พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4273/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ของโจทก์ในการใช้เครดิตภาษีซื้อ กรณีใบกำกับภาษีที่ถูกกล่าวอ้างว่าออกโดยผู้ประกอบการที่ไม่มีตัวตน
คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า บริษัท บ. เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับหรือไม่ และออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างของตน จึงฟังไม่ได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม2539 เท่านั้น แต่จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้น บริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตนไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนโจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
ข้อเท็จจริงที่คู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันในวันชี้สองสถานฟังได้แต่เพียงว่าบริษัท บ. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มประจำเดือนธันวาคม2539 เท่านั้น แต่จำเลยทั้งสี่ปฏิเสธว่าใบกำกับภาษีรายพิพาททั้งสามฉบับซึ่งออกโดยบริษัทดังกล่าวนั้น บริษัทดังกล่าวไม่มีตัวตนไม่มีสถานประกอบการและไม่มีการให้บริการจริง โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนโจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7925/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตล่าช้า ผู้ประกอบการต้องรับผิดตามกฎหมาย แม้จะอ้างระเบียบปฏิบัติ
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 10 (1) (ก) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2 (1) กำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา ของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา 24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันนั้น โดยไม่จำต้องคำนึงว่าการส่งจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด การที่โจทก์นำประมาณน้ำมันทั้งหมดตั้งแต่วันเริ่มต้นส่งจ่ายน้ำมันทางท่อจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 และฉบับที่ 2/2525 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2525 เป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่ส่งจ่ายออกไปทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 และฉบับที่ 2/2525 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2525 เป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่ส่งจ่ายออกไปทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีพฤติกรรมการค้าผิดปกติ
บริษัท ท.เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้ง และในเดือนกันยายน2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาท และบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้ว กับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการขายสินค้าและออกใบกำกับภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ประกอบกับบริษัท ท.ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี มีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง2539 ทุกเดือน แต่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มีรายการยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบกิจการของบริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีลักษณะการประกอบกิจการที่ผิดปกติ
บริษัท ท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้งและในเดือนกันยายน 2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาทและบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน(ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของห้างหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้ว กับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษีสิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการ ขายสินค้าและออกใบกำกับภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ ประกอบกับบริษัท ท. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ)เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปีมีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าว จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้ายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง 2539 ทุกเดือนแต่ไม่มี ภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มี รายการยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบ กิจการของบริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใดโจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำภาษีซื้อมาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ผู้ขายมีผลประกอบการผิดปกติ
บริษัทท. เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขายผ้าสำเร็จรูปให้โจทก์ในเดือนสิงหาคม 2538 จำนวน 2 ครั้ง และ ในเดือนกันยายน 2538 จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน 322,509 บาท และบริษัทดังกล่าวได้เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (ธนาคารกสิกรไทย จำกัด) ของหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปแล้วกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อจำเลยสำหรับเดือนภาษี สิงหาคมและกันยายน 2538 และได้มีการขายสินค้าและออกใบกำกับ ภาษีของบริษัทดังกล่าวให้โจทก์ประกอบกับบริษัท ท. ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นผู้ประกอบการที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกิน 600,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี มีความประสงค์จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษี ขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีด้วย ดังนั้น บริษัทดังกล่าว จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทจึงออกโดยผู้มีสิทธิออกใบ กำกับภาษี แม้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการขายส่งผ้า ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในปี 2537 ถึง 2539 ทุกเดือน แต่ไม่มีภาษีที่ต้องชำระเลย คงมีแต่รายการขอคืนภาษีทุกเดือน เป็นการประกอบกิจการที่ผิดปกติการค้าโดยทั่วไปที่มีรายการ ยอดซื้อมากกว่ายอดขายก็ตามแต่ก็เป็นเรื่องผลประกอบกิจการของ บริษัทอื่น ไม่เกี่ยวกับโจทก์แต่อย่างใด โจทก์จึงมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีพิพาทมาใช้ในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้ประกอบกิจการท่าเรือนอกเหนือจากฐานะผู้ขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยกฟ้องฐานความรับผิดนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าสุราที่โจทก์รับประกันภัยทอดสุดท้ายจากท่าเรือสิงคโปร์ถึงท่าเรือของจำเลยที่ 2 ในประเทศไทย และระหว่างที่สินค้าสุรา อยู่ที่ลานพักสินค้าซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าสินค้าสุราดังกล่าวได้รับความเสียหาย อันเป็นการ ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ขนส่งทางทะเลจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2ไม่ได้เป็นผู้ขนส่งสินค้าสุราพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ ความเสียหายมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยที่ 2ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย และต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เมื่อทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ร่วมขนส่งทอดสุดท้ายเพียงแต่จำเลยที่ 2 ประกอบธุรกิจท่าเรืออย่างเดียว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดในการที่สินค้าเสียหาย อันเนื่องมาจากการขนส่งไม่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ประกอบกิจการท่าเรือ มีหน้าที่บำรุงรักษารวมทั้งจัดสถานที่ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ท่าเรือ ของจำเลยที่ 2 การที่น้ำท่วมลานพักสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะฝนตกหนักไม่ใช่เหตุสุดวิสัย จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ โดยโจทก์มิได้กล่าวบรรยายฟ้องให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้ประกอบกิจการท่าเรือแล้วไม่ดูแลรักษาสินค้าจนทำให้สินค้าต้องเสียหายไว้แต่อย่างใด จึงเป็นการ วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 รับผิดนอกฟ้องนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และภาษีซื้อที่จ่ายให้ไม่มีสิทธิหัก
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 86 และมาตรา 86/13 ผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการอื่นที่มิได้จดทะเบียน แม้จะประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 ก็ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี และหากผู้ประกอบการซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนฝ่าฝืนออกใบกำกับภาษี มาตรา 88/1 ก็บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฏในใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
บริษัท พ. ขายสินค้าให้โจทก์มีราคาถึง 4,300,000 บาท การประกอบการของบริษัทดังกล่าวจึงมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่ง พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป. รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/12 แห่ง ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 กำหนดไว้ไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น บริษัท พ. จึงเป็นผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ปรากฏว่าบริษัท พ. มิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัท พ. จึงไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ การที่บริษัท พ. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์เป็นเงิน 301,000 บาท จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ และออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีหน้าที่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ.
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 82/4 วรรคท้าย มีความหมายว่าหากเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนเรียกเก็บแล้ว ย่อมไม่เป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้านั้น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้บริษัท พ. ไปแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ตามมาตรา 82/3 ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 เนื่องจากบริษัท พ. ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกับโจทก์ แม้โจทก์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัท พ. ไปโดยสุจริต เนื่องจากเข้าใจว่าบริษัทดังกล่าวมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้โจทก์ได้โดยชอบก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องตรวจสอบให้ได้ความแน่ชัดว่าบริษัท พ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาของโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและออกใบกำกับภาษีให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์มิได้ตรวจสอบถือเป็นความบกพร่องของโจทก์ส่วนหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะว่ากล่าวเอากับบริษัท พ. เอง โจทก์จะนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขายของโจทก์ไม่ได้ เมื่อโจทก์นำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักออกจากภาษีขาย จึงมีผลเท่ากับโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระไม่ครบถ้วนดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะกระทำทุจริตโดยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยมิชอบจูงใจให้โจทก์ร่วมมอบเงินให้แก่จำเลยการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วไม่จำเป็นต้องปรับบทความผิดตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 เป็นเรื่องที่ เริ่มต้นโดยใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ของตนโดยชอบแล้วกลับทุจริตในภายหลัง การที่จำเลยกับพวกยึดไม้ของกลาง130 ชิ้น และกล่าวหาโจทก์ร่วมว่ามีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในทางนำสืบของโจทก์ และโจทก์ร่วมไม่ได้ความแน่ชัดว่า เมื่อจำเลยกล่าวหาโจทก์ร่วม แล้วจำเลยได้เรียกเงินจากโจทก์ร่วมเพื่อมิให้ดำเนินคดี แก่โจทก์ร่วมจริงหรือไม่ จึงยังไม่พอฟังลงโทษจำเลย ในความผิดฐานนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ชำระภาษีการค้าของผู้ประกอบการ แม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ภายหลัง
จำเลยได้ยื่นคำร้องขอชำระภาษีการค้าโดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของและผู้ดัดแปลงรถยนต์บรรทุกยี่ห้อเบนซ์ 300 ทีดี เก๋งแวน เป็นรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมินราคารถยนต์และจำนวนภาษีที่จำเลยต้องชำระแล้ว จำเลยก็ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า (ภ.ค.40) แสดงรายการภาษีการค้าที่ต้องเสียจำนวน 319,440 บาทและชำระในวันยื่นแบบ 50,000 บาท ส่วนที่เหลือขอผ่อนชำระรวม 54 งวดถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการค้าและผูกพันตนที่จะชำระภาษีการค้าตามมาตรา79 ทวิ (5) และ 79 ทวิ วรรคสอง แห่งป.รัษฎากรแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระภาษีการค้าทั้งหมดในวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า(ภ.ค.40) การที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวที่มีจำนวนตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป ผ่อนชำระเป็นงวดได้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์แก่จำเลยแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ในภายหลัง จำเลยก็ยังคงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้าที่ค้างชำระทั้งหมดตามกฎหมายและตามคำร้องที่ยื่นขอผ่อนชำระไว้ หาใช่ว่าหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นของผู้เช่าซื้อรถยนต์ซึ่งเป็นเจ้าของภายหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ไม่