พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับ ค่าเสียหาย และการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้รับเหมาไม่ปฏิบัติตามสัญญา
พฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ลงมือก่อสร้างอาคารหรือทำงานล่าช้าหยุดงานบ่อยจนผลงานไม่ปรากฏล้วนอยู่ในความรู้เห็นของโจทก์โดยตลอด โจทก์ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจำเลยน่าจะต้องละทิ้งงานและเกิดความเสียหายขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งโจทก์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันทีแต่ต้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่โจทก์กลับละเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าวจนครบกำหนดอายุสัญญา และยังปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอีก โดยโจทก์บอกเลิกสัญญาหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้วถึง 11 เดือน และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โจทก์กำหนดให้สัญญามีผลเลิกกันนั้น ล่วงเลยวันที่สัญญาครบกำหนดอายุแล้วนานถึง 6 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลสำคัญอย่างอื่นให้เห็นถึงเหตุขัดข้องที่กระทำดังกล่าวโจทก์เพิ่งจะมาทำสัญญาว่าจ้างบริษัทท. ให้ทำการก่อสร้างอาคารต่อจากที่จำเลยทำไว้จนแล้วเสร็จหลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วเป็นเวลา1 ปี 7 เดือน โดยไม่ปรากฏเหตุผลที่ล่าช้า จึงเห็นได้ว่าความล่าช้าต่าง ๆ อันมีผลทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงทวีขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นเกิดจากการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยตามสัญญาจ้าง ข้อ 19(1) และมีสิทธิเรียกค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อจากจำเลยก็ตาม แต่ก็ถือว่าเงินค่าปรับตามที่คู่สัญญากำหนดไว้ และค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นกรณีมีการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับ เมื่อความเสียหายเกิดจากความล่าช้าในการดำเนินงานของโจทก์รวมอยู่ด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ สัญญาจ้างข้อ 19(1) กำหนดสิทธิของโจทก์ในกรณีที่จำเลย ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิปรับเป็นรายวัน และวรรคท้ายของสัญญานี้ยังกำหนดสิทธิของโจทก์เอาไว้อีกว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติ ตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา และใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับ จนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยซึ่งตามสัญญาข้อ 20 ระบุถึงเรื่องค่าเสียหายอะไรบ้างที่โจทก์จะเรียกร้อง เอาจากจำเลยได้ ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จากสัญญา ข้อ 19 และข้อ 20 ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า หากจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดอันเป็นการผิดสัญญาแล้วโจทก์มีสิทธิจะปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันได้ตามสัญญาข้อ 19(1) นอกจากนั้นแล้วถ้าหากโจทก์เห็นว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ก็ยัง มีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย ตามสัญญาข้อ 20 จากจำเลยได้ตาม สัญญาข้อ 19 วรรคท้าย สิทธิที่จะเรียกเอาค่าปรับรายวันกับสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายดังกล่าว แม้จะเป็นสิทธิที่เกิดจากข้อตกลงระหว่างโจทก์ กับจำเลยตามสัญญาจ้างข้อเดียวกัน แต่ก็เป็นสิทธิ ที่แยกต่างหากจากกัน โจทก์จะเลือกใช้สิทธิ อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกรณีเดียว หรือเลือกใช้สิทธิ ทุกกรณีก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ได้ลงมือก่อสร้างใด ๆ เพื่อส่งมอบงานให้โจทก์ได้ทันภายในกำหนดตามสัญญาจ้าง แต่ก่อนโจทก์จะบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้มีหนังสือถึงจำเลย แจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับเป็นรายวัน ในสัญญาจ้าง ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเอา ค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 19(1) แล้ว เพราะ หลังจากครบกำหนดเวลาแล้ว โจทก์มิได้บอกเลิกสัญญา ทันที่ จนกระทั่งปรากฏว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 19 วรรคท้าย ต่อเนื่องกับ สัญญาข้อ 20 อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่ขัดกับสิทธิ ในการที่โจทก์จะปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญา ข้อ 19(1) เพราะโจทก์ได้แสดงเจตนาโดยชัดแจ้ง มาแต่แรกแล้วว่าจะใช้สิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาจ้างได้ แม้จำเลยจะยังมิได้ลงมือก่อสร้างใด ๆตามสัญญาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3005/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานพิจารณาคดีขาดนัด & ความรับผิดร่วมของผูรับเหมาในค่าจ้าง & ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่าย
ในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน แม้ในกรณีจำเลยขาดนัดที่ให้ศาลชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวนั้น หากศาลแรงงานเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การคำแถลงของคู่ความ และพยานหลักฐานอื่นที่ปรากฏอยู่ในสำนวน คดีพอวินิจฉัยได้แล้วศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีไปได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดกับผู้รับเหมาช่วงซึ่งเป็นนายจ้างในค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาช่วงและเป็นนายจ้างโจทก์ยังไม่ชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในค่าจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ31 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เป็นการเฉพาะให้นายจ้างที่ผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจัดรายการโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่าทรัพย์ แต่เป็นสัญญาให้บริการ ผู้รับเหมามีสิทธิเรียกร้องค่าตอบแทนตามสัญญา
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลยการจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อ การนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วมจึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานสัญญาจ้างก่อสร้าง จำเลยต้องตกลงเพิ่มเติมงานและราคากับผู้รับเหมา การกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้ว่าจ้างถือเป็นความผิดของผู้รับเหมา
คณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นเพียงคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากจำเลยผู้ว่าจ้างให้ทำหน้าที่แทนผู้ว่าจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2521 ตามคำสั่งจำเลยที่แต่งตั้งให้มีหน้าที่ตรวจการจ้างและควบคุมงานปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบตลอดจนควบคุมตรวจรับงานให้ถูกต้องตามสัญญาและรายละเอียดตามแบบแปลนคณะกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยก็มิได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจการจ้างตกลงหรือตัดสินใจแทนจำเลยในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาจ้าง และการที่โจทก์สำรวจพบหินพืดและหินผุในสายทาง ซึ่งต้องระเบิดทิ้งและอยู่นอกเหนือจากแบบและรายการประมูล โจทก์จะต้อง ปฏิบัติตามสัญญาจ้างโดยตกลงเพิ่มเติมงานและคิดราคากับจำเลยใหม่เมื่อโจทก์เพียงแต่สอบถามคณะกรรมการตรวจการจ้างถึงวิธีดำเนินการ แม้คณะกรรมการตรวจการจ้างพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยกับวิธีการที่จะระเบิดหินและให้ดำเนินการไปได้แต่เมื่อลักษณะงานที่เพิ่มขึ้นเช่นนี้เป็นสาระสำคัญของสัญญาเพราะเกี่ยวข้องกับเงินค่าจ้างที่เปลี่ยนแปลงเป็นจำนวนมากซึ่งหากจะดำเนินงานต่อไปคู่สัญญาจำต้องทำความตกลงกันใหม่เสียก่อนตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง แต่โจทก์กลับทำข้ามขั้นตอนโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นหรือร่วมตกลงด้วยเพราะอุปสรรคที่พบและจำนวนค่าจ้างที่สูงขึ้นอาจมีผลทำให้ต้องยกเลิกการจ้างได้ โจทก์จึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเรียกร้องเอาเงินเพิ่มได้ ดังนี้ เป็นความผิดพลาดบกพร่องของโจทก์แต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบชำระค่าจ้างในส่วนงานที่เพิ่มแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประธานคณะกรรมการตรวจรับจ้างเรียกรับเงินจากผู้รับเหมา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ทุจริต
ขณะเกิดเหตุจำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยา1 หลัง และปรับปรุงต่อเติมบ้านพักแถวเรือนแฝด 1 หลัง ผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและได้รับจ้างเหมาดังกล่าว ก่อนมีการทำสัญญาจ้าง จำเลยขอยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 5,000 บาท และในวันที่ 20 พฤษภาคม 2530 ผู้เสียหายได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยอีกจำนวน 15,000 บาท การที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ซึ่งจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอยู่ด้วย ย่อมอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมได้ และการที่ผู้เสียหายยอมให้จำเลยยืมเงินดังกล่าวก็เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ การกระทำของจำเลยส่อไปในทางทุจริตและเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามมาตรา 85 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ว่าด้วยเรื่องบริจาค ทั้งต่อมาเมื่อมีการออกเช็คสั่งจ่ายเงินค่าจ้างเหมาจำนวน 123,453บาท และจำเลยได้นำเช็คไปขึ้นเงินสดที่ธนาคาร ระหว่างรอรับเงินผู้เสียหายได้ตามไปที่ธนาคารและขอให้โอนเงินตามเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากนั้นจำเลยได้ตามผู้เสียหายไปที่บ้านเพื่อขอใบรับเงินจากผู้เสียหาย จำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอีกจำนวน 29,000 บาท โดยหักจากเงินที่ขอยืมไปจำนวน 5,000 บาท และให้ผู้เสียหายจ่ายให้จำนวน 24,000 บาท จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น ในที่สุดผู้เสียหายก็ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยเพียง 15,000 บาทพฤติการณ์ที่จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ผู้เสียหายรับจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยาที่จำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้าง อันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาช่วงตรวจรับงาน ทุจริตต่อหน้าที่
ขณะเกิดเหตุจำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยา 1 หลัง และปรับปรุงต่อเติมบ้านพักแถวเรือนแฝด1 หลัง ผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและได้รับจ้างเหมาดังกล่าวก่อนมีการทำสัญญาจ้าง จำเลยขอยืมเงินผู้เสียหายจำนวน 5,000 บาทและในวันที่ 20 พฤษภาคม 2530 ผู้เสียหายได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยอีกจำนวน 15,000 บาท การที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด ซึ่งจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอยู่ด้วย ย่อมอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมได้ และการที่ผู้เสียหายยอมให้จำเลยยืมเงินดังกล่าวก็เพราะไม่อาจปฏิเสธได้ การกระทำของจำเลยส่อไปในทางทุจริตและเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามมาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยเรื่องบริจาค ทั้งต่อมาเมื่อมีการออกเช็คสั่งจ่ายค่าจ้างเหมาจำนวน 123,453 บาท และจำเลยได้นำเช็คไปขึ้นเงินสดที่ธนาคาร ระหว่างรอรับเงินผู้เสียหายได้ตามไปที่ธนาคารและขอให้โอนเงินตามเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากนั้นจำเลยได้ตามผู้เสียหายไปที่บ้านเพื่อขอใบรับเงินจากผู้เสียหายจำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอีกจำนวน 29,000 บาท โดยหักจากเงินที่ขอยืมไปจำนวน 5,000 บาท และให้ผู้เสียหายจ่ายให้จำนวน 24,000 บาท จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น ในที่สุดผู้เสียหายก็ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยเพียง 15,000 บาท พฤติการณ์ที่จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ผู้เสียหายรับจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยาที่จำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้าง อันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลย การที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6548/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาตามสัญญาจ้างเหมาและการฟ้องซ้ำในคดีแพ่ง
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าความเสียหายของทางพิพาทเกิดจากการแก้ไขแบบแปลนของโจทก์เองจากการใช้หินคลุกมาเป็นกรวดคลุกแทนนั้น ประเด็นข้อนี้จำเลยทั้งสองมิได้กล่าวแก้ไว้ในคำให้การ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เมื่อโจทก์ตรวจพบความเสียหายครั้งแรกวันที่ 16 มีนาคม 2527โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2527 และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ยังมีหนังสือถึงจำเลยที่ 2 ให้ไปซ่อมแซมอีกหลายครั้ง ตามหนังสือลงวันที่ 7 ธันวาคม 2527 วันที่ 31 มีนาคม 2529 และวันที่22 ตุลาคม 2530 ดังนี้ โจทก์เป็นหน่วยราชการอยู่ในกรุงเทพมหานคร ส่วนทางพิพาทอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส การที่โจทก์แจ้งความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 หลังจากเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทราบความเสียหายครั้งแรกประมาณ 27 วัน จึงเป็นเวลาอันสมควรแล้วยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนบกพร่องในความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะไม่รีบแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ส่วนการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหายนั้น ทางจังหวัดนราธิวาสเคยเข้าไปซ่อมทางโดยนำดินลูกรังไปลง และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ซ่อมแซมทางพิพาทโจทก์ก็ได้ว่าจ้างเอกชนรายอื่นซ่อมแซมแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่รีบแก้ไขเพื่อบรรเทาความเสียหาย
สัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีความว่าเมื่องานแล้วเสร็จเรียบร้อยและผู้ว่าจ้างได้รับมอบงานจากผู้รับจ้างหรือจากผู้รับจ้างคนใหม่ในกรณีผู้รับจ้างผิดสัญญาและผู้ว่าจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 5 ถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายเกิดขึ้นแก่งานจ้างนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงานโดยให้นับวันที่ได้รับมอบงานเป็นวันเริ่มต้น ซึ่งเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องผู้รับจ้าง จะเป็นโดยทำไว้ไม่เรียบร้อยหรือใช้สิ่งของที่ไม่ดี หรือทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาก็ตาม ผู้รับจ้างต้องรีบแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาที่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด โดยไม่คิดเอาค่าสิ่งของ ค่าแรงงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นใดจากผู้ว่าจ้างอีก ถ้าผู้รับจ้างบิดพลิ้ว ไม่แก้ไขซ่อมแซมภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ว่าจ้าง โดยให้นับวันที่ได้รับแจ้งเป็นวันเริ่มต้น หรือถ้าผู้รับจ้างแก้ไขซ่อมแซมไม่แล้วเสร็จเรียบร้อยภายในวันที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานจ้างนั้นแทนผู้รับจ้างได้ ถ้างานที่จ้างเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจากระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ด้วย ดังนั้น จึงมีผลบังคับว่า ตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 6 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชอบต่อความชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางพิพาทภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับมอบงาน ถ้าเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 และตามสัญญาจ้างเหมา ข้อ 6 วรรคสอง หมายความว่า นอกจากทางพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นหลังจาก 1 ปี ตามวรรคหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างยังต้องรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องที่ปรากฏขึ้นภายใน 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 600 เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบงานวันที่ 20 เมษายน 2526เจ้าหน้าที่ของโจทก์ตรวจพบความชำรุดบกพร่องวันที่ 25 กรกฎาคม 2528 และวันที่ 1 เมษายน 2530 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 5 ปี ดังนี้ความเสียหายตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อยังไม่พ้นระยะเวลาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างเหมาจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองทั้งสองสำนวนให้รับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องด้วยมูลเหตุเดียวกัน แม้จะเป็นความเสียหายคนละจุดไม่ซ้ำซ้อนกันแต่ก็อยู่ในทางพิพาทนั่นเอง ขณะโจทก์ฟ้องสำนวนแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2531โจทก์พบความเสียหายในสำนวนหลังแล้ว สิทธิหรือมูลฟ้องของโจทก์จึงมีอยู่แล้วขณะฟ้องสำนวนแรก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสำนวนแรกวันที่ 1 เมษายน 2531โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมจำนวนทุนทรัพย์ในสำนวนแรกได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 180 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์ฟ้องสำนวนหลังจึงเป็นการฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับเหมาไม่สามารถเรียกร้องค่าจ้างงานที่ยังไม่แล้วเสร็จได้
สัญญาจ้างเหมามีข้อความว่า เมื่อผู้ว่าจ้างหรือจำเลยบอกเลิกสัญญา บรรดางานที่ผู้รับจ้างหรือที่โจทก์ได้ทำขึ้นหรือก่อสร้างไว้เพื่องานจ้างทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานที่ก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสิ้นเชิงและโจทก์จะเรียกร้องค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยไม่ได้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 8 และที่ 9 ยังไม่เสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาในที่สุดโจทก์ได้คืนงานส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จแก่จำเลย และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 8 และที่ 9 ซึ่งยังก่อสร้างไม่เสร็จจากจำเลยไม่ได้ ส่วนสัญญาจ้างเหมาอีกข้อหนึ่งระบุว่า "หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับและค่าเสียหายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทั้งหมด"นั้น สำหรับข้อความที่กล่าวถึงเรื่องหากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ผู้ว่าจ้างหรือจำเลยหักไว้เป็นค่าปรับและค่าเสียหายเหลืออยู่หลังจากจ้างบุคคลอื่นเข้าไปทำงานที่โจทก์ก่อสร้างค้างไว้จนเสร็จ จำเลยจะจ่ายเงินที่เหลืออยู่นั้นคืนให้แก่โจทก์ทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดที่โจทก์ได้ก่อสร้างเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาซึ่งโจทก์มีสิทธิจะรับไปจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้หักหรือกันไว้ เป็นค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์ ก่อนเท่านั้น เงินดังกล่าวมิได้หมายรวมไปถึงว่าเมื่อจำเลย เลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว แม้โจทก์ทำงานงวดใดยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยก็จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับงวดงานที่สร้างไม่แล้วเสร็จโดยจ่ายเท่าผลงานที่โจทก์ก่อสร้างไปแล้วด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน
เมื่อถึงงานงวดที่ 4 จำเลยหยุดทำการก่อสร้าง โจทก์เตือนให้จำเลยก่อสร้างต่อไป จำเลยก็ไม่ยอมและในที่สุดทิ้งงานไป ดังนี้ย่อมเห็นได้โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่จำเลยได้แสดงออก จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยทำการก่อสร้างต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ทิ้งงานหรือไม่ชำระหนี้อยู่ดี ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้โดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน