คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้มีส่วนได้เสีย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้คัดค้านในฐานะอยู่กินฉันสามีภริยาและมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
ผู้คัดค้านและผู้ตายได้ทำพิธีจัดงานสมรสเป็นที่รู้กันในหมู่ญาติทั้งสองฝ่ายและบุคคลทั่วไป จากนั้นผู้ตายได้แยกจากครอบครัวมาอยู่กินฉันสามีภริยาตามลำพังกับผู้คัดค้านที่บ้านบนที่ดินราชพัสดุที่ผู้ร้องโอนให้ โดยผู้ร้องได้ยกให้ผู้ตายกับผู้คัดค้านอยู่ร่วมกัน ผู้ตายและผู้คัดค้านต่างมีอาชีพของตนเป็นกิจจะลักษณะ ได้อยู่ร่วมกันตลอดมาจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเป็นสามีภริยากันย่อมถือว่าเป็นทรัพย์สินทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียอยู่ในทรัพย์ของผู้ตายและชอบที่จะร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง โดยคำว่า "ผู้มีส่วนได้เสีย" ในบทบัญญัตินี้หาจำต้องเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิหรือมีส่วนรับมรดกด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านและผู้ตายอยู่กินทำมาหาได้ด้วยกันตามลำพังสองคนโดยไม่มีญาติผู้ใดหรือแม้แต่ผู้ร้องเข้าเกี่ยวข้องรู้เห็นการบริหารครอบครัวของคนทั้งสอง ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้เดียวที่รู้เรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ตายเป็นอย่างดีจึงย่อมสามารถรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ดีกว่าผู้อื่น ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งให้ผู้คัดค้านร่วมเป็นผู้จัดการมรดกด้วยนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาท ผู้มีส่วนได้เสีย และผลของการแบ่งมรดกโดยตกลง
คดีขอจัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ มีเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 และบุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกมีคุณสมบัติต้องห้ามตามมาตรา 1718 หรือไม่
ขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ซ. บุตรของเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรของ ซ. จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทของเจ้ามรดกอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกโดยอ้างความเป็นทายาทได้ และเมื่อ ล. บุตรอีกคนหนึ่งของเจ้ามรดกได้ยื่นคำร้องขอรับที่ดินมรดก ซ. และ ถ. คัดค้าน แต่ต่อมา ซ. และ ถ. ได้ตกลงให้ ล. รับโอนที่ดินมรดกไปแต่ผู้เดียวและ ล. ได้ครอบครองทำกินโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน เช่นนี้ถือได้ว่า ซ. ถ. และ ล. ทายาทเจ้ามรดกได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันแล้วตามมาตรา 1750 วรรคหนึ่ง หาก ซ. ยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่อาจเรียกร้องที่ดินมรดกตามที่ตกลงแบ่งปันกันได้ จึงไม่มีมรดกที่จะตกทอดแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7506/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลที่มีอำนาจในคดีที่เกี่ยวข้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ที่ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต้องร้องขอให้คดีที่มีการบังคับคดีนั้น การที่โจทก์ร้องขอในคดีนี้ให้เพิกถอนการบังคับคดีของคดีหมายเลขแดงที่ 10188/2541 ของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และบทบัญญัติดังกล่าวเปิดช่องให้ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีนั้นได้อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องได้ แม้เป็นคนล้มละลาย หรือไม่ได้เป็นทายาทโดยตรง
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6323/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องตั้งผู้จัดการมรดก แม้เป็นคนล้มละลาย ไม่ขัดต่อกฎหมายล้มละลาย
การยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกเป็นเรื่องที่ผู้ร้องในฐานะผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจกระทำเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก มิใช่เรื่องการจัดการทรัพย์สิน การฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดอันเกี่ยวกับทรัพย์ของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย จึงไม่เป็นการกระทำของคนล้มละลายที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ฝ่าฝืนกฎหมายมีคู่สมรสแล้ว โมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องได้
ชายหรือหญิงที่ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว เป็นการสมรสที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และทำให้การสมรสนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งมาตรา 1497 ระบุว่า การสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะกล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้ปรากฏว่าขณะที่ ท.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นท. มีคู่สมรสคือ ป. อยู่แล้ว การที่ ท. มาจดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยที่ยังมิได้หย่าขาดจาก ป. จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้โจทก์ทั้งเจ็ดจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ท. กับ จ. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว แต่ก็เป็นทายาทโดยธรรมของ ท.เมื่อท. ถึงแก่ความตายโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ท. โจทก์ทั้งเจ็ดจึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ท. กับจำเลยเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 ได้ โจทก์ทั้งเจ็ดมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีอำนาจฟ้องได้เพื่อคุ้มครองสิทธิในมรดก
ท. มีคู่สมรสอยู่แล้ว การที่ ท. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีก โดยมิได้หย่าขาดจาก ป. เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 แม้โจทก์จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ท. กับ จ. ภริยาอีกคนหนึ่งของ ท. แต่ก็เป็นทายาทโดยธรรมของ ท. เมื่อ ท. ตายแล้วโจทก์ย่อมจะมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของ ท. โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ท. และจำเลยเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1497 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์-สละมรดก: ผลต่อการจัดการมรดกและการมีส่วนได้เสียของผู้ร้อง
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอระงับการบังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นเจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือมีสิทธิจดทะเบียน/ยื่นคำร้องตาม กม.
โจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาการที่ผู้ร้องจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีโดยอ้างว่าสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสร้างขึ้นและผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในอีก คดีหนึ่งนั้น ผู้ร้องต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สิน ที่มีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 เมื่อผู้ร้องเป็นเพียงได้ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งหกเป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นและคดี ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดี อันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3011/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยธรรมและสถานะผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องขอของผู้คัดค้านอ้างว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม พินัยกรรมตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเป็นพินัยกรรมปลอม หากเป็นจริงตามคำร้องคัดค้าน ผู้ร้องก็ไม่เป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม อันจะถือว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ร้องก็ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 มาแต่ต้น นอกจากนี้ตามคำร้องคัดค้านก็อ้างว่าผู้ตายไม่มีทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 (1)ถึง (3) ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (4) หากเป็นจริงผู้คัดค้านย่อมเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก นับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 1727ที่จะยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะกรณีมีเหตุอย่างอื่นที่สมควร ศาลชั้นต้นจึงต้องรับคำร้องคัดค้านไว้ไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงเสียก่อน
of 18