คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้สืบสันดาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดาน แม้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีโทษหนักขึ้นได้ และการนับอายุผู้เสียหายเป็นข้อเท็จจริง
แม้โจทก์จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์นับอายุของผู้เสียหายคลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณานั้น เป็นข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
การข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดานอันจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง เพราะบทกฎหมายมาตรานี้ไม่ได้มุ่งลงโทษหนักขึ้นเฉพาะการกระทำแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงใช้คำว่า 'กระทำแก่ผู้สืบสันดาน' ดังนั้น การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา แม้ผู้นั้นจะมิใช่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำต่อผู้สืบสันดานตามความหมายของ มาตรา 285 นี้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และความผิดฐานข่มขืนผู้สืบสันดาน
แม้โจทก์จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์นับอายุของผู้เสียหายคลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณานั้น เป็นข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
การข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสันดานอันจะต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง เพราะบทกฎหมายมาตรานี้ไม่ได้มุ่งลงโทษหนักขึ้นเฉพาะการกระทำแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงใช้คำว่า 'กระทำแก่ผู้สืบสันดาน' ดังนั้น การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา แม้ผู้นั้นจะมิใช่เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลยก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำต่อผู้สืบสันดานตามความหมายของ มาตรา 285 นี้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งระหว่างญาติ: การฟ้องบุพการี (ยาย) ของผู้สืบสันดาน (หลาน) และข้อยกเว้น
โจทก์ที่ 2 อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะเป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่ 2 การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบุพการี ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย สำหรับโจทก์ที่ 1 เป็นเพียงบุตรเขยไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของจำเลย จำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่ 1 ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามทั้งหมด โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้สืบสันดาน & การฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ความแตกต่างของการกระทำ
โจทก์เป็นบุตรของผู้ตายตามความเป็นจริงแม้จะไม่ใช่ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ย. ว่าจะแทงจำเลย แต่ไปถูกผู้ตายคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ขณะที่ ย. จะ แทงจำเลย จำเลยได้จับตัวผู้ตายเหวี่ยงมาบังตัวไว้และ ผลักไปข้างหน้า เป็นเหตุให้ผู้ตายถูก ย.แทงถึงแก่ความตายดังนี้การกระทำของ ย. และจำเลยเป็นคนละส่วน กัน และในคดีก่อนจำเลยก็มิได้ ถูกฟ้องด้วย ฟ้อง โจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1526/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายและการเป็นผู้สืบสันดานต้องพิสูจน์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือน ไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานจึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587, 1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586, 1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่า ผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรค 2 ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: ไม่ถือเป็นผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587,1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586,1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่าผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรคสอง ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบุพการี: ผู้สืบสันดานฟ้องโดยผู้แทนโดยชอบธรรมก็เป็นบุพการีต้องห้าม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1534 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนนั้น รวมความถึงการที่ผู้สืบสันดานฟ้องบุพการีโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้แทนอย่างอื่นด้วย ฉะนั้น โจทก์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของผู้เยาว์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดก: ภรรยาไม่ใช่ผู้สืบสันดาน ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่สามี
ภรรยาไม่มีสิทธิรับมฤดกแทนที่สามีซึ่งถึงแก่ความตาย เพราะมิใช่ผู้สืบสันดาน
of 3