คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้จัดการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการบริษัทชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมากระหว่างการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามรายงานการประชุมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คน ให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของนิติบุคคลอาคารชุด: การมอบอำนาจผ่านผู้จัดการและผู้ดำเนินการแทน
นิติบุคคลอาคารชุดโจทก์มีผู้จัดการคือบริษัท บ. และมีการแต่งตั้งให้ พ.เป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการพ. ย่อมเป็นผู้จัดการของโจทก์และมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วย พ.ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี ในฐานะผู้จัดการของโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นผู้มอบอำนาจเอง เช่นเดียวกับหัวหน้าส่วนราชการที่เป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนส่วนราชการนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายนายจ้างจากผู้จัดการฝ่ายขาย จงใจกระทำละเมิด แสวงหาประโยชน์ให้คู่แข่ง
โจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายของจำเลยซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในการหารายได้ให้แก่จำเลย การที่โจทก์มีคำสั่งโดยพลการเพื่อประโยชน์ของโจทก์เอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยแล้ว ยังเห็นได้อย่างชัดแจ้งอีกว่าจำเลยจะต้องได้รับความเสียหายเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยโจทก์มีคำสั่งให้พนักงานขับรถซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของโจทก์ขับรถนำพนักงานขายของจำเลยไปชมการสาธิตเครื่องดูดฝุ่นของบริษัท ฮ. อันเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่จำเลยจำหน่าย โดยฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่มีคำสั่งให้พนักงานขับรถดังกล่าวขับรถนำพนักงานขายสินค้าของจำเลยไปขายที่อื่น โดยโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยทราบอยู่ก่อนแล้วหรือเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่จำเลยและหลังจากที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ก็ได้ไปทำงานที่บริษัท ฮ. โดยมีพนักงานขายของจำเลยที่เคยอยู่ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ลาออกจากจำเลยไปทำงานกับโจทก์อีกด้วย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความรับผิดฐานเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: ผู้จัดการสหกรณ์นำเงินค่าข้าวไปใช้ส่วนตัว มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้นำปลายข้าวหักจำนวน 360 กระสอบของโจทก์ร่วมไปขายให้แก่ ค. นั้นจำเลยไม่ได้ทำในนามส่วนตัว แต่ได้ทำในนามของโจทก์ร่วมในฐานะที่จำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม ดังนั้น เงินที่ค.ส่งมาชำระค่าสินค้าโดยผ่านเข้าบัญชีของจำเลยจึงเป็นเงินของโจทก์ร่วม แม้ ค.จะส่งฝากไว้ในบัญชีเงินฝากของจำเลยแต่ก็เพื่อให้จำเลยนำไปชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมอีกทีหนึ่งโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ จำเลยได้ และเมื่อฟังว่าเงินในบัญชีของจำเลยเป็นเงิน ค่าสินค้าของโจทก์ร่วมที่ผู้ซื้อสินค้ามาชำระให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมจึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาเงินนั้นไว้ไม่ให้สูญหาย แต่จำเลยกลับถอนเงินจำนวนนั้นไปเสียไม่ส่งคืนให้โจทก์ร่วมตามหน้าที่ การกระทำของจำเลย จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กรณีหาใช่ผู้ซื้อสินค้าฝากเงิน ค่าสินค้าไว้กับจำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปชำระให้แก่โจทก์ร่วม โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนใดไปชำระก็ได้ตามฎีกาของจำเลยไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อ จากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อน แต่จำเลยให้การปฏิเสธข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าศาลได้สอบถามจำเลยว่าจำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่จนกระทั่งบัดนี้แม้โจทก์จะฎีกาอ้างว่าได้มีคำพิพากษาแล้วในคดีอาญาก่อนก็ตามแต่ไม่ปรากฏเป็นที่กระจ่างชัดว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาก่อนหรือไม่และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยอย่างไร ศาลจึงไม่อาจนับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาก่อนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี และขอบเขตความรับผิดของจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ 10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตาม มาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของโจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงาน ร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้นเมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการกระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง
จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดของประกันจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มี ข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตามมาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับ ของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะ มอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของ โจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงานร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้น เมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการ กระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของ โจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาทซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1143/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาคารชุดของผู้จัดการ และหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลอาคารชุดโดยมีบริษัท ย. ซึ่งมี บ. เป็นผู้ดำเนินการแทนบริษัทในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 บัญญัติให้นิติบุคคลอาคารชุดมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้จัดการ ให้นิติบุคคลนั้นแต่งตั้งบุคคลธรรมดาคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนนิติบุคคลในฐานะผู้จัดการ ดังนั้น บ. จึงเป็นผู้จัดการของโจทก์ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดำเนินการแทนโจทก์ บ. ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของโจทก์ที่ให้บ. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ทั้งปวงเพื่อประโยชน์ในการจัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของร่วม และการฟ้องคดีต้องถือว่าเป็นการกระทำการอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ จำเลยค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตั้งแต่วันที่ 28มกราคม 2537 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2537 และโจทก์ไม่ได้เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่ในช่วงระยะเวลานั้น เมื่อพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522มาตรา 18 บัญญัติให้เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวมและที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ และความในมาตรา 17บัญญัติว่า การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และตามข้อบังคับ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางจึงเป็นหน้าที่โดยกฎหมายบัญญัติ มิใช่หน้าที่ที่เกิดจากสัญญา จึงมิใช่เรื่องสัญญาต่างตอบแทน เมื่อไม่ปรากฏสัญญามีผลยกเว้นความรับผิดเป็นพิเศษไว้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามสัญญาคือไม่เปิดไฟฟ้าส่วนกลางและเครื่องปรับอากาศบริเวณส่วนกลางของชั้นที่ 24 ซึ่งเป็นชั้นที่สำนักงานของจำเลยตั้งอยู่จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามลักษณะสัญญาต่างตอบแทนหาได้ไม่ หากโจทก์ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างไรก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6897/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินของโจทก์ร่วม: ผู้จัดการมีหน้าที่ส่งมอบเงินแต่ไม่ส่งมอบถือเป็นความผิดฐานยักยอก
ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วม มีหน้าที่ควบคุมดูแลการรับจ่ายเงินและเก็บรักษาเงินของผู้เสียหาย จำเลยในฐานะผู้จัดการของโจทก์ร่วมได้ขายหอมแดงให้แก่บริษัท ก. และจำเลยได้รับเงินจากบริษัท ก.2 จำนวน เงินนั้นย่อมตกเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว ส่วนผู้ซื้อสินค้าเมื่อได้ชำระหนี้ค่าสินค้าแล้ว จึงหาใช่เจ้าของเงินนั้นต่อไป การที่จำเลยไม่นำเงินทั้ง 2 จำนวนดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามหน้าที่ แต่นำเข้าบัญชีส่วนตัวของจำเลยและเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ร่วมนั้น การที่จำเลยครอบครองเงินของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่ส่งมอบโดยนำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วมตามหน้าที่จึงเป็นการกระทำความผิดฐานยักยอก โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจร้องทุกข์ ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ส่วนการที่บริษัท ก.จะได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ ส.กรรมการของบริษัทก. ซึ่งเป็นผู้ส่งมอบเงินของบริษัท ก.แก่จำเลยเพื่อชำระค่าสินค้าที่บริษัท ก.ซื้อจากโจทก์ร่วมในข้อหาฉ้อโกงเงินของบริษัท ก.ซึ่งเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับเงินในคดีนี้หรือไม่นั้น ไม่ทำให้ฐานะของโจทก์ร่วมซึ่งได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5958/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการกระทำความผิดแทนเจ้าของ ย่อมถือว่าเจ้าของรู้เห็นเป็นใจ
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้ร้องโดยเป็นผู้จัดการดูแลเก็บผลประโยชน์ สามารถกระทำการแทนผู้ร้องได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้แทนของผู้ร้องจัดให้มีการเล่นบิลเลียดพนันเอาทรัพย์สินโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนี้ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการเล่นการพนันดังกล่าว ผู้ร้องจะอ้างว่าจำเลยได้กระทำนอกเหนือขอบอำนาจที่ผู้ร้องได้มอบหมายให้ไม่ได้ และคดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพว่าจำเลยได้จัดให้มีการเล่นบิลเลียดพนันเอาทรัพย์สินโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง และปรากฏในบันทึกการจับกุมว่า ชั้นจับกุมได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นบิลเลียด (สนุกเกอร์)เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยไม่ได้รับอนุญาตของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดดังนี้ฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
of 16