พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าเช่าที่ดินและตึกแถวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 แม้มีข้อปฏิบัติเดิมก็ไม่ผูกพันผู้รับโอนสิทธิ
สัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวที่จำเลยทำกับ ส. มิได้ระบุเรื่องการชำระค่าเช่าไว้ว่าให้ปฏิบัติอย่างไร การชำระค่าเช่าจำเลยจึงต้องชำระยังภูมิลำเนาปัจจุบันของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 324 แม้ตามทางปฏิบัติ ส.จะเป็นผู้มาเก็บค่าเช่าจากจำเลยก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อปฏิบัติระหว่าง ส. กับจำเลยเท่านั้นเมื่อ ส. โอนที่ดินและตึกแถวให้โจทก์มีผลให้โจทก์มีฐานะเป็นผู้ให้เช่า ข้อปฏิบัตินี้หาได้โอนมาด้วยไม่เพราะมิใช่สิทธิและหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามสัญญาเช่า ดังนั้นการที่จำเลยไม่ไปชำระค่าเช่ายังภูมิลำเนาปัจจุบันของโจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญาเช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แม้ผู้รับโอนสิทธิใหม่ ก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส. และพวกยกกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดเนื้อที่79 ตารางวา ให้แก่โจทก์ ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์ได้แสดงเจตนารับประโยชน์ตามสัญญาและครอบครองตลอดมาเกินกว่า10 ปีแล้ว โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกโดยอาศัยเหตุว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดียวกันกับคดีเดิมซึ่งมีเนื้อที่ดินทั้งหมด 114.4 ตารางวา โจทก์ฟ้องเรียกในคดีเดิม 79 ตารางวายังขาดอีก 35.4 ตารางวา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินส่วนของโจทก์ดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งเจ็ดดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนี้ประเด็นสำคัญในคดีก่อนกับคดีนี้คือที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่มีจำนวนเท่าใด คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและการครอบครองปรปักษ์จนโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะกลับมารื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1ถึงที่ 7 ในคดีนี้ในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่ก็เป็นผู้สืบสิทธิมาจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกับคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์สินขายฝากสงวนเฉพาะผู้ขายเดิม/ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิม ทายาทผู้ขายเดิม ผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้ เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตาม โจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ทรัพย์สินขายฝากสงวนเฉพาะผู้ขายเดิม/ผู้รับโอนสิทธิ/ผู้ที่ระบุในสัญญาเท่านั้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 497 บุคคลที่จะใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากต้องเป็นผู้ขายเดิมทายาทผู้ขายเดิมผู้รับโอนสิทธิหรือบุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะว่าให้เป็นผู้ไถ่ได้เป็นการกำหนดตัวผู้มีสิทธิไถ่ทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะเจาะจงแล้ว โจทก์มิใช่บุคคลที่มีสิทธิในการไถ่ที่ดินพิพาทตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นแม้โจทก์จะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 ผู้ขายฝากหรือไม่ก็ตามโจทก์จะอ้างเหตุว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสและขอใช้สิทธิไถ่ที่พิพาทหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์: ผลของการยกเลิกการขายทอดตลาดต่อผู้ซื้อและผู้รับโอนสิทธิ
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของ ส. ซึ่งได้นำมาประกันหนี้ ของจำเลยต่อศาลตามที่ได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ และ ได้นำออกขายทอดตลาด ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ต่อมา ส. ยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลมีคำสั่ง ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องพร้อมส่ง สำเนาคำร้องกับแจ้งวันนัดให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า ผู้ร้อง ที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยชอบ ขอให้ยกคำร้อง ของ ส. และผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องที่ 2 แล้วผู้ร้องที่ 2 โอนให้ผู้ร้องที่ 3 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิก การขายทอดตลาดที่ดินพิพาท มีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา โดย ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกา ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสีย เช่นนี้ เห็นได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการ บังคับคดีหากเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นคำร้องและ ขอสืบพยานเสียแต่ในชั้นไต่สวนคำร้อง ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ ส. หรืออุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ของศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ แต่ ผู้ร้องที่ 1 ก็มิได้กระทำ ผู้ร้องที่ 1 จึงต้อง ผูกพันในผลแห่งคำสั่งศาลที่ว่าการขายทอดตลาดที่ดิน พิพาทไม่ชอบตามคำสั่งศาลที่ถึงที่สุด เมื่อการ ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไม่ชอบผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3เป็นผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ มีสิทธิดีกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้โอน จึงไม่ได้กรรมสิทธิ ด้วยเช่นกัน ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้ง สาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะโอนเมื่อชำระราคาครบถ้วน ผู้รับโอนสิทธิย่อมผูกพันตามสัญญาเดิม
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันว่ากรรมสิทธิ์ในยานยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อก็ต่อเมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจากผู้ซื้อเดิมมาอีกทอดหนึ่ง ก็ต้องผูกพันตามสัญญานี้ด้วย เมื่อขณะจำเลยกระทำผิดหรือขณะที่ ศาลพิพากษาคดีผู้ร้องยังชำระราคาไม่ครบ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางจึงยังไม่โอนมาเป็นของผู้ร้อง ผู้ร้องเพิ่งชำระราคางวดสุดท้ายใน ภายหลังนั้น จึงไม่มีอำนาจร้องขอคืนของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทต้องมีผลกระทบต่อผลคดี สัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้รับโอนสิทธิไม่ผูกพันสัญญาพิเศษ
ในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท ศาลย่อมคำนึงว่าข้ออ้างข้อเถียงที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจะต้องมีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ถ้าข้อโต้เถียงใดไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงผลแห่งคดี ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทให้คู่ความนำสืบ
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากห้องพิพาท โจทก์มีโฉนดที่ดินและหนังสือสัญญาซื้อขายซึ่งทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แสดงโดยแจ้งชัดว่า โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพร้อมด้วยห้องพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม การที่จำเลยเถียงว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมไม่ใช่เจ้าของที่ดินรวมทั้งห้องพิพาท จึงเป็นการดึงดันเถียงโดยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 แล้ว
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับเจ้าของเดิมสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว ถึงหากจำเลยจะมีสัญญาต่างตอบแทนกับเจ้าของเดิมยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญานั้นก็คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทคงรับโอนมาเฉพาะสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 หาถูกผูกพันตามสัญญาต่างตอบแทนพิเศษนั้นด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าและการมีอำนาจฟ้องขับไล่: สัญญาเช่าตกทอดไปยังผู้รับโอนสิทธิ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์โดยรับโอนมาจากมารดาซึ่งจำเลยเช่าห้องพิพาทอยู่ก่อน การเช่าตกทอดมายังโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อครบสัญญาเช่าแล้วโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่หลังสัญญาเช่าสิ้นสุด โดยผู้รับโอนสิทธิเช่ามีอำนาจฟ้องได้ และประเด็นอายุความละเมิดที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาล
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์โดยรับโอนมาจากมารดาซึ่งจำเลยเช่าห้องพิพาทอยู่ก่อน การเช่าตกทอดมายังโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลย เมื่อครบสัญญาเช่าแล้วโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท
ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องอายุความละเมิดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความละเมิด แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยมาก็เป็นการนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่านา: สิทธิผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา และความรับผิดของผู้รับโอนสิทธิ
โจทก์ทำนาของจำเลย ค่าพันธุ์ข้าวปลูกโจทก์จำเลยออกกันคนละกึ่ง ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นโจทก์เป็นผู้ออก ผลประโยชน์ที่ได้จากการทำนาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์จะทำนาได้มากน้อยเท่าใดแล้วแต่ความสามารถของโจทก์ จำเลยมิได้กำหนดกฎเกณฑ์หรือสั่งการและควบคุมโจทก์ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะนายจ้างลูกจ้าง
การที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้นาพิพาทของจำเลยเพื่อทำนาโดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นข้าวอันเป็นผลผลิตจากการทำนา เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 แล้ว แม้การเช่าจะมิได้กำหนดเวลากันไว้ก็ตาม ก็ถือว่าการเช่านารายนี้มีกำหนดเวลา 6 ปี ตามมาตรา 5 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้โจทก์เช่าจนครบ 6 ปี
แม้ว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาจะยังไม่ถึงที่สุด เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุด และจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์เข้าทำนาตามสิทธิ์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์จะอ้างว่าคนเข้าครอบครองนาพิพาทระหว่างรพอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
เดิมโจทก์เช่านาพิพาทกับจำเลยคนหนึ่ง ต่อมาจำเลยคนนั้นโอนนาพิพาทไปให้จำเลยอีกคนหนึ่ง จำเลยผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยคนก่อน- ที่มีต่อโจทก์ผู้เช่านา ตามมาตรา 29 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยผู้รับโอนจริงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้จำเลยคนหนึ่งจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งให้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยอีกคนหนึ่งผู้ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
การที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้นาพิพาทของจำเลยเพื่อทำนาโดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นข้าวอันเป็นผลผลิตจากการทำนา เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 แล้ว แม้การเช่าจะมิได้กำหนดเวลากันไว้ก็ตาม ก็ถือว่าการเช่านารายนี้มีกำหนดเวลา 6 ปี ตามมาตรา 5 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้โจทก์เช่าจนครบ 6 ปี
แม้ว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาจะยังไม่ถึงที่สุด เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุด และจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์เข้าทำนาตามสิทธิ์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์จะอ้างว่าคนเข้าครอบครองนาพิพาทระหว่างรพอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
เดิมโจทก์เช่านาพิพาทกับจำเลยคนหนึ่ง ต่อมาจำเลยคนนั้นโอนนาพิพาทไปให้จำเลยอีกคนหนึ่ง จำเลยผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยคนก่อน- ที่มีต่อโจทก์ผู้เช่านา ตามมาตรา 29 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยผู้รับโอนจริงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้จำเลยคนหนึ่งจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งให้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยอีกคนหนึ่งผู้ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161