คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้พิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8648/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาที่เกี่ยวข้อง หรืออธิบดีอัยการ มิฉะนั้น ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัย
คดีของจำเลยทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวจะต้องให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาต หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฯลฯ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ขั้นตอนในการปฏิบัติดังกล่าว ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 กล่าวคือ จำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ตามคำร้องคงเพียงขอเฉพาะผู้พิพากษาสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยระบุชื่อให้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้ระบุถึงผู้พิพากษาคนอื่นที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ดังนี้ เมื่อผู้พิพากษาทั้งสองคนที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง ส่วนการที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนหนึ่งที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยลำพัง หามีผลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ไม่ เพราะมิได้ต้องด้วยความประสงค์ของจำเลยทั้งสองในการที่จะขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 คนนั้นเป็นผู้อนุญาตให้จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตลอดทั้งมิได้ผ่านหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้องที่ฟุ่มเฟือยหรือไม่ชัดเจน แม้ผู้พิพากษาที่ออกคำสั่งจะเปลี่ยนไป
แม้ศาลจะมีคำสั่งรับคำฟ้องซึ่งถือว่าเป็นคำคู่ความแล้ว แต่เมื่อศาลตรวจพบว่าคำฟ้องฟุ่มเฟือย ไม่ชัดเจน ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับคำฟ้องไปแล้วได้เพราะถือได้ว่าเป็นการเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
ในการเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ผู้พิพากษาคนอื่นที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของผู้พิพากษาคนก่อน ๆ ที่ไม่ได้พิจารณาคดีแล้ว ดังนั้น แม้เป็นผู้พิพากษาคนอื่นแต่มีอำนาจในการพิจารณาคดีสำนวนนั้น ก็ย่อมมีอำนาจในการเพิกถอนคำสั่งหรือการพิจารณาที่ผิดระเบียบของผู้พิพากษาคนก่อน ๆ ที่ไม่มีอำนาจในการพิจารณาคดีแล้ว และไม่เป็นการทำลายหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับรองฎีกาต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีเท่านั้น การรับรองโดยผู้ไม่มีอำนาจทำให้ฎีกาไม่ชอบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่บัญญัติให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงนั้น มีเจตนารมณ์ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเองเป็นผู้รับรองให้ฎีกา เพราะเป็นผู้ทราบดีว่ามีเหตุสมควรที่จะรับรองให้ฎีกาหรือไม่ แต่ ส. เป็นผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยเท่านั้น อันเป็นคำสั่งภายในจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว ส.ไม่ได้เข้าไปนั่งพิจารณาคดีนั้นเลย ส.จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส.รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดีนี้ยังคงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับรองฎีกาต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดี และคดีต้องไม่เกินราคาทรัพย์สินที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ให้อำนาจผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้นั้น มีเจตนารมณ์ให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเองเป็นผู้รับรองให้ฎีกาเพราะเป็นผู้ทราบดีว่ามีเหตุสมควรที่จะรับรองให้ฎีกาหรือไม่ ดังนั้น ผู้พิพากษา ส. ที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสามขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นคำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส. รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดียังคงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง การที่โจทก์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามมาตราดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจรับรองฎีกาในข้อเท็จจริงต้องเป็นผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีเท่านั้น แม้มีคำสั่งอื่นก็มิอาจใช้สิทธิได้
ส. เป็นผู้พิพากษาที่เพียงแต่มีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามคำร้องของจำเลยเท่านั้น อันเป็นคำสั่งภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีเสร็จแล้ว และก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งการมีคำสั่งดังกล่าว ส. ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีนั้นเลย ส. จึงไม่มีอำนาจรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ การที่ ส. รับรองให้ฎีกาจึงไม่ชอบ ถือว่าคดีนี้ยังคงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงที่โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่เป็นที่หนองน้ำสาธารณประโยชน์ เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่หนองน้ำสาธารณประโยชน์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษจำคุกโดยผู้พิพากษาคนเดียวเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบและศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี แต่มีผู้พิพากษาลงนามเพียงคนเดียวจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 17ประกอบด้วยมาตรา 25(5) โดยผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาอนุญาตฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยระบุ ขอให้ศาลอนุญาตให้ฎีกาโดยมิได้ระบุชื่อผู้พิพากษา แต่พอถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้ฎีกานั่นเอง การที่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลในศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่บุคคลที่มีอำนาจให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 สั่งคำร้องโดยไม่อนุญาตให้ฎีกา และศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นส่งคำร้องพร้อมสำนวนความไปให้ผู้พิพากษาซึ่งลงลายมือชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาว่าสมควรอนุญาตให้ฎีกาหรือไม่ก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้ามเวลาและการไม่อนุญาตรับฎีกาของผู้พิพากษาที่ไม่พิจารณาคดี
ในวันที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมฎีกา โดยระบุขอให้ ถ.แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นลงนามรับรองฎีกาของจำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 นั้นยังอยู่ในกำหนดระยะเวลาที่จำเลยจะฎีกาได้ แต่ ถ.ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตเพราะไม่ได้เป็นผู้พิจารณาคดีนี้การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 อีกครั้งหนึ่งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ที่จำเลยมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยมาโดยอ้างว่าผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามฎีกาในคดีเยาวชนและครอบครัว แม้ผู้พิพากษาอนุญาตก็ไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัว หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้ฎีกาได้ดังเช่นกรณีอุทธรณ์ตามมาตรา 121 และกรณีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 221 โดยอาศัย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้ แม้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้ฎีกาก็เป็นการไม่ชอบ และเมื่อคดีต้องห้ามฎีกาแล้วก็ไม่จำต้องส่งสำนวนไปให้ผู้พิพากษาที่ระบุตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8235/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกาเน้นเจตนารมณ์ผู้พิพากษาและประโยชน์คู่ความมากกว่ารูปแบบตัวบท
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะอนุญาตให้อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่จึงต้องถือเจตนารมณ์ของผู้อนุญาตและความยุติธรรมที่คู่ความพึงจะได้รับเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำแต่ละคำในตัวบท มิฉะนั้นแล้วผลจะกลายเป็นว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเห็นควรนำปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญสู่การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ตามที่คู่ความร้องขอ แต่ใช้ข้อความคลาดเคลื่อนไปจากตัวบท กลับเป็นผลร้ายแก่คู่ความซึ่งประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเป็นปัญหาสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
ผู้พิพากษาผู้นั่งพิจารณาคดีและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า "พิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญควรสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 3"และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสองในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว
of 11