พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ปฏิบัติหน้าที่' ผู้นำร่อง: ไม่จำกัดเฉพาะการนำร่องเรือ แต่รวมถึงการปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหาร
การปฏิบัติงานของผู้นำร่องตามกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่องออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ข้อ 85 ต้องเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันในหน่วยราชการทั่ว ๆ ไป โดยงานที่ปฏิบัติย่อมแตกต่างกันไปแล้วแต่ตำหน่งหน้าที่ซึ่งอาจจะเป็นงานด้านเทคนิคอันเป็นวิชาชีพพิเศษได้แก่ การนำร่องเรือ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย มิใช่ว่าจะทำเฉพาะหน้าที่นำร่องเรือเพียงอย่างเดียวโดยถือการมาปฏิบัติงาน คือ การมา ณ ที่ทำการตามวันเวลาราชการ เป็นการมาปฏิบัติหน้าที่ดังจะเห็นได้ว่ากฎกระทรวงดังกล่าว ใช้คำว่า "มาปฏิบัติหน้าที่" มิได้ใช้คำว่า "ได้ปฏิบัติหน้าที่นำร่องเรือ"
จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการนำร่องและในฐานะหัวหน้าผู้นำร่องตลอดเวลา ไม่ปรากฏว่าได้ลาหยุดหรือไม่มาปฏิบัติหน้าที่ แม้มิได้นำร่องเรือเกินสิบวันในแต่ละเดือน ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งเดือน ตามกฎกระทรวงเศรษฐการฯ ข้อ 85 วรรค 2 (1) จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยเงินค่าจ้างนำร่องที่ให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวง ฯ ดังกล่าว
จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการนำร่องและในฐานะหัวหน้าผู้นำร่องตลอดเวลา ไม่ปรากฏว่าได้ลาหยุดหรือไม่มาปฏิบัติหน้าที่ แม้มิได้นำร่องเรือเกินสิบวันในแต่ละเดือน ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งเดือน ตามกฎกระทรวงเศรษฐการฯ ข้อ 85 วรรค 2 (1) จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยเงินค่าจ้างนำร่องที่ให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวง ฯ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4023/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างทุกตำแหน่งมีสิทธิ แม้เป็นผู้บริหาร การพิจารณาต้องแยกจากวันหยุดประเภทอื่น
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯได้กำหนดไว้ตาม ข้อ 45 โดยเฉพาะมิได้เกี่ยวด้วยข้อ 36 ถึงข้อ 42ข้อ 43 และข้อ 44 ประการใด สิทธิของลูกจ้างตามข้อ 45จะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อถูกเลิกจ้าง ซึ่งต่างกว่าค่าทำงานในวันหยุดประเภทอื่นที่ลูกจ้างอาจเรียกร้องได้ในระหว่างทำงาน ดังนั้น ตำแหน่งหน้าที่ของลูกจ้างที่เรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่มีเกณฑ์จำกัดสิทธิตามตำแหน่งหน้าที่ไว้ดังวันหยุดประเภทอื่น แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างชั้นผู้บังคับบัญชาก็มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21, 42 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดตลาดหลักทรัพย์: การขายหุ้นลูกค้าโดยไม่ได้รับคำสั่ง และความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหาร
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทธุรกิจเงินทุนและค้าหลักทรัพย์ เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการบริหาร และจำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นเจ้าหน้าที่บริหาร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้บริหารและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อขายหลักทรัพย์และจดทะเบียนหลักทรัพย์ในนามของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เอาหุ้นของโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยที่ 1 ไปขายโดยไม่ได้รับคำสั่งจากโจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยทั้งหก โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ฟ้องจำเลยทั้งหกในความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 มาตรา 21,42 วรรคสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง-นายจ้าง และสิทธิค่าชดเชย กรณีผู้บริหารพ้นตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของ ครม.
โจทก์เป็นผู้อำนวยการมีอำนาจกระทำการแทนองค์การจำเลยฐานะระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน โจทก์พ้นตำแหน่งด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ถือเป็นการเลิกจ้างมีสิทธิได้ค่าชดเชย เงินที่โจทก์ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์พนักงานตามข้อบังคับของจำเลยที่ให้ถือเป็นเงินชดเชย ก็ไม่ใช่เงินชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเลยยังต้องจ่ายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้น เมื่อผู้บริหารนิติบุคคลกระทำผิดและไม่ฟ้องคดี
กรณีความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทนนั้นถ้าผู้จัดการหรือผู้แทนเหล่านั้นเป็นผู้กระทำผิดต่อนิติบุคคลเสียเองดังนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นย่อมได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นผู้เสียหาย มีสิทธิฟ้องคดีอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)ประกอบด้วยมาตรา 2(4)(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1742/2503 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15348/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างข้าราชการระดับสูงที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาคุณสมบัติผู้บริหารและผลกระทบต่อองค์กร
แม้ศาลแรงงานกลางจะรับฟังข้อเท็จจริงว่า สาเหตุที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์จะไม่ใช่เพราะโจทก์ขาดประสิทธิภาพในการทำงานถึงขนาดต้องเลิกจ้างก็ตาม แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นเพราะโจทก์ขาดวุฒิภาวะในการเป็นผู้บริหารระดับสูง ใช้อารมณ์ฉุนเฉียว ทำให้เพื่อนร่วมงานไม่อาจทำงานร่วมกับโจทก์ได้ ศาลแรงงานกลางได้ฟังข้อเท็จจริงมาแล้วว่า มีพนักงานในแผนกของโจทก์ 2 คน ในจำนวน 4 คนลาออก เพราะไม่สามารถทนร่วมงานกับโจทก์ได้ เมื่อโจทก์เป็นผู้บริหารระดับสูงของจำเลยที่ 1 คุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารและความสามารถในการบังคับบัญชาบริหารจัดการภายในองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ การที่โจทก์ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเลิกจ้างโจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นไปโดยมีเจตนากลั่นแกล้ง จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยที่ 1 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17597-17598/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: ผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายให้บริหารบริษัทลูก ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
แม้บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทแม่จะถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทลูกก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการของบริษัท พ. อยู่แล้วได้รับมอบหมายจากบริษัท พ. ให้ไปปฏิบัติงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ด้วย การที่โจทก์ไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ย่อมมีอำนาจในการบริหารวางแผนและมีอำนาจสูงสุด จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 มิได้แต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่ผู้ที่ต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 แม้ค่าตอบแทนในการบริหารงานที่โจทก์ได้รับจากการบริหารงานในบริษัทต่าง ๆ หลายบริษัทซึ่งรวมทั้งเงินที่ได้รับจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 อยู่ด้วย ก็เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูงบริษัทกลุ่ม พ. กำหนดไว้ว่าจะได้รับจากบริษัทใดจำนวนเท่าใด ไม่ทำให้เข้าใจไปได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 กำหนดค่าตอบแทนให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใดได้เอง ส่วนการหักภาษีเงินได้และเงินกองทุนประกันสังคมในแต่ละบริษัทเห็นได้ว่าเป็นการคำนวณจากค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการที่ผู้บริหารระดับสูงบริษัทกลุ่ม พ. กำหนดให้กระจายความรับผิดชอบไปให้แต่ละบริษัทที่โจทก์เข้าไปบริหารงานนั่นเอง เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 แต่กลับเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ไปเป็นผู้บริหารงานและมีอำนาจสูงสุดในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เช่นนี้ โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6378/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทจากข้อความติชมการประเมินผลครู แม้ผู้ติชมเคยเป็นผู้บริหารโรงเรียน แต่หากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการปัจจุบันก็ถือว่าไม่ได้ติชมด้วยความเป็นธรรม
จำเลยเคยเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่เกิดเหตุแต่เกษียณอายุไปแล้วได้ทำหนังสือต่อว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการขณะเกิดเหตุเกี่ยวกับเรื่องการประเมิน ส. ครูในโรงเรียนว่า "ลองเอาแบบประเมินครูมาประเมินโจทก์ร่วม ให้คะแนนอย่างยุติธรรมดูซิว่าครูกับตัวโจทก์ร่วมมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด โจทก์ร่วมทราบไหมว่าบางข้อเขาไม่มีหน้าที่ต้องทำและไม่ได้รับมอบหมายให้คะแนนศูนย์ มันยุติธรรมหรือไม่..." ข้อความดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงโจทก์ร่วมว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของครูว่า ประเมินอย่างไม่ยุติธรรม ซ้ำเติมไม่มีเมตตาธรรมต่อครู ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าโจทก์ร่วมมีพฤติกรรมในทางไม่ดี น่าระอาไม่เหมาะที่จะเป็นครูผู้บริหารของโรงเรียน การประเมินดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับจำเลย และแม้จำเลยจะเคยเป็นครูผู้บริหารโรงเรียนดังกล่าวมาก่อนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของโรงเรียนแต่อย่างใด กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดกรรมการ/ผู้บริหารบริษัท: การเสนอชื่อกรรมการ ไม่ผูกพันจำเลยต่อการบริหารงานที่ผิดพลาด
ตามบันทึกข้อตกลงเป็นเพียงบันทึกที่แสดงว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ส. (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธ.) ประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปอย่างมั่นคงได้ จึงขอให้จำเลยเข้าช่วยเหลือ โดยมีข้อตกลงที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ไม่มีข้อตกลงที่ระบุว่าจำเลยจะเข้าไปดำเนินกิจการของบริษัทด้วยตนเองหรือจะส่งตัวแทนเข้าไปบริหารกิจการของบริษัท การที่ให้จำเลยพิจารณากำหนดชื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดเข้าไปเพื่อที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการหรือกรรมการบริหารของบริษัทนั้น เป็นแต่เพียงต้องผ่านการพิจารณาจากจำเลยเสียก่อนว่าบุคคลนั้นๆ มีความเหมาะสมที่จะเข้าไปบริหารกิจการของบริษัทได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นกรณีที่บริษัทประสบปัญหาทางการเงินและต้องขอความช่วยเหลือจากจำเลย จึงต้องมีการพิจารณาบุคคลที่จะเข้าไปบริหารกิจการของบริษัทเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทแต่งตั้งอีกชั้นหนึ่ง บุคคลที่จำเลยเสนอชื่อเข้าไปไม่ได้กระทำการในฐานะตัวแทนบริหารงานบริษัทแทนจำเลย จำเลยไม่มีอำนาจในการควบคุมกรรมการบริหารบริษัท และการบริหารงานของบริษัทก็ไม่ได้กระทำตามคำสั่งของจำเลย ดังนั้น กรรมการและกรรมการบริหารบริษัทจึงมิใช่ตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในการบริหารงานของกรรมการบริษัท ธ.
ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่อยู่ระหว่างอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่ระบุไว้ในตาราง 6 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. เมื่อคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแล้ว ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว
ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นจำนวนที่อยู่ระหว่างอัตราขั้นสูงและขั้นต่ำตามที่ระบุไว้ในตาราง 6 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. เมื่อคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการต่อสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแล้ว ค่าทนายความที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว