื่องการรับช่วงสิทธิ ส่วนค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ที่จำเลยตกลงจ่ายแก่ พ. ตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ค่าเสียหายที่จำเลยตกลงจ่ายแก่ พ. จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จ่ายไป ถือเป็นค่าเสียหายเพิ่มเติมในทางแพ่งที่ พ. มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ตามมาตรา 22 ไม่ทำให้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์จ่ายแทนไปก่อนระงับไป โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นคืนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11027/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้เสียหายและผู้ก่อเหตุเป็นสำคัญในการนับอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้นขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด กรณีจึงต้องนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดประการหนึ่ง และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนอีกประการหนึ่งประกอบกันเป็นวันใด และพ้นหนึ่งปีนับแต่วันดังกล่าว คดีจึงจะขาดอายุความ แม้ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้ยื่นฟ้องกรมทางหลวงชนบทเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้รับผิดในเหตุละเมิด โดยเข้าใจว่ากรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลทางหลวงที่เกิดเหตุ ต่อมากรมทางหลวงชนบทยื่นคำให้การในคดีดังกล่าว โจทก์ได้รับสำเนาคำให้การวันที่ 1 กันยายน 2551 ทำนองว่าโจทก์เพิ่งรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 1 กันยายน 2551 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยเข้ารับช่วงสิทธิของพันตำรวจโท บ. ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 สิทธิของโจทก์จึงมีเท่ากับสิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่โดยมูลหนี้ต่อจำเลยตามที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์นำสืบเพียงว่าเหตุเกิดวันที่ 24 พฤษภาคม 2550 โดยไม่ได้นำสืบว่าพันตำรวจโท บ. ไม่รู้ตัวผู้พึงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าพันตำรวจโท บ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2550 เพราะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจทางหลวงย่อมรู้ว่าถนนที่เกิดเหตุอยู่ในความดูแลของจำเลยอายุความละเมิดจึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากพันตำรวจโท บ. จึงต้องฟ้องจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันดังกล่าวด้วย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2551 จึงพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10461/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ก่อเหตุ หลังชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันตามสัญญา
เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้ว ก็ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่ในมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้ในนามของตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 และมาตรา 880 มีความหมายว่าเจ้าหนี้มีสิทธิเพียงใด ผู้รับช่วงสิทธิก็ได้รับสิทธิไปเพียงนั้นเสมอเหมือนกันตามความเสียหายที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5232/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยบันดาลโทสะ และอำนาจในการฟ้องเรียกค่าเสียหายของผู้ก่อเหตุ
เมื่อโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายก่อเหตุโดยด่าว่ามารดาจำเลยด้วยถ้อยคำรุนแรงและพูดท้าทายจำเลยเป็นทำนองให้ไปต่อสู้กันในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกโจทก์ร่วมข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ ดังนี้โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด และไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ม. ผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ร่วมย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนโจทก์ร่วมได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการกับยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และ มาตรา 44/1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย: ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุ จำเลยป้องกันตนเองและผู้อื่นจากการถูกทำร้าย จึงไม่มีความผิดฐานฆ่า
ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุและวิ่งไล่ทำร้าย ร. จากโรงลิเกจนไปถึงที่เกิดเหตุ แล้วใช้มีดฟันแขน ร. ได้รับบาดเจ็บและเตะถีบ ร. จนล้มลงแล้วใช้อาวุธปืนจ่อ ร. พร้อมจะยิงและพูดว่ามึงตายอันเป็นการหมายเอาชีวิต ร. นับว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายใกล้จะถึงจำเลยได้ห้ามปรามแล้ว แต่ผู้ตายไม่เชื่อฟัง ในสถานการณ์เช่นนั้นการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันทีทันใดจึงเป็นการยับยั้งการกระทำของผู้ตาย และป้องกันชีวิต ร. ทั้งจำเลยยิงปืนเพียงนัดเดียว ถือได้ว่าจำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
สำหรับคดีส่วนแพ่งนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงหาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุดังกล่าวจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. มารดาผู้ตายย่อมไม่มีสิทธิดำเนินคดีแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ตลอดจนไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่า, การป้องกันเกินสมควร, ผู้ก่อเหตุไม่ใช่ผู้เสียหาย, การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, และการรอการลงโทษ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า โจทก์ร่วมเป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 2 กระทำความผิด โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม แม้โจทก์ร่วมจะไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย แต่ผู้เสียหายยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้เสียหายจะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ ผู้เสียหายในทางแพ่งชอบที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 2