คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ชำระบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 152 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3199/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระหนี้ของบริษัทก่อนแบ่งเงินให้ผู้ถือหุ้น การเพิกเฉยหนี้ภาษีถือเป็นการละเมิด
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัทตามมาตรา 1250 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การที่บริษัท บ. ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง จำเลยซึ่งเป็นทั้งกรรมการและผู้ชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวมีหน้าที่เอื้อเฟื้อสอดส่องในการประกอบกิจการของบริษัทที่ตนเป็นกรรมการตามมาตรา 1168 และในฐานะที่เป็นผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 1252 จึงควรจะต้องรู้ว่าบริษัทเป็นหนี้ค่าภาษีอยู่ การที่จำเลยมิได้เก็บรักษาเอกสารไว้ตามมาตรา 1271 อีกทั้งเมื่อจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้วมิได้แจ้งการเลิกกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันเลิกประกอบกิจการตามประมวลรัษฎากร มาตรา 85/15 แต่ไปแจ้งหลังจากนั้น 1 ปีเศษและรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีโดยบริษัทยังมีเงินสดเหลืออยู่อีก 1,538,905.44บาท แต่มิได้กันเงินที่จะชำระหนี้ให้กรมสรรพากรโจทก์โดยกลับแบ่งเงินเฉลี่ยคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น อันขัดต่อมาตรา 1264 และมาตรา 1269 การกระทำของจำเลยจึงเป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีโดยฝ่าฝืนกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลาง ต่อมาศาลฎีกาเห็นว่าคดีในส่วนของจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรกลางและพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษา จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคสอง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีใหม่เพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่คำพิพากษาดังกล่าวนั้นถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีไม่ต้องรับผิดร่วมกับบริษัท หากไม่มีทรัพย์สินเหลือพอชำระหนี้ และไม่ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ก็เฉพาะกรณีจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ เมื่อไม่ปรากฏว่านอกจากทรัพย์สินที่โจทก์ยึดและอายัดมาชำระหนี้แล้ว จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินอื่น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ชำระบัญชีไม่ครบถ้วนตามที่ ป.พ.พ. บัญญัติไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางหนี้สินบริษัท หากไม่มีทรัพย์สินเพียงพอต้องขอศาลสั่งล้มละลาย ไม่ต้องรับผิดหนี้ส่วนตัว
ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ มาตรา 1266 ที่จะต้องชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จสิ้นไปกับจัดการใช้หนี้เงินและแจกจำหน่ายสินทรัพย์ของบริษัท ถ้าเห็นว่าเมื่อเงินค่าหุ้นได้ใช้เสร็จหมดแล้ว สินทรัพย์ยังไม่พอกับหนี้สิน ผู้ชำระบัญชีต้องร้องขอต่อศาลเพื่อให้ออกคำสั่งว่าบริษัทล้มละลายทันที นอกจากนี้ ป.รัษฎากร มาตรา 72 ยังบัญญัติให้ผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการบริษัทมีหน้าที่ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทราบการเลิกบริษัท อีกทั้งมีหน้าที่และความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีตามแบบ แม้ไม่ปรากฏว่าผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลสั่งว่า บริษัทล้มละลาย แต่ความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวเป็นการยื่น รายการของบริษัทและนำเงินของบริษัทไปชำระค่าภาษี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นอกจากสิทธิเรียกร้องในเงินที่บริษัทฝากไว้แก่ธนาคารซึ่งโจทก์ได้อายัดและนำมาชำระค่าภาษีบางส่วนแล้ว บริษัทไม่มีทรัพย์สินอื่นอีกและไม่มีการ แบ่งปันทรัพย์สินของบริษัท คืนแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ชำระบัญชีจึงหาต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีของบริษัทเป็นส่วนตัวไม่
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7 (2) เป็นการกำหนดว่า ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่ หาใช่บทบัญญัติว่า ผู้ใดจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีไม่ต้องรับผิดในหนี้ภาษีของบริษัทเลิกกิจการ หากไม่มีทรัพย์สินเหลือและไม่ได้ร้องขอให้ศาลสั่งล้มละลาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีไม่ได้ร้องขอให้ศาลสั่งว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ล้มละลาย แต่ความรับผิดร่วมกันในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการยื่นรายการของบริษัทและนำเงินของบริษัทไปชำระค่าภาษี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านอกจากสิทธิเรียกร้องในเงินที่จำเลยที่ 1 ฝากไว้แก่ธนาคารซึ่งโจทก์ได้อายัดและนำมาชำระค่าภาษีบางส่วนแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก และไม่มีการแบ่งปันทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 คืนแก่ผู้ถือหุ้นจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีของจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัว
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2) เป็นการกำหนดว่า ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร มิใช่บทบัญญัติว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินหลังบริษัทร้าง: สิทธิของผู้ชำระบัญชี, การโอนโดยมิชอบ, และความสุจริตของผู้รับโอน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 (1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่า โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (5) ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การที่ผู้ชำระบัญชีโอนที่ดินพิพาทของบริษัท อ. ให้แก่จำเลยทั้งหกตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบ จำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท จำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง จำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินหลังบริษัทร้าง: นิติกรรมเป็นโมฆะ, จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าใช้จ่าย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้โอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อันเป็นการใช้อำนาจของผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และเมื่อเพิกถอนการโอนได้แล้วที่ดินพิพาทก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท อ. มิได้ตกเป็นของโจทก์ ส่วนที่โต้แย้งว่าโจทก์เลือกปฏิบัติโดยไม่ฟ้องดำเนินคดีแก่บุตรของโจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับโอนที่ดินจากบริษัท อ. นั้น เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาว่าโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่หากจำเลยทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท อ. เห็นว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จะดำเนินการถอดถอนโจทก์ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ต่อไป การที่โจทก์ไม่ฟ้องบุคคลอื่นดังกล่าว จึงมิใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต
เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครขีดชื่อบริษัท อ. ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างและประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วต้องถือว่าบริษัท อ. เลิกกันตั้งแต่วันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(5)ทั้งมีผลให้โจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5 ในฐานะกรรมการของบริษัทเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งหก เป็นการโอนตามข้อตกลงแบ่งมรดกระหว่างทายาทที่มีภายหลังจากบริษัท อ. เป็นบริษัทร้างแล้วและไม่มีการจ่ายเงินค่าที่ดิน จึงไม่มีลักษณะเป็นการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1250 และไม่มีผลผูกพันบริษัท อ. เป็นการโอนโดยมิชอบจำเลยทั้งหกต้องโอนที่ดินพิพาทคืนบริษัท อ.
โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีความมุ่งหมายให้จำเลยทั้งหกโอนที่ดินพิพาทคืนแก่บริษัท อ. เป็นประการแรก ส่วนที่จะให้จำเลยทั้งหกชดใช้ราคาที่ดินพิพาทก็ต่อเมื่อไม่อาจโอนที่ดินพิพาทได้เพราะเหตุพ้นวิสัยเท่านั้น ประกอบกับการกำหนดราคาที่ดินพิพาทในขณะจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินเกิดจากการตกลงระหว่างทายาทเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน จึงมิใช่ราคาที่ดินพิพาทที่แท้จริง ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดราคาที่ดินพิพาทตามราคาประเมินต่ำสุดในขณะยื่นฟ้องจึงถูกต้องเหมาะสมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินพิพาทคืนนั้น ขณะจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทจำเลยทั้งหกไม่ทราบเรื่องที่บริษัท อ. ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้าง แสดงว่าจำเลยทั้งหกรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต ดังนั้น จำเลยทั้งหกจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4578/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความที่เกิดจากการฉ้อฉลโดยผู้ชำระบัญชี ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งห้าเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ซ. ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เลิกบริษัท และตั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ชำระบัญชีต่อมาจำเลยที่ 1 ฟ้องบริษัทเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีอยู่จริงจำเลยที่ 2 และที่ 3 สมยอมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บริษัทชำระเงินจำนวนหนึ่งแก่จำเลยที่ 1 และศาลมีคำพิพากษาตามยอมยังผลให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่แท้จริงต้องเสียเปรียบ สัญญาที่จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำขึ้นดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่เกิดจากการฉ้อฉล ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ทั้งห้าร้องขอให้ศาลเพิกถอนซึ่งนิติกรรมอันเกิดจากการฉ้อฉล หาใช่กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามละเมิดต่อโจทก์ทั้งห้าไม่ โจทก์ทั้งห้าชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทเลิกแล้ว: ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจฟ้องแทน ต้องเป็นผู้ชำระบัญชี
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และได้มีคำพิพากษาของศาลให้เลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี โดยชอบไปแล้ว ผู้มีอำนาจจัดการกิจการของโจทก์ได้แก่ผู้ชำระบัญชี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259 โดยไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ซึ่งเลิกบริษัทแล้วได้ ส่วนมาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังมิได้เลิก และกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการ ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้
เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาไปแล้ว และไม่มีบทกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้ แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิม ที่ถูกเพิกถอน จะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนและประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้วก็เป็นเรื่องที่ ผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมาย การที่ผู้ชำระบัญชีคนเดิมไม่นำบอก ให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่ และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชีคนใหม่และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์แล้วก็ตาม ซ. ก็หามีอำนาจฟ้องคดีนี้ในนามของโจทก์ได้ไม่ และการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้ยื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีนี้ขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ชอบมาแต่แรก แม้ต่อมาจะมีการยื่นคำร้องดังกล่าว ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังได้ไม่
โจทก์ฎีกาเพียงเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังบริษัทเลิก: ผู้ถือหุ้นฟ้องแทนบริษัทไม่ได้ ผู้ชำระบัญชีต้องฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 เป็นเรื่องที่บริษัทยังไม่เลิกและกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ถ้าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ เมื่อบริษัทโจทก์เลิกโดยคำพิพากษาแล้วไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องคดีแทนบริษัทได้ ซ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทโจทก์จึงฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่ได้แม้ผู้ชำระบัญชีที่ศาลแต่งตั้งใหม่แทนคนเดิมที่ถูกเพิกถอนจะเพิ่งนำบอกให้จดทะเบียนการเลิกบริษัทโจทก์และประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลังจากโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็เป็นเรื่องผู้ชำระบัญชีคนเดิมปฏิบัติหน้าที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายไม่เป็นเหตุให้บริษัทโจทก์กลับฟื้นขึ้นมาใหม่และไม่เป็นเหตุให้ผู้ชำระบัญชีที่ยังไม่ถูกถอดถอนหมดอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในฐานะผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องหลังจากที่ ซ. ฟ้องคดีแล้วขอเข้าว่าคดีแทนบริษัทโจทก์ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น ก็หาทำให้ฟ้องที่ไม่ชอบกลับเป็นฟ้องที่ชอบขึ้นมาในภายหลังไม่
โจทก์ฎีกาเรื่องอำนาจฟ้อง มิได้ฎีกาขอให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อโจทก์เสียไว้เกินต้องคืนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องบังคับโอนที่ดินของผู้ชำระบัญชีบริษัทตามข้อตกลงก่อตั้งบริษัทและการอายัดที่ดิน
จำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ จ.ต้องโอนให้บริษัท อ. ตามข้อตกลงในการก่อตั้งบริษัท อ. แต่ จ.ถึงแก่กรรมก่อนที่จะโอนที่ดินให้บริษัทตามข้อตกลงจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ.ได้ฟ้องโจทก์ให้โอนที่ดินคืนให้แก่บริษัทและยังไม่ปรากฏว่าคดีถึงที่สุดแล้วหรือไม่ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ตามป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคแรก ในอันที่จะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของจ.ดังกล่าวมาเป็นของบริษัท อ.ตามข้อตกลงก่อตั้งบริษัท จำเลยจึงมีสิทธิขออายัดที่ดินดังกล่าวได้
of 16