คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับอาวัล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ความรับผิดตั๋วสัญญาใช้เงิน: ประเด็นการฟ้องซ้ำและขอบเขตความรับผิดของผู้รับอาวัล
คดีเดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและจำเลยที่2ในฐานะ ผู้รับอาวัลศาลพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความคดีถึงที่สุดต่อมาโจทก์มาฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อสัญญามีข้อความว่าจำเลยที่1ไม่จ่ายเงินตามมูลค่าแห่งตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยที่1ยอมใช้เงินให้แก่โจทก์จนครบถ้วนตลอดถึงค่าเสียหายจึงเป็นคนละประเด็นกับที่พิพาทในคดีเดิมฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1จึงไม่เป็น ฟ้องซ้ำส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2นั้นเมื่อสัญญาไม่มีข้อความในลักษณะเป็นการ ค้ำประกัน คงระบุเพียงว่าเป็น ผู้รับอาวัล จึงเป็นการ ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่2รับผิดในฐานะ ผู้รับอาวัลโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีเดิมจึงเป็น ฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3176/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตความรับผิดของผู้รับอาวัลในตั๋วสัญญาใช้เงิน: การพิจารณาความแตกต่างของข้อตกลง
คดีเดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินในฐานะที่จำเลยที่1เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินและจำเลยที่2เป็นผู้รับอาวัลศาลพิพากษายกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1รับผิดตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งเป็นการเรียกร้องให้รับผิดตามสัญญาอีกฉบับหนึ่งต่างหากจากตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นคนละประเด็นกับที่โจทก์และจำเลยที่1พิพาทกันในคดีเดิมฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำแต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับความรับผิดตามสัญญาที่จำเลยที่1จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนี้จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี สำหรับฟ้องของโจทก์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่2นั้นตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความระบุถึงจำเลยที่2เพียงว่าจำเลยที่2ผู้รับอาวัลได้ทราบข้อตกลงในการที่จำเลยที่1ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายให้แก่โจทก์ดังกล่าวข้างต้นแล้วทุกประการจำเลยที่2ยินยอมรับอาวัลและลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับอาวัลไม่ปรากฏว่ามีข้อความอื่นใดในลักษณะเป็นการค้ำประกันคงระบุแต่เพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลแม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลอื่นตนประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา940โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปในมาตรา700ข้อต่อสู้ได้ฟ้องโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่2คดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นประเด็นข้อวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมและเมื่อคดีเดิมถึงที่สุดแล้วฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่2คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, ผู้รับอาวัล แม้ปฏิเสธการจ่ายเงินก็ยังคงรับผิด
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตาม ป.พ.พ.มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921, 940 ประกอบด้วยมาตรา 989 ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967 ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย, ผู้สลักหลัง, และผู้รับอาวัลเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
เมื่อเช็คพิพาทมีรายการครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 988 แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงเป็นเช็คตามมาตรา 987 จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้สลักหลังยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตาม มาตรา 900 เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่โจทก์หรือผู้ถือ จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทย่อมเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับจำเลยที่ 1 และมีความรับผิดอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 921,940 ประกอบด้วยมาตรา 989ทั้งต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับอาวัลรับผิดตามเช็คพิพาทต่อโจทก์ตามมาตรา 967ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้จำเลยที่ 4 สลักหลังเช็คพิพาทหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: ตรวจสอบฐานะผู้รับอาวัล vs ผู้ค้ำประกัน เพื่อกำหนดอายุความที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับอาวัลมาขายให้แก่โจทก์ ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏข้อความว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือคำว่า "ค้ำประกัน" คงระบุเพียงฐานะของจำเลยที่ 2 ว่า"ผู้รับอาวัล" ต่อท้ายลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และแม้จะระบุเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็เป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับอาวัล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 เท่านั้นเมื่อเป็นกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำด้วยอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลง ตาม มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 967,985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน กรณีไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิมหากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้นซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบมาตรา 940 แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น อายุความในส่วนของจำเลยที่ 2จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967,985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามหลักเกณฑ์ตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคหนึ่งการฟ้องให้ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน ตามมาตรา 1001 ดังนั้นการฟ้องผู้รับอาวัลจึงต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อเห็นตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งตั๋วประเภทนี้จะพึงใช้เงินในวันยื่นตั๋ว แต่ผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบมาตรา 985 สำหรับกำหนดเวลายื่นให้รับรองตั๋วเงินนั้น มาตรา 928บัญญัติให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้รับรองภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว หรือภายในกำหนดช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ ดังนั้นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋ว ซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วอันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ ตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 31 มกราคม 2520 ครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงินแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้เป็นวันถึงกำหนดใช้เงิน กำหนดอายุความ3 ปี ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: กำหนดใช้เงินตามตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น และการนับอายุความ
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 วรรคแรก การฟ้องให้ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิดจึงต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันตั๋วถึงกำหนด ตามมาตรา 1001 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ต้องถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดดังกล่าวต้องเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยกำหนดใช้เงินของตั๋วแลกเงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 กล่าวคือในวันเมื่อยื่นตั๋ว แต่ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้น สำหรับกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรอง ตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 928 ว่า ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินหรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ แสดงว่าผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงิน เมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋วซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วแต่จะยื่นให้ใช้เงินภายหลังพ้นเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วไม่ได้ กำหนดเวลาใช้เงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นจึงมีได้ตั้งแต่วันที่คงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะมีการยื่นตั๋วให้ใช้เงินวันใด ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทลงวันที่ 31 มกราคม 2520 เมื่อครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงิน จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้ เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กำหนดอายุความ 3 ปี ตามาตรา 1001 ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าวเมื่อผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความตามมาตรา 1001ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดของผู้รับอาวัล
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดเปลี่ยนมือไม่ได้ให้แก่บริษัท ส. จำเลยลงชื่อเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต่อมาบริษัท ส. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ออกตั๋วแล้วเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก มาตรา 917 วรรคสองประกอบมาตรา 985 วรรคแรก โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลตั๋วจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับอาวัลมีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี มิใช่ 6 เดือน
โจทก์บรรยายฟ้องส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ตามสำเนาท้ายฟ้อง(แก่ผู้ถือ) แล้วมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์สลักหลังเช็คดังกล่าวชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อนำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้มีชื่อได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คดังกล่าวในฐานะที่โจทก์สลักหลังเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย โจทก์ชำระเงินตามเช็คแก่ผู้มีชื่อแล้วรับเช็คดังกล่าวคืนมา โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็ค เมื่อเช็คดังกล่าวธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง และโจทก์ได้มีคำขอบังคับไว้ในคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าถูกใครใช้สิทธิไล่เบี้ยเมื่อใด ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์กลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ซึ่งมาตรา 989 วรรคแรกบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยนั้น บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า เป็นเพียงการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหาได้ถือว่าเป็นการสลักหลังโอนหรือสลักหลังลอยไม่ เมื่อโจทก์สลักหลังเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้รับอาวัลจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวจึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์ประกัน เมื่อโจทก์ผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ได้ประกันไว้การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการใช้สิทธิของผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินไปตามเช็คแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งตนได้ประกันไว้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา989 วรรคแรก บัญญัติให้สิทธิไว้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใด ฉะนั้นจึงต้องมีกำหนด 10 ปี ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) บัญญัติไว้ คดีตามคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 หาใช่กรณีโจทก์ผู้สลักหลังโอนเช็คแก่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังลอยโอนเช็คแก่ผู้ทรงใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คอันมีอายุความ6 เดือน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003บัญญัติไว้ไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 4