พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4108/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจ แม้จะยอมรับประโยชน์ก็ไม่สมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ที่กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะนั้น หมายถึงว่าเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อและผู้เช่าซื้อจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย สัญญาเช่าซื้อจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินผู้ให้เช่าซื้อมีกรรมการของบริษัทโจทก์ลงลายชื่อในสัญญาเช่าซื้ออันไม่มีผลสมบูรณ์เป็นลายมือชื่อของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ แม้ต่อมาโจทก์จะยอมรับเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ลงชื่อเป็นคู่สัญญากับจำเลยที่ 1 อันจะทำให้สัญญาเช่าซื้อซึ่งเป็นโมฆะกลับเป็นสัญญาเช่าซื้อที่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากเจตนาแก้ไขข้อพิพาทและมีผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่ 1 แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของ ย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ได้โทรสารถึง ก. ทนายความของจำเลยที่ 1 เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งจำเลยที่ 3 รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วย ดังนี้ เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาท ก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่ 1 ก็ดี หรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดี หามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ไม่มีตราบริษัท หากมีเจตนาและผู้มีอำนาจลงนาม
จำเลยที่2ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทเพื่อแก้ปัญหาให้จำเลยที่1โดยจำเลยที่2และที่3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันทำการแทนจำเลยที่1แต่มิได้ประทับตราบริษัทตามข้อบังคับเพราะในวันดังกล่าวมิได้นำตราบริษัทไปแต่ในวันเดียวกันนั้นร. ซึ่งเป็นน้องชายของย. และเป็นกรรมการคนหนึ่งของจำเลยที่1ได้โทรสารถึงก. ทนายความของจำเลยที่1เรื่องค่าบำเหน็จนายหน้าของโจทก์ที่จำเลยที่1จะต้องชำระให้โจทก์อันเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาประนีประนอมยอมความทั้งจำเลยที่3รู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินอันเป็นมูลเหตุในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทด้วยดังนี้เมื่อการทำสัญญาประนีประนอมยอมความพิพาทก็เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับฝ่ายโจทก์และอยู่ในความประสงค์หรือขอบอำนาจของจำเลยที่1และถือว่าจำเลยที่1ได้เข้ารับเอาประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้วสัญญาประนีประนอมยอมความที่พิพาทนี้ย่อมมีผลผูกพันจำเลยที่1การที่จำเลยที่2และที่3ซึ่งมิได้เป็นผู้จัดการเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและการทำนิติกรรมแทนจำเลยที่1ก็ดีหรือที่ประชุมกรรมการของจำเลยที่1ไม่รับรองสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ก็ดีหามีผลทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความนี้สิ้นความผูกพันจำเลยที่1แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อ การตรวจสอบอำนาจกรรมการ และผลของการทำสัญญาโดยผู้ไม่มีอำนาจ
ตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นก่อนมีการทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่าส. และม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานอื่นอันแสดงว่าม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มานำสืบเพิ่มเติมอีกก็ตามแต่การที่จำเลยที่1เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัดย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยที่1แล้วจึงเป็นการเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้วเมื่อว. และร.ได้รับมอบอำนาจจากม. จึงมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2126/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาเช่าซื้อ: การมอบอำนาจไม่ถูกต้องทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่19มิถุนายน2532ระบุว่ากรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์คือบ.และช.แต่หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครซึ่งออกให้เมื่อวันที่9กุมภาพันธ์2536ไม่ปรากฏชื่อของบ. และช. ว่าเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ส่วนหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครที่ออกให้เมื่อวันที่19สิงหาคม2535แม้มีชื่อช. และบ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์แต่ก็ระบุไว้ว่าเป็นกรรมการผู้ลงลายมือชื่อแทนโจทก์ระหว่างวันที่30กรกฎาคม2533ถึงวันที่4กรกฎาคม2534เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าช. และบ. มอบอำนาจให้ส. และท.มีอำนาจกระทำการลงลายมือชื่อแทนโจทก์ในขณะจำเลยที่1และที่2ทำสัญญากับโจทก์ส. และท. จึงมิใช่ผู้มีอำนาจกระทำการลงลายมือชื่อแทนโจทก์ในขณะที่โจทก์และจำเลยที่1และที่2ทำสัญญากันการที่ช. และบ. กระทำการลงลายมือชื่อแทนโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ส. และท. เป็นผู้มีอำนาจลงนามเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมายเป็นผลให้ส. และท.ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสัญญา-การกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ-อายุความ-ความรับผิดร่วมกัน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้า เงินชดเชย ค่าใช้จ่าย และค่าเจรจาในการปล่อยเรือ ส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4957/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องเป็นไปตามขั้นตอน หากผู้มีอำนาจไม่สั่งเลิกจ้าง การเสนอให้ลาออกไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มมีบันทึกถึงป. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลว่าควรเลิกจ้างโจทก์และขอให้ป. ดำเนินการพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งตามลำดับของการบังคับบัญชาไม่มีผลเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ทันทีเมื่อป. มิได้บอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ตามขั้นตอนปฏิบัติแต่ขอเป็นการส่วนตัวให้โจทก์ลาออกเพื่อพักรักษาตัวก่อนเมื่อหายดีแล้วจึงค่อยกลับเข้ามาทำงานใหม่ในเชิงไม่ต้องการเลิกจ้างโจทก์และเป็นข้อแนะนำในเชิงทางเลือกที่จะเป็นผลดีแก่โจทก์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์ถูกเลิกจ้างจึงเป็นสิทธิของโจทก์จะปฏิบัติตามคำแนะนำหรือไม่ก็ได้ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การมอบอำนาจฟ้องต่อผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้อง
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า โจทก์ขอมอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีกับกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมิน และคำชี้ขาด และขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ ชำระไว้เกินแก่จำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้อง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ไว้ด้วยแต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 29,30,31 เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องเพื่อขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษี ที่ชำระไว้เกิน การที่ ส. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานครแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยแต่จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่างๆแทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่2และจำเลยที่2เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาดหากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่2โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยจึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3566/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อผู้มีอำนาจโจทก์ทราบเรื่อง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องการโอนที่ดินอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2530 ซึ่งเป็นเหตุให้เพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลาที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนโอนเกินกำหนด 1 ปีแต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จึงยังถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้ โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ