คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับประเมิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการสินสมรสมีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนที่ได้จากการยื่นประเมินในฐานะผู้รับประเมิน แม้ภริยาเป็นผู้รับยกให้
จำเลยเป็นผู้ยื่นประเมินภาษีโรงเรือนต่อเทศบาลสำหรับโรงเรือนอันเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยและภริยาจำเลย โดยมิได้ระบุว่าจำเลยกระทำการแทนผู้ใด เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมิน ยังยอมรับว่าค้างชำระค่าภาษีอยู่จริง โดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้ง ถือว่าการประเมินภาษีนั้นถูกต้องแล้ว โรงเรือนนั้นเป็นสินสมรสจำเลยย่อมเป็นเจ้าของร่วมในโรงเรือนนั้นด้วย จำเลยอยู่ในฐานะผู้จัดการสินบริคณห์ และได้กระทำไปในฐานะเป็นผู้รับประเมิน จึงเป็นผู้มีหน้าที่พึงชำระค่าภาษีค้างชำระนั้นให้เทศบาล จะผลักภาระการชำระค่าภาษีให้ตกแก่ภริยาจำเลยหาได้ไม่ เพราะภริยาจำเลยไม่ใช่ผู้รับประเมินซึ่งมีหน้าที่ชำระค่าภาษีต่อเทศบาล
ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส หากจำเลยจะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่น เช่นว่า เป็นสินส่วนตัวของภริยาจำเลยจำเลยจำต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การโดยชัดแจ้ง มิฉะนั้นแล้วจำเลยก็ไม่มีประเด็นสืบ
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 40วางหลักว่า เจ้าของทรัพย์สินเป็นผู้เสียค่าภาษี เท่ากับต้องรับภาระภาษีโดยตรง เจ้าของจะผลักภาระภาษีให้ผู้เช่าหรือผู้ครองทรัพย์สินเสียไม่ได้ หาใช่ข้อตัดสิทธิมิให้เทศบาลเรียกร้องเอาค่าภาษีจากจำเลยผู้รับประเมินแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีต้องชำระค่าภาษีก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมินตามมาตรา 39
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้ถึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่าเพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษีในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูก จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อนศาลย่อมจะรับฟังไว้พิจารณามิได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีมีหน้าที่ชำระภาษีก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่า เพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษี ในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าการประเมินไม่ถูก จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อน ศาลย่อมจะรับฟ้องไว้พิจารณามิได้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประเมินภาษีต้องชำระภาษีตามประเมินก่อนฟ้องคดี หากไม่พอใจการประเมิน
เมื่อเจ้าพนักงานแจ้งรายการประเมินภาษีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 ไปยังผู้ใด.บุคคลผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รับประเมินโดยเป็นบุคคลผู้พึงชำระค่าภาษีตามที่ประเมินมานั้น. ถ้าไม่พอใจการประเมินจะโดยอ้างว่า.เพราะเจ้าพนักงานประเมินผิดให้เสียภาษี.ในกรณีไม่ต้องเสียหรือประเมินให้เสียมากกว่าที่ควรต้องเสีย. บุคคลนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลว่าว่าการประเมินไม่ถูก. จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39ซึ่งบัญญัติให้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนศาลประทับฟ้อง. หากมิได้ชำระค่าภาษีเสียก่อน.ศาลย่อมจะรับฟ้องไว้พิจารณามิได้. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12-13/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4069/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องยื่นคำขอยกเว้นตามกฎหมายก่อน หากไม่ทำ ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนภาษีย้อนหลัง
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินไม่ชอบเนื่องจากโรงเรือนที่โจทก์ต้องเสียภาษีมีตามจำนวนที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 เท่านั้น ส่วนโรงเรือนอื่นในพื้นที่ของโจทก์ไม่ได้ใช้งานและไม่ได้ใช้เป็นที่ไว้สินค้าและประกอบการอุตสาหกรรม จึงเป็นการฟ้องขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินโดยอ้างว่าโรงเรือนอื่นของโจทก์นอกจากที่แจ้งไว้ในปีภาษี 2545 และปีภาษี 2546 ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (5) ซึ่งเป็นบทบัญญัติในภาค 1 ของ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 อันเป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้รับประเมินที่จะต้องจัดทำคำขอยกเว้นภาษียื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้สอบสวนให้แน่นอนก่อนว่าทรัพย์สินที่พิพาทควรได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งยกคำขอยกเว้นภาษี โจทก์ก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาชี้ขาดและฟ้องคดีต่อศาลตามลำดับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้พิจารณายกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนพิพาท และการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในคดีนี้ก็เป็นการโต้แย้งการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มิใช่การยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 2 พิจารณาคำชี้ขาดของพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 34 ประกอบมาตรา 25 และมาตรา 26 ที่สืบเนื่องมาจากการขอยกเว้นค่าภาษีตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อโต้แย้งว่าโรงเรือนที่พิพาทได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินในปีภาษีพิพาทได้อีกตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 33 และมาตรา 34 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องเป็นผู้ฟ้องเอง ผู้เช่าชำระแทนไม่มีอำนาจ
หากผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ด้วยตนเองหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาตรา 25 และมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่ตามคำฟ้องของโจทก์กลับไม่ปรากฏว่าผู้รับประเมินได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ผู้เช่าอาคารและชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้รับประเมินยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่กรณีย่อมต้องถือว่าจำนวนค่ารายปีและค่าภาษียุติตามการประเมินแล้วเมื่อผู้รับประเมินมิได้มีการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ผู้รับประเมินจึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ไปด้วย
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไว้เป็นการไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีตามกฎหมายเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าอาคารราชพัสดุและชำระค่าภาษีแทนกรมธนารักษ์ตามสัญญาเช่าที่กรมธนารักษ์ทำกับโจทก์ โจทก์ไม่ใช่ผู้รับการประเมินย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาภาษีต้องมีผู้รับประเมินลงนาม หรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
คำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ต้องเขียนลงในแบบพิมพ์และผู้รับประเมินต้องลงนามตามที่ พ.ร.พ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 26 กำหนด และหากผู้รับประเมินต้องการให้ตัวแทนลงนามแทนก็ต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 37 เมื่อฟังไม่ได้ว่า ส.ได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจให้กระทำการแทนในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันภายหลังได้ จึงเป็นการยื่นคำร้องที่โจทก์ผู้รับประเมินไม่ได้ลงนามหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ตัวแทนลงนามแทน ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินนมาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 37 ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7(1) และมาตรา 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการยื่นคำร้องขอพิจารณาภาษีโรงเรือนและที่ดินสงวนไว้สำหรับผู้รับประเมิน เจ้าของทรัพย์สิน การชำระภาษีตามสัญญาเช่าไม่ทำให้มีอำนาจดังกล่าว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจในการประเมินอาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่า บริษัท ซ. เจ้าของโรงเรือนและที่ดินดังกล่าวเป็นผู้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งรายการประเมินไปยังบริษัท ซ. อันเป็นการแจ้งรายการประเมินแก่ผู้รับประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 แล้ว ดังนั้นผู้รับประเมินที่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงหมายถึงบริษัท ซ. แม้โจทก์จะมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามสัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ก็ไม่เป็นผู้รับประเมินในกรณีนี้และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 37 ก็บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่จะต้องลงนามในแบบพิมพ์ใดจะให้ตัวแทนลงนามแทนก็ได้ โดยต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อโจทก์ยื่นแบบพิมพ์คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 9) ในนามของตนเองโดยบริษัท ซ. ผู้รับประเมินไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามแทนได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และถือว่าไม่มีการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 จำนวนเงินที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 2