คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 86 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง เว้นแต่ผิดในส่วนการงานหรือเลือกผู้รับจ้างไม่มีความสามารถ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 บัญญัติว่า"ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง" โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยเป็นผู้ผิดตามมาตรา 428 ดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนสั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้แก่ผู้รับจ้างอย่างไรและในการเลือกผู้รับจ้างคือบริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ตอกเสาเข็มและก่อสร้างฐานรากก็ปรากฏว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นพิเศษในการก่อสร้างอาคารสูง การที่จำเลยว่าจ้างบริษัท ป. เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ ย่อมหมายความว่าจำเลยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องหรือสั่งการในการทำงานแต่อย่างใด เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัททั้งสอง เมื่อความเสียหายเกิดขึ้น โจทก์จะต้องไปเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากผู้ก่อสร้างคือบริษัท ฟ. ซึ่งเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยไม่ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันทำให้จำเลยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดและการรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากผู้รับจ้าง
แม้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 6 และที่ 7 ตอกเสาเข็มในการก่อสร้างภัตตาคาร แต่ได้ความว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปล่อยให้จำเลยที่ 6 และที่ 7 ตอกเสาเข็มไปตามแบบแปลนโดยลำพัง จำเลยที่ 1 ให้ ก. เป็นวิศวกรผู้ควบคุมดูแลการตอกเสาเข็มทั้งหมด ก. จึงอยู่ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อ ก. เห็นแล้วว่าการตอกเสาเข็มของจำเลยที่ 6 และที่ 7 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่มิได้สั่งห้ามหรือให้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อมิให้โจทก์ต้องเสียหาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำด้วย
อายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มีกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งหมายความว่าต้องรู้ครบทั้งสองประการ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์พบความเสียหายของรั้วและบ้านของโจทก์กับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 จำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่าความเสียหายเกิดก่อนเดือนธันวาคม 2533 แต่มิได้ฎีกาโต้เถียงเรื่องที่โจทก์รู้ตัวว่าผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกลางเดือนมกราคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนธันวาคม 2534 คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายเวนคืน
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องเรียกคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทน และไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดี
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดีทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นต้น จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนและไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ว่าจ้างจากการกระทำของผู้รับจ้าง: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและการบังคับตามคำขอ
กำแพงรั้วของโจทก์เกิดความเสียหายจากการตอกเสาเข็มของผู้รับจ้างก่อสร้างจากจำเลย โดยจำเลยได้คอยควบคุมดูแลอยู่ตลอดเวลา ถือว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามคำสั่งของจำเลยโดยตรง แต่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า ในระหว่างการก่อสร้างบ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ปรากฏว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม โจทก์เกรงว่าอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรงสั่นสะเทือนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็มแต่อย่างใด อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพงรั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีตได้รับความเสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการกระทำของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างเพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร แม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดงให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาและคำขอคำบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6598/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยไม่ชอบ ผู้รับจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้การดำเนินการก่อสร้างของโจทก์ล่าช้า คนงานน้อยเครื่องมือไม่ทันสมัย ไม่สามารถก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาแต่สัญญาว่าจ้างฉบับพิพาทระบุเพียงว่า ผู้รับจ้างจะทำการก่อสร้างให้อยู่ภายในสัญญาจะเกินสัญญาไม่ได้เท่านั้นสัญญาว่าจ้างมิได้กำหนดระยะเวลาก่อสร้างไว้ชัดแจ้งทั้งโจทก์ก็ประสงค์จะทำงานต่อไปหากจำเลยเห็นว่าโจทก์ทำงานล่าช้ามาก จะเกิดความเสียหาย จำเลยทั้งสองจะเลิกสัญญาได้ก็ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้โจทก์ปฏิบัติเสียก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 แต่จำเลยมิได้กระทำ แต่จำเลยกลับให้โจทก์หยุดดำเนินการ ก่อสร้างทันที และว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างแทนโจทก์ ดังนี้ การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวย่อมเป็นการใช้สิทธิในการเลิกสัญญาโดยไม่ชอบ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากการเลิกสัญญาตามมาตรา 605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างทำของ vs. ซื้อขาย: หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ยกเลิกการประเมิน และของดหรือลดเบี้ยปรับโดยให้เหตุผลว่า ในการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินกระทำไปโดยถือความเข้าใจและความรู้สึกของตนเองเป็นเกณฑ์ หากมีกรณีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้คำถามนำ และใช้คำพูดในเชิงใช้อำนาจอันเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบของกรมสรรพากร พร้อมทั้งโจทก์ได้ยื่นหนังสือแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินมาพร้อมด้วย คำอุทธรณ์ของโจทก์เช่นนี้เป็นการโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว
โจทก์เป็นผู้ว่าจ้างสั่งให้โรงงานผู้รับจ้างผลิตรองเท้าตามที่โจทก์กำหนด กรณีจึงเป็นเรื่องจ้างทำของ หาใช่เป็นเรื่องซื้อขายไม่ โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ให้แก่โรงงานผลิตรองเท้าผู้รับ และนำส่งไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่ง ป.รัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณที่จ่าย ข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยจากผู้รับจ้าง และการคำนวณภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา82จะบัญญัติให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่มาตรา82/4วรรคหนึ่งก็บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากร โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากจำเลยผู้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารได้ สำหรับกรณีของโจทก์ซึ่งยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการค้าทั้งสองแบบเมื่อโจทก์ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมสรรพากร โดยแจ้งไปยังส่วนราชการคู่สัญญาคือจำเลยขอใช้สิทธิเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มแต่เนื่องจากจำเลยผู้ว่าจ้างทำการหักภาษีการค้าไว้ต่อไปการที่โจทก์มายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าจึงอาจเป็นเพราะโจทก์เข้าใจผิดอีกทั้งโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นที่จำเลยได้หักจ่ายจากเงินค่าจ้างให้โจทก์และกรมสรรพากรได้คืนให้โจทก์แล้วจึงไม่ถือว่าโจทก์ได้เลือกเสียภาษีการค้าและได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในใบเสนอราคาของโจทก์ระบุรวมค่าภาษีไว้ด้วยจึงน่าเชื่อว่าค่าจ้างจำนวน87,200,000บาทรวมภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นไว้ด้วยอันเป็นวันที่ภาษีมูลค่าเพิ่มมีผลใช้บังคับจึงเป็นไปไม่ได้ที่ค่าจ้างดังกล่าวจะมีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย แม้ว่าค่าจ้างตามสัญญาจำนวน82,200,000บาทจะมีภาษีการค้าและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ3.3รวมอยู่ด้วยก็ตามแต่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79วรรคหนึ่งฐานะภาษีสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รบหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้บริการและคำว่า"มูลค่า"นั้นมาตรา79วรรคสองให้หมายความถึงเงินทรัพย์สินค่าตอบแทนค่าบริการหรือประโยชน์ใดๆซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงินเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้รับภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นคืนจากกรมสรรพากรแล้วเงินค่าภาษีดังกล่าวจึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับอันเป็นฐานภาษีที่จะต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มฉะนั้นจึงนำเงินค่าภาษีดังกล่าวหักออกจากยอดเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ7จากยอดฐานก่อนหักภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นได้ผลลัพธ์เท่าใดจึงนำภาษีการค้าและภาษีบำรุงท้องถิ่นร้อยละ3.3มาหักออกที่เหลือจึงเป็นยอดภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ฐานภาษีได้แก่มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับฉะนั้นจึงไม่ต้องนำค่าปรับที่โจทก์ถูกปรับสำหรับการส่งมอบงานล่าช้าหักออกจากเงินค่าจ้างก่อนคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้กู้เงินธนาคารและเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีมาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์อุทธรณ์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรก ประมวลรัษฎากรมาตรา82/4บัญญัติให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ชื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเกิดขึ้นเมื่อหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มถึงกำหนดชำระแต่เมื่อจำเลยชำระค่าจ้างงานแต่ละงวดโจทก์เพียงแต่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้การที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดจำเลยจึงยังไม่ต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แต่เมื่อต่อมาโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการเลือกเสียภาษีมูลค่าเพิ่มลงวันที่15ตุลาคม2535จำเลยได้รับหนังสือในวันดังกล่าวแล้วไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคแรกโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยของภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าจ้างงวดที่1ถึง4นับแต่วันที่16ตุลาคม2535เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9376/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับและค่าเสียหายจากการผิดสัญญา ผู้รับจ้างชำระค่าเสียหายได้ แม้มีค่าปรับกำหนดไว้
ความเสียหายอันเนื่องมาจากการที่โจทก์ต้องจ้างบริษัทอื่นมาดำเนินการต่อและต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นมีจำนวนมากกว่าค่าปรับที่เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อโจทก์เจ้าหนี้ได้รับค่าเสียหายเต็มตามความเสียหายก็เท่ากับรวมเอาเบี้ยปรับในฐานะเป็นค่าเสียหายที่เป็นจำนวนน้อยที่สุดไว้ด้วยแล้วจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกเอาค่าปรับได้อีก หากจะกำหนดค่าปรับให้แก่โจทก์อีกจะเป็นการให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนกัน และตามสัญญาข้อ 5 วรรคสุดท้าย กำหนดไว้ว่า "ผู้ว่าจ้างทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะเรียกร้องให้ผู้รับจ้างชดใช้แต่ค่าปรับอย่างเดียวหรือค่าเสียหาย และริบสัมภาระอุปกรณ์การก่อสร้างดังกล่าว ใน ข.ค.ด้วยหรือไม่ก็ได้..." จากข้อสัญญาดังกล่าวจะเห็นว่า ข้อสัญญาได้ใช้คำว่าเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยผู้ว่าจ้างเป็นผู้เลือก เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระค่าเสียหายอันเป็นจำนวนเงินมากกว่าค่าปรับแก่โจทก์ โดยให้นำค่าปรับที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระให้โจทก์ไว้แล้วมาหักออกก่อนจึงเป็นการชอบด้วยข้อกฎหมายและข้อสัญญาดังกล่าวแล้ว
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวน1,278,057.68 บาท แทนที่จะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสิ้น 1,279,057.68 บาท เป็นเพราะศาลอุทธรณ์เขียนจำนวนค่าจ้างส่วนที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาเดิมผิดพลาดไปจากจำนวนที่ถูกต้อง คือ จำนวน 973,587.45 บาทเป็นจำนวน 972,587.45 บาท จึงทำให้คำนวณค่าเสียหายเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวน 258,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ชำระให้โจทก์ออกแล้วผิดพลาดขาดจำนวนไป 1,000 บาท อันเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตอกเสาเข็มที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนข้างเคียง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับจ้างตอกเสาเข็มจากจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ก่อสร้างอาคารได้แต่การตอกเสาเข็มก่อให้เกิดความเสียหายแก้บ้านโจทก์จะแก้ตัวให้พ้นผิดไม่ได้ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2ตอกเสาเข็มเพื่อสร้างอาคารสูง 30 ชั้น โดยจำเลยที่ 1เลือกจำเลยที่ 2 ให้ลงเสาเข็มโดยวิธีใช้ปั้นจั่นยกแท่งเหล็กตอกทั้ง ๆ ที่ตระหนักดีว่าจะทำให้ที่ดินข้างเคียงถูกกระทบกระเทือน อย่างแรงอันเป็นเหตุให้บ้านโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามมาตรา 420
of 9