คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6188/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยบนที่ดินเกิดจากการทำสัญญาประนีประนอม ไม่ถือเป็นการจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิจึงไม่ผูกพันผู้รับโอน
แม้ ท. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก. จะทำบันทึกสัญญาต่อหน้านายอำเภอยอมให้จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินของตนก็ตาม แต่บันทึกสัญญาที่ ท. และจำเลยทำต่อกันนั้นเป็นการประนีประนอมระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับบ้านที่จำเลยปลูกและทรัพย์สินภายในบ้าน ไม่ใช่หนังสือจดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน ดังนั้น การได้มาซึ่งสิทธิเหนือพื้นดินของจำเลยจึงไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คงมีผลบังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น หามีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ทำการโดยสุจริตหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่กรณีโอนสิทธิเช่า: ผู้โอนมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินและมีอำนาจฟ้องร่วมกับผู้รับโอน
วัดผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท แต่การครอบครองตึกแถวพิพาทยังเป็นของโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้เช่า เมื่อโจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้โอนมีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 546 ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้เช่าแก่โจทก์ที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ที่ 2 กับวัดยังมีผลบังคับอยู่ เมื่อจำเลยพักอาศัยอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าช่วงที่ทำไว้กับโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและให้จำเลยออกไปแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ที่ 2 ย่อมมีอำนาจฟ้องหรือร่วมกับโจทก์ที่ 1 ฟ้องขับไล่จำเลยได้ การที่โจทก์ที่ 1 ต้องทำสัญญาเช่ากับวัดโดยตรงเป็นเพียงต้องการตัดปัญหาเกี่ยวกับสัญญาเช่าอันจะเกิดขึ้นในภายหน้าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้บัตรภาษีที่พิพาทร่วมกันระหว่างผู้ขอออกบัตรและผู้รับโอน รวมถึงการคิดดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยที่ 1 สำเนาข้อความอันเป็นเท็จไว้ในใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าว่าได้มีการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วยื่นคำขอรับเงินค่าชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ส่งออกนั้นต่อมาโจทก์ได้จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้รับโอนบัตรภาษีจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1ที่หลอกลวงโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์จ่ายเงินชดเชยเป็นบัตรภาษีเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรในรูปของบัตรภาษีโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่มิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 และที่ 6 ได้รับสิทธิตามบัตรภาษีไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นการให้โจทก์เสียเปรียบเงินชดเชยค่าภาษีอากรที่จ่ายในรูปบัตรภาษีดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องชดใช้จำนวนเงินตามบัตรภาษีที่พิพาทและตกเป็นผู้ผิดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิดหรือวันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4และที่ 6 รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6ต้องรับผิดในมูลหนี้อันเป็นลาภมิควรได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 สุจริต จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 6 จะต้องคืนเงินหรือเวลาที่โจทก์เรียกคืนบัตรภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนเช็คโดยคบคิดฉ้อฉล: ผู้รับโอนยกข้อต่อสู้ได้หากพิสูจน์ได้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้
คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเมื่อจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากทนายโจทก์ จำเลยได้นำหนังสือไปปรึกษากับทนายจำเลย ทนายจำเลยจึงติดต่อกับทนายโจทก์เพื่อเจรจาเรื่องเช็คจำนวนเงิน 200,000 บาท โดยทนายโจทก์ยอมลดค่าเสียหายให้เหลือ 30,000 บาทนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ในเรื่องนี้ไว้แต่เป็นเพราะโจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานระบุอ้าง น. ทนายโจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ประสงค์จะสืบ จำเลยจึงไม่มีโอกาสถามค้านไว้ได้ ส่วนตัวโจทก์เองไม่ได้เป็นพยานผู้รู้เห็นหรือร่วมเจรจา จำเลยจึงไม่ได้ถามค้านไว้ คำเบิกความของจำเลยและทนายจำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความ การมีส่วนร่วมในการแบ่งแยกที่ดินแสดงถึงการเข้ามาในคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ย. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมกันใน น.ส. 3 หลังจากโจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม ศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้แบ่ง ที่ดินพิพาทตามที่จำเลยเป็นผู้นำชี้กระทบสิทธิของ ค. ค. ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิภาระจำยอม - ผู้รับโอนทราบข้อพิพาทต้องรับภาระ
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดี ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ จำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดีจำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักล้างสัญญาจะซื้อขายด้วยพยานบุคคล และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาประกันหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายนั้น เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาจะซื้อขายไม่ถูกต้องและไม่มี ผลใช้บังคับตามกฎหมาย ไม่ใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสุดท้าย จำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยหลังจากจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้แล้วและช.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทไปยังจำเลยร่วมก่อนแล้ว การที่จำเลยร่วมรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทาง ให้โจทก์ต้องเสียเปรียบก่อนรับโอนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำ โดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองและการแจ้งให้ทายาท/ผู้รับโอนทราบก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: สุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิด
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องแสดงให้พอใจศาลว่า การโอน กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ผู้คัดค้านเพิ่งทราบว่า จำเลยถูกฟ้องให้ล้มละลายและถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายหลัง จากจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แสดงว่าผู้คัดค้าน ไม่รู้ถึงการที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวมาก่อนจะจดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ให้ ผู้คัดค้านรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลายประมาณ 1 ปี และหนี้ที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายเป็นหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันในมูลหนี้ที่เกิด จากบุคคลอื่นขายลดเช็คแก่โจทก์พฤติการณ์น่าเชื่อว่าการโอน ทรัพย์สินได้กระทำโดยสุจริต และการที่ผู้คัดค้านชำระค่าที่ดิน ให้จำเลยบางส่วนตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วยังต้องนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจากธนาคารก่อนจึงรับโอนกรรมสิทธิ์ ถือว่าผู้คัดค้านได้เสียค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และการวินิจฉัยสุจริตของผู้รับโอน
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้เช่นผู้ร้องหามีอำนาจที่จะเป็นผู้ร้องขอต่อศาลได้ไม่
ผู้คัดค้าน (จพท.) มิได้เป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อร้องขอต่อศาลขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ หากแต่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอต่อผู้คัดค้านให้ใช้อำนาจตามมาตรา 114 ดังนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าสมควรจะร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการโอนหรือไม่
of 37