พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาผูกพันผู้สืบสิทธิ: การแบ่งแยกที่ดินตามการครอบครองจริง แม้โฉนดระบุสิทธิแตกต่าง
ผู้มีชื่อในโฉนดได้เป็นความฟ้องขอแบ่งแยกโฉนดจากกันและกันโดยฝ่ายโจทก์อ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดิน 2 ใน 3 ฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า มีสิทธิคนละครึ่ง ศาลพิพากษาว่าต่างปกครองเป็นส่วนสัดกันมาฝ่ายละครึ่ง 30 ปีเศษแล้ว จึงขอให้แบ่งโฉนดตามที่ปกครองมา คดีถึงที่สุด ดังนี้
ครั้นที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตกได้แก่ผู้อื่นต่อมาทั้งสองฝ่ายแม้ผู้อื่นนั้นจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็เป็นผู้สืบสิทธิ มาจากคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาคดีก่อนจึงผูกมัดผู้นั้นด้วย ฉะนั้น ผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจะมาฟ้องร้องตั้งข้อพิพาทว่ามีส่วนในที่ดินตามโฉนดนั้นผิดไปจากคำพิพากษาในคดีเดิมย่อมไม่ได้
ครั้นที่ดินตามโฉนดดังกล่าวตกได้แก่ผู้อื่นต่อมาทั้งสองฝ่ายแม้ผู้อื่นนั้นจะไม่ได้เป็นคู่ความในคดีก่อนก็เป็นผู้สืบสิทธิ มาจากคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาคดีก่อนจึงผูกมัดผู้นั้นด้วย ฉะนั้น ผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจะมาฟ้องร้องตั้งข้อพิพาทว่ามีส่วนในที่ดินตามโฉนดนั้นผิดไปจากคำพิพากษาในคดีเดิมย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยตายและไม่มีผู้สืบสิทธิ
จำเลยฎีกา แล้วต่อมาปรากฎว่าจำเลยตาย นับแต่จำเลยตายมาเป็นเวลาเกิน 1 ปี ไม่มีผู้ใดขอเข้าเป็นคู่ความแทน และไม่มีคำขอของโจทก์ขอให้เรียกผู้ใดเข้ามาเป็นคู่ความแทน ศาลฎีกาจึงให้สั่งจำหน่ายคดี และคืนค่าตัดสินและค่าคำบังคับ./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1316/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญายอมความที่ได้รับการรับรองจากศาลมีผลผูกพัน แม้ผู้สืบสิทธิจะอ้างกรรมสิทธิในภายหลัง
บิดามารดาโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในหน้าโฉนดแต่ได้ทำสัญญายอมความต่อศาลรับรองกรรมสิทธิของจำเลยแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องว่าได้รับมฤดกแล้วจะเถียงกรรมสิทธิลบล้างสัญญายอมความนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทุเลาการบังคับเป็นอำนาจของศาลชั้นต้น-อุทธรณ์เฉพาะ ไม่เปิดอุทธรณ์ฎีกา และการเป็นผู้สืบสิทธิจำเลย
ป.วิ.พ. กำหนดให้การขอทุเลาการบังคับ อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยเฉพาะ ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับภายใต้บังคับเงื่อนไขใดๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับอุทธรณ์ฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆ ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลย ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสิทธิ และถือว่าเป็นคู่ความฝ่ายเดียวกับจำเลย ผู้ร้องจึงฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ซึ่งเป็นคำสั่งที่ต่อเนื่องกับคำสั่งทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้สืบสิทธิทายาทร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก แม้มิได้เป็นทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรง หากทายาทที่มีสิทธิรับมรดกถึงแก่ความตายเสียก่อนได้รับส่วนแบ่งมรดก ผู้สืบสิทธิของทายาทก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8002/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: ฟ้องเกิน 10 ปี นับจากเจ้ามรดกตาย ถือขาดอายุความ แม้ผู้ถูกฟ้องเป็นผู้สืบสิทธิ
เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มิใช่ผู้จัดการมรดกแต่เป็นผู้สืบสิทธิของทายาทและถูกฟ้องขอให้แบ่งมรดกย่อมเป็นคดีมรดก อันมีอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกอันมีอายุความ 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง และข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ป. ไว้แทนทายาทเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 เพื่อขอแบ่งมรดกเกินกว่า 10 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่