พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากความสัมพันธ์ชู้สาวและการร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชา ไม่ถือเป็นเหตุให้หย่าได้
การที่ภริยาร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของสามี เป็นการกระทำด้วยอารมณ์หึงหวง เนื่องจากถูกสามีทอดทิ้งและถูกทำร้ายทางจิตใจเพราะสามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น แม้ภริยาจะขอให้ผู้บังคับบัญชาลงโทษทางวินัยแก่สามีก็เป็นเพียงวิธีการที่จะให้สามีเลิกมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่น และเหตุก็เกิดขึ้นจากความผิดของสามีเอง การกระทำของภริยายังไม่เพียงพอที่จะถือว่าได้กระทำการให้สามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง และได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินควร อันจะเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากความผิดร้ายแรง: การกระด้างกระเดื่องและทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชา
ธ. และโจทก์ต่างเป็นลูกจ้างจำเลยโดย ธ. เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้รับใบลาของโจทก์ ธ. ย่อมมีอำนาจที่จะสอบถามถึงการป่วยของโจทก์ได้แต่เมื่อถูกถามโจทก์กลับท้าทายให้ธ. ออกไปต่อสู้กับโจทก์นอกที่ทำการบริษัทจำเลยจึงเป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาโจทก์คว้าคอเสื้อ ธ. ในขณะที่อีกมือหนึ่งถือไม้หน้าสามเพื่อจะตีทำร้ายแม้จะเป็นการกระทำนอกบริษัทจำเลยแต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันไปจากภายในบริษัทจำเลยถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกันเป็นการกระทำโดยจงใจทำให้บริษัทจำเลยได้รับความเสียหายเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการรับส่งเงินและผู้บังคับบัญชาต่อการยักยอกเงินของส่วนราชการ
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 10 ทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้ แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไร ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง แล้ว
ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520 และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว หาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่ การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้จำเลยที่ 1 เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่ 1 สามารถปลอมใบนำส่งเงิน ปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงิน ข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฏิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่
แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวัน แล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้าย และให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้อง ทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ แต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือ ต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป
ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520 และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว หาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่ การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้จำเลยที่ 1 เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่ 1 สามารถปลอมใบนำส่งเงิน ปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงิน ข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฏิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่
แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวัน แล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้าย และให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้อง ทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ แต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือ ต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในทางแพ่งของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง: หนังสือกระทรวงมหาดไทยเป็นเพียงแนวปฏิบัติ ไม่ใช่กฎหมาย
หนังสือกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของเทศบาล สุขาภิบาล และเมืองพัทยา เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งเพื่อให้เทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาถือเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้นมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องร่วมรับผิดเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ได้ จะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง: หนังสือเวียนไม่ใช่กฎหมาย ผู้บังคับบัญชาต้องมีส่วนร่วมหรือบกพร่องจึงต้องรับผิด
หนังสือกระทรวงมหาดไทยเรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของเทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาเป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งเพื่อให้เทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาถือเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้นมิใช่กฎหมายดังนั้นจะถือว่าผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องร่วมรับผิดเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ได้จะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง: หนังสือกระทรวงมหาดไทยเป็นแนวปฏิบัติ ไม่ใช่กฎหมาย
หนังสือกระทรวงมหาดไทยเรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งของเทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาเป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความรับผิดในทางแพ่งเพื่อให้เทศบาลสุขาภิบาลและเมืองพัทยาถือเป็นแนวปฏิบัติเท่านั้นมิใช่กฎหมายดังนั้นจะถือว่าผู้บังคับบัญชาทุกชั้นจะต้องร่วมรับผิดเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำทุจริตโดยเด็ดขาดไม่ได้จะต้องรับผิดเมื่อกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 362/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่รัฐและผู้บังคับบัญชาต่อความเสียหายจากละเลยหน้าที่
จำเลยที่2เป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่1มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานเงินคงเหลือประจำทุกวันแต่กลับไม่ตรวจสอบไม่ลงลายมือชื่อเป็นกรรมการรักษาเงินในรายงานเงินคงเหลือประจำวันและไม่กวดขันให้กรรมการรักษาเงินคนอื่นตรวจสอบหลักฐานการรับเงินและตัวเงินสดและลงลายมือชื่อในรายงานเงินคงเหลือประจำวันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์ไม่ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์เมื่อผลของการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยที่1ยักยอกเงินของโจทก์ไปการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่2มีตำแหน่งเป็นเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชากิจการต่างๆของสำนักงานปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลรับผิดชอบบังคับบัญชาจำเลยที่1และที่3ให้ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์จำเลยที่2จึงต้องรับผิดมากกว่าจำเลยที่3 จำเลยที่3ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่1และที่2ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและระเบียบแบบแผนของโจทก์อาจจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ขึ้นได้แต่จำเลยที่3ก็มิได้รายงานเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือจำเลยที่2ขึ้นไปทราบเสียในทันทีเพื่อจะได้สั่งการแก้ไขการที่จำเลยที่3ปล่อยปละละเลยจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นจำเลยที่3ในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงของจำเลยที่1จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดโจทก์ลงนามรับทราบเรื่องในวันใดถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันดังกล่าวอายุความละเมิดเริ่มนับแต่วันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4879/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง ต้องพิสูจน์ความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ตามหลักละเมิด
ความรับผิดในทางแพ่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาอันเนื่องมาจากการทุจริตของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชานั้นหาใช่เพราะเหตุของการเป็นผู้บังคับบัญชาไม่ หากแต่จะต้องเป็นไปตามหลักเรื่องละเมิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของทบวงการเมือง: ราชบัณฑิตยสถานมีอำนาจฟ้องได้เองโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามป.พ.พ. มาตรา 72 (เดิม) และ 73 (เดิม)
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่การงาน: การกระทำร่วมกันของลูกจ้างและผู้บังคับบัญชา การลงโทษทางวินัย
การที่ผู้คัดค้านไม่ได้ไปทำงานคงนั่งล้อมวงดู อ.และส.เล่นหมากรุก กันอยู่ จนเวลา 13 นาฬิกาเศษ น. ผู้จัดการแรงงานสัมพันธ์ของผู้ร้องมาพบทั้งสามคนจึงได้แยกย้ายกันไปทำงานเห็นได้ว่า เมื่อถึงเวลาทำงานแล้ว ผู้คัดค้านและ อ.กับส.มิได้ไปทำงานตามหน้าที่ การไม่ทำงานตามหน้าที่ในเวลาทำงานเช่นนี้เป็นการละทิ้งหน้าที่การงานอย่างหนึ่ง การที่ อ.และส.ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องสั่งให้ผู้คัดค้านทำงานละทิ้งหน้าที่ไม่ไปทำงานตามเวลานั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้คัดค้านซึ่งจะต้องทำงานที่จะละทิ้งหน้าที่การงานไปด้วยไม่ ในเมื่อทั้งสามคนร่วมกันไม่ปฏิบัติงานตามเวลาทำงานในหน้าที่ กรณีจึงต้องถือว่าละทิ้งหน้าที่การงานด้วยกัน ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้าง ผู้ร้องมีอำนาจที่ร้องขอให้ลงโทษได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 52.