พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อเนื่อง 90 วัน
เดิมผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรค ช. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรค ช. เนื่องจากพรรค ช. รวมเข้ากับพรรค ท. ดังนั้น ความเป็นสมาชิกพรรค ช. ของผู้คัดค้านจึงสิ้นสุดลงตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 22 (5) และผู้คัดค้านเป็นสมาชิกพรรค ท. ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เป็นหลักตั้งแต่วันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 มาตรา 73 วรรคสอง ประกอบมาตรา 72 วรรคหนึ่ง
การที่ผู้คัดค้านส่งหนังสือลาออกไปยังที่ทำการของพรรค ช. ในวันที่ 30 กันยายน 2547 ไม่ได้ส่งไปยังที่ทำการของพรรค ท. จะถือว่าหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. ของผู้คัดค้านถึงที่ทำการของพรรค ท. แล้วไม่ได้ จึงไม่มีผลทำให้การเป็นสมาชิกพรรค ท. ของผู้คัดค้านสิ้นสุดลง ซึ่งพรรค ท. ได้รับหนังสือลาออกของผู้คัดค้านในวันที่ 21 มกราคม 2548 ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. ในวันดังกล่าว ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรค ป. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ป. เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่ถึง 90 วัน ผู้คัดค้านเป็นผู้ขาดคุณสมบัติมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (4)
การที่ผู้คัดค้านส่งหนังสือลาออกไปยังที่ทำการของพรรค ช. ในวันที่ 30 กันยายน 2547 ไม่ได้ส่งไปยังที่ทำการของพรรค ท. จะถือว่าหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. ของผู้คัดค้านถึงที่ทำการของพรรค ท. แล้วไม่ได้ จึงไม่มีผลทำให้การเป็นสมาชิกพรรค ท. ของผู้คัดค้านสิ้นสุดลง ซึ่งพรรค ท. ได้รับหนังสือลาออกของผู้คัดค้านในวันที่ 21 มกราคม 2548 ดังนั้น ผู้คัดค้านจึงพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. ในวันดังกล่าว ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรค ป. เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ผู้คัดค้านจึงเป็นสมาชิกพรรค ป. เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อกันถึงวันสมัครรับเลือกตั้งไม่ถึง 90 วัน ผู้คัดค้านเป็นผู้ขาดคุณสมบัติมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องเป็นสมาชิกพรรคเดียวติดต่อกัน 90 วัน หากลาออกจากพรรคอื่นก่อนครบกำหนดจะขาดคุณสมบัติ
แม้ผู้ร้องได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นแล้วก็ตาม แต่วันที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นดังกล่าวนับถึงวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมัครเข้ารับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันน้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวต่อเนื่อง 90 วัน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 และพ้นจากสมาชิกภาพเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ผู้ร้องยังได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2547 ก่อนวันที่ผู้ร้องจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย สมาชิกภาพของผู้ร้องจึงหาได้สิ้นสุดลงตามข้อบังคับของพรรคชาติไทย ข้อ 14 (5) ที่กำหนดว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น ดังที่ผู้ร้องอ้างแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ในวันที่ผู้ร้องพ้นจากสมาชิกภาพของพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 11 มกราคม 2548 ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องเป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4) ที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ทำให้ผู้สมัครถูกตัดสิทธิโดยมิชอบ ศาลสั่งให้รับสมัคร
ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนอำเภอและเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุคคลรับแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการพิจารณาการแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ ตามระเบียบดังกล่าวนายทะเบียนอำเภอจะต้องวินิจฉัยว่าเหตุที่ผู้ร้องอ้างนั้นเป็นเหตุอันสมควรที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้ร้องทราบ แต่เจ้าหน้าที่อำเภอไม่ได้นำหนังสือของผู้ร้องเสนอต่อนายทะเบียนอำเภอ เนื่องจากหนังสือดังกล่าวสูญหาย อันเป็นความผิดพลาดของฝ่ายนายทะเบียนอำเภอ เป็นเหตุให้ผู้ร้องมีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิตามมาตรา 68 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การจัดให้ผู้ร้องมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิดังกล่าวจึงไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 23 (3) แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และการลาออก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน เมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรคมหาชนตามที่ผู้คัดค้านอ้าง และข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่า ผู้ร้องได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่งไปถึงพรรคไทยรักไทยแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2547 ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 22 บัญญัติว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเมื่อ...(2) ลาออก จึงต้องถือว่าการลาออกจากสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องมีผลเมื่อหนังสือของผู้ร้องไปถึงพรรคไทยรักไทย ความเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องจึงสิ้นสุดลงในวันที่ 5 ตุลาคม 2547 นับแต่วันที่ความเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยของผู้ร้องสิ้นสุดลงดังกล่าว ผู้ร้องคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์แต่เพียงพรรคเดียว ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 เมื่อนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งผู้ร้องจึงเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้ร้องจึงมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนหนังสือรับรองผู้สมัครรับเลือกตั้ง สิทธิสมัครของผู้ถูกเพิกถอน
ผู้ที่จะมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 107(4) และผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องยื่นหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองว่าส่งผู้สมัครสมาชิกผู้นั้นเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯมาตรา 31 วรรคสอง อีกด้วย เมื่อได้รับใบสมัครแล้ว ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องตรวจสอบหลักฐานการสมัครคุณสมบัติของผู้สมัครและสอบสวนว่าผู้สมัครมีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัครตามความในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ ดังกล่าวดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นใบสมัครพร้อมกับหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ในระหว่างระยะเวลาการตรวจสอบหลักฐานการสมัคร ปรากฏว่าหัวหน้าพรรคดังกล่าวยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองจึงต้องถือว่าการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องขาดหลักฐานหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมือง มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่อาจสมัครในนามของพรรคการเมืองดังกล่าวได้ การที่ผู้คัดค้านไม่รับสมัครและไม่ปรากฏชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 20 วรรคสอง ดังนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจที่จะออกหนังสือและยืนยันการบอกเลิกหนังสือรับรองที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้พร้อมกับใบสมัครได้ ส่วนการที่ผู้ร้องอ้างว่าหนังสือยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยข้อกำหนดของพรรคการเมืองนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะสมาชิกของพรรคการเมืองได้ดำเนินการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 47 วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แต่ประการใด คำร้องของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น
คดีร้องขอให้รับสมัครเลือกตั้งและประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
หัวหน้าพรรคการเมืองเป็นผู้แทนของพรรคการเมืองในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 20 วรรคสอง ดังนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองย่อมมีอำนาจที่จะออกหนังสือและยืนยันการบอกเลิกหนังสือรับรองที่ผู้ร้องได้ยื่นไว้พร้อมกับใบสมัครได้ ส่วนการที่ผู้ร้องอ้างว่าหนังสือยืนยันขอยกเลิกหนังสือรับรองของหัวหน้าพรรคการเมืองไม่ชอบด้วยข้อกำหนดของพรรคการเมืองนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องในฐานะสมาชิกของพรรคการเมืองได้ดำเนินการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 47 วรรคสาม และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ แต่ประการใด คำร้องของผู้ร้องจึงฟังไม่ขึ้น
คดีร้องขอให้รับสมัครเลือกตั้งและประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งนั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา - ผู้สมัครไม่มีสิทธิยื่นคำร้องหากไม่ใช่กรณีที่กฎหมายกำหนด
++ เรื่อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คำสั่ง ++
++ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2543 กำหนดการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาไว้ 2 กรณี คือ มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัคร และมาตรา 34/1บัญญัติให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครได้ หากเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเวลา 1 ปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาพิจารณาขั้นตอนการพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
++ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง.
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คำสั่ง ++
++ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2543 กำหนดการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาไว้ 2 กรณี คือ มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้รับสมัคร และมาตรา 34/1บัญญัติให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครได้ หากเห็นว่าผู้สมัครผู้นั้นขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ แล้ว แต่ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเวลา 1 ปี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาพิจารณาขั้นตอนการพิจารณาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่กรณีตามที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
++ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8697/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้ลงทะเบียนรับสมัคร
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับใบสมัครของผู้ร้องไว้เนื่องจากหลักฐานไม่ครบถ้วน ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้สมัครที่ได้มีการลงบันทึกการรับสมัครไว้และออกใบรับให้ แม้ต่อมา ก. จะมีหนังสือถึงประธานกรรมการการเลือกตั้งอนุมัติให้ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งได้ แต่หนังสือดังกล่าวออกให้เมื่อพ้นกำหนดวันรับสมัครแล้ว ทั้งขณะที่ผู้ร้องยื่นใบสมัคร ก. ก็มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้ง ผู้ร้องจึงยังมิใช่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่ประกาศชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามกฎหมายได้ หนังสือดังกล่าวจึงไม่ใช่หลักฐานที่แสดงว่าผู้คัดค้านรับสมัครผู้ร้องไว้แล้ว
(คำสั่งศาลฎีกา)
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เอกสารไม่ครบถ้วนและพ้นกำหนด
หลักเกณฑ์ในการที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 32 และ 34 แห่ง พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 ประการแรก ต้องเป็นผู้สมัครที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งรับใบสมัครและลงบันทึกการรับสมัครพร้อมกับได้ออกใบรับให้แก่ผู้สมัครนั้นแล้ว ประการที่สอง ผ่านการตรวจสอบและสอบสวนของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งแล้ว ประการที่สาม ไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ที่ผู้ร้องได้ยื่นใบสมัครครั้งแรก แต่ผู้คัดค้านเห็นว่าเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน จึงให้ผู้ร้องไปนำเอกสารมาให้ครบ เมื่อผู้ร้องกลับมาอีกครั้งเมื่อเวลา 17 นาฬิกา ปรากฏว่าพ้นกำหนดระยะเวลายื่นใบสมัคร ผู้คัดค้านจึงไม่รับใบสมัคร ไม่ลงบันทึกการรับสมัครไว้เป็นหลักฐาน และไม่มีการออกใบรับให้แก่ผู้ร้อง ดังนี้ ผู้ร้องยังไม่ผ่านขั้นตอนการรับสมัครตามมาตรา 32 อย่างครบถ้วน จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำสั่งตามมาตรา 34 ได้
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว มาตรา 34 บัญญัติให้ผู้สมัครยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นรับค่าธรรมเนียมศาลไว้จึงไม่ถูกต้อง
(คำสั่งศาลฎีกา)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. กรณีถูกไล่ออกจากราชการเนื่องจากทุจริต - ผลของคำสั่งทางวินัยระหว่างอุทธรณ์
ขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องได้ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ อันเป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม แต่เมื่ออุทธรณ์ของผู้ร้องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวยังมิได้มีมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษทางวินัยแก่ผู้ร้อง ต้องถือว่าคำสั่งที่ลงโทษไล่ผู้ร้องออกจากราชการยังมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ร้องสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ร้องจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 109 (6)