พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เหตุผลทางกฎหมายที่รับฟังได้ คือ ละเลยหน้าที่ หรือเหตุอื่นที่สมควร มิใช่การโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่เหตุที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างว่าทรัพย์สินตามคำร้องมิใช่ทรัพย์ของเจ้ามรดกแต่เป็นของผู้คัดค้าน มิใช่เหตุตามกฎหมายดังกล่าวอันจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6162/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกหลังการถึงแก่กรรมของคู่ความเดิม และการพิจารณาคำคัดค้านจากผู้มีส่วนได้เสีย
ว. ยื่นคำร้องขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ผู้ตาย การที่ ว. ถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นประโยชน์ที่จะพิจารณาคดีต่อไปเพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ว. ไม่ใช่คดีที่ทายาทหรือผู้อื่นจะร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะได้ ทั้งศาลชั้นต้นได้ยกคำร้องของ พ. ที่ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ว. และจำหน่ายคดีของ พ. ออกจากสารบบความแล้ว พ. จึงเป็นบุคคลภายนอกคดี และศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นตามคำร้องของ พ. ดังนี้ คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นคัดค้านผู้ร้องที่ 1 ว่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้ง พ. เป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจาก พ. เป็นบุตรของ ว. ภริยาของผู้ตาย ทั้ง ว. ถึงแก่ความตายแล้ว พ. เป็นผู้จัดการมรดก ผู้ตายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก และมีความเหมาะสมมากกว่าผู้ร้องที่ 1 คำคัดค้านของ พ. ที่ยื่นมาภายหลังเป็นการยื่นตามสิทธิของตนเอง ซึ่งมีสิทธิทำได้ จึงมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำคัดค้านของผู้ร้องขอที่ 1 ที่ 2 และให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ใหม่ กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเริ่มต้นใหม่ด้วยการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 ที่ขอให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. ดังนั้น ก่อนที่ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 พ. ซึ่งเป็นบุตรของ ว. ภริยาของ ช. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านและขอให้ศาลรับคำคัดค้านของตนไว้พิจารณาได้ ทั้งเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องที่ 1 และ พ. เป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ช. การดำเนินกระบวนของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกินกว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ไม่จำกัดเฉพาะทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายก็มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้ร้องเป็นบุตรของ ช. ส่วน ช. เป็นบุตรของผู้ตาย ช. จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกของผู้ตายย่อมตกทอดได้แก่ทายาทของผู้ตายรวมทั้ง ช. เมื่อ ช. ก็ถึงแก่ความตาย สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกได้แก่ ช. จึงเป็นมรดกของ ช. ที่ตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ ช. ผู้ร้องจึงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วยถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียไม่จำกัดเฉพาะทายาท แต่รวมถึงผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับ อ. ในที่ดินที่เป็นทรัพย์มรดกของ อ. หากข้อเท็จจริงรับฟังได้ดังนั้น ผู้ร้องก็ย่อมมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องในที่ดินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ อ. และมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดก
เช็คเป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่า จ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์ โดยไม่ต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ทั้งคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง แม้ในช่องระหว่างผู้ใดโจทก์ผู้ใดจำเลยจะระบุชื่อโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. แต่เมื่อโจทก์อ้างเช็คและสัญญาประนีประนอมเอกสารท้ายฟ้องมากับฟ้องด้วย และสัญญาประนีประนอมดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมที่แนบมาท้ายฟ้องนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4264/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้อง แม้ไม่ได้ระบุฐานะผู้จัดการมรดกในเช็ค
เช็ค เป็นเอกสารเปลี่ยนมือ เมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์โดยมิได้ระบุว่าจ่ายให้โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คโดยชอบจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องในนามของโจทก์เองโดยไม่จำต้องระบุต่อท้ายชื่อโจทก์ว่าในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. อย่างไรก็ดี คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวระบุว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คตามฟ้องให้แก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ บ. จึงถือว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่แนบมาท้ายฟ้องอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3898/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: การสมรสที่จดทะเบียนถูกต้อง แม้เจตนาลวง และการร่วมเป็นผู้จัดการมรดก
บุคคลที่จะร้องขอขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 นั้น ได้แก่ คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส หรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับผู้ตาย ผู้ร้องย่อมเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายจึงยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตาย เป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1629 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการถอนผู้จัดการมรดก ต้องมีเหตุละเลยหน้าที่หรือเหตุอื่นสมควร การโต้แย้งสิทธิเป็นคนละเรื่อง
การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็นซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้น ทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็นซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้น ทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการถอนผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุตามกฎหมาย การโต้แย้งสิทธิทรัพย์มรดกไม่ใช่เหตุ
การที่โจทก์อ้างว่าเป็นสามีไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ส. เจ้ามรดกและมีกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกเพราะทำมาหาได้ร่วมกัน ถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกได้
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยให้เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. แล้ว การที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้นั้น กรณีจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควร ข้ออ้างที่โจทก์ว่าจำเลยโอนที่ดินและเบิกถอนเงินฝากในธนาคารไปอย่างรีบร้อนและไม่จำเป็น ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวโจทก์และเจ้ามรดกทำมาหาได้ร่วมกัน แม้เป็นจริงดังอ้างก็เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เท่านั้น โจทก์ชอบที่จะฟ้องเป็นคดีได้ต่างหากอยู่แล้ว ส่วนการที่อ้างว่าจำเลยไม่ทำบัญชีทรัพย์มรดกนั้นทรัพย์มรดกต่าง ๆ ก็มีระบุไว้ในพินัยกรรมแล้ว กรณีดังนี้หาใช่เหตุที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้จะแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย ก็ไม่สิ้นสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1628 ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของผู้ตาย ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกได้