พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพยานของผู้เขียนพินัยกรรม: แม้ไม่ระบุในพินัยกรรม ก็อาจนำสืบได้
แม้ผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมจะไม่ได้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรคสอง ด้วยก็ตาม หากมีข้อความตอนท้ายของพินัยกรรมปรากฏชัดว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเป็นสำคัญและผู้เขียนได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อของพยานรับรองพินัยกรรมแล้ว ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบว่าผู้เขียนอยู่ในฐานะพยานด้วยหรือไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมโมฆะ: พยานไม่พร้อมกัน, พยานผู้เขียน, พิมพ์ลายนิ้วมือขาดพยาน
พยานในพินัยกรรม 2 คนซึ่งไม่ได้ลงชื่อในขณะทำพินัยกรรมพร้อมกัน คนหนึ่งลงชื่อไว้ในภายหลัง แม้จะได้สอบถามตัวเจ้ามรดกหรือไม่ก็ตาม พยานเช่นนี้ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นพยานในพินัยกรรมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656
พยานผู้เขียนพินัยกรรมซึ่งลงชื่อไว้ในช่องผู้เขียนแยกต่างหากจากช่องพยานในพินัยกรรม เช่นนี้จะถือผู้เขียนเป็นทั้งพยานในพินัยกรรมและพยานผู้เขียนด้วยไม่ได้
ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือไว้โดยมีพยานเซ็นชื่อรับรองในขณะนั้นเพียงคนเดียวดังนี้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 1665
พยานผู้เขียนพินัยกรรมซึ่งลงชื่อไว้ในช่องผู้เขียนแยกต่างหากจากช่องพยานในพินัยกรรม เช่นนี้จะถือผู้เขียนเป็นทั้งพยานในพินัยกรรมและพยานผู้เขียนด้วยไม่ได้
ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือไว้โดยมีพยานเซ็นชื่อรับรองในขณะนั้นเพียงคนเดียวดังนี้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 1665
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมตามกฎหมายลักษณะมรดกและการสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยาน
พินัยกรรม์ทำก่อนใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์พ.ศ.2475 และก่อนใช้ ป.ม.กฎหมายแพ่ง ฯ บรรพ 6 ต้องบังคับตาม ก.ม.ลักษณะมรดกบทที่ 49 ซึ่งกำหนดให้มีพยายผู้ลุกนั่งอย่างน้อย 3 คน
ในพินัยกรรม์มีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน อีกคนหนึ่งพิมพ์นิ้วมือ แต่ไม่มีพยานรับรอง พยานที่พิมพ์นิ้วมือย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นพยานลุกนั่งตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 9 แต่เมื่อปรากฎว่ามีผู้เขียนลงชื่ออีกคนหนึ่งและเป็นผู้เขียนตามคำบอกของผู้ทำพินัยกรรม์และรู้เห็นขณะนั้นโดยตลอดเช่นนี้ ย่อมสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานผู้ลุกนั่งด้วยอีกคนหนึ่งได้พินัยกรรม์จึงมีพยาน 3 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้และย่อมสมบูรณ์
ในพินัยกรรม์มีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน อีกคนหนึ่งพิมพ์นิ้วมือ แต่ไม่มีพยานรับรอง พยานที่พิมพ์นิ้วมือย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นพยานลุกนั่งตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 9 แต่เมื่อปรากฎว่ามีผู้เขียนลงชื่ออีกคนหนึ่งและเป็นผู้เขียนตามคำบอกของผู้ทำพินัยกรรม์และรู้เห็นขณะนั้นโดยตลอดเช่นนี้ ย่อมสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานผู้ลุกนั่งด้วยอีกคนหนึ่งได้พินัยกรรม์จึงมีพยาน 3 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้และย่อมสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานพินัยกรรม: การสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานลุกนั่งได้ แม้พิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรมทำก่อนใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม พ.ศ.2475และก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 49 ซึ่งกำหนดให้มีพยานผู้ลุกนั่งอย่างน้อย 3 คน
ในพินัยกรรมมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน อีกคนหนึ่งพิมพ์นิ้วมือแต่ไม่มีพยานรับรอง พยานที่พิมพ์นิ้วมือย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นพยานลุกนั่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 แต่เมื่อปรากฏว่ามีผู้เขียนลงชื่ออีกคนหนึ่งและเป็นผู้เขียนตามคำบอกของผู้ทำพินัยกรรมและรู้เห็นขณะนั้นโดยตลอดเช่นนี้ ย่อมสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานผู้ลุกนั่งด้วยอีกคนหนึ่งได้พินัยกรรมจึงมีพยาน 3 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้และย่อมสมบูรณ์
(อ้างฎีกาที่ 208/2487 ที่ 45/2465)
ในพินัยกรรมมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน อีกคนหนึ่งพิมพ์นิ้วมือแต่ไม่มีพยานรับรอง พยานที่พิมพ์นิ้วมือย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นพยานลุกนั่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 แต่เมื่อปรากฏว่ามีผู้เขียนลงชื่ออีกคนหนึ่งและเป็นผู้เขียนตามคำบอกของผู้ทำพินัยกรรมและรู้เห็นขณะนั้นโดยตลอดเช่นนี้ ย่อมสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานผู้ลุกนั่งด้วยอีกคนหนึ่งได้พินัยกรรมจึงมีพยาน 3 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้และย่อมสมบูรณ์
(อ้างฎีกาที่ 208/2487 ที่ 45/2465)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม: ลักษณะถูกต้องตามกฎหมาย แม้ผู้เขียนเป็นพยาน และพยานลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรม
ผู้ตายได้ทำเอกสารฉบับหนึ่งมีข้อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนว่า ให้ยกเงินสองหมื่นบาทให้แก่ อ. เมื่อตนตาย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นพินัยกรรม
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน)ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า 'ต่อหน้า' อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพยาน ดังนี้ พินัยกรรมรายนี้นับว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมเป็นพยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรมไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/92)
ในพินัยกรรม ตอนท้ายมีข้อความว่า (นางลำดวน)ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้รู้เห็นไว้เป็นสำคัญแล้ว ยังมีคำว่า 'ต่อหน้า' อยู่ข้างหน้ากึ่งกลางระหว่างลายมือชื่อพยานกับผู้เขียนอีกด้วย จึงนับได้ว่าเป็นข้อความอันแสดงว่าบุคคลทั้ง 2 นี้ได้ลงชื่อในฐานะเป็นพยาน ดังนี้ พินัยกรรมรายนี้นับว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 แล้ว แม้ตามมาตรา1671 จะมีข้อความว่า ถ้าผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมเป็นพยาน ก็ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานผู้อื่นก็ดี ความมุ่งหมายสำคัญของมาตรานี้ ก็เพื่อให้มีข้อความแสดงว่า ผู้เขียนนั้นเป็นพยานด้วย ซึ่งในคดีนี้ผู้เขียนก็ได้เบิกความรับรองไว้แล้ว พินัยกรรม จึงหาขัดกับมาตรา 1671 ไม่
พยานจะลงชื่อก่อนหรือหลังผู้ทำพินัยกรรมไม่สำคัญ เมื่อได้ความว่า ผู้ทำพินัยกรรมได้ลงชื่อของตนในเวลาที่อยู่พร้อมกันในขณะนั้น ก็เป็นการใช้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/92)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารที่ฝ่ายหนึ่งเขียนเอง อีกฝ่ายไม่รู้ข้อความ ไม่ถือปิดปากผู้โง่เขลา ศาลรับฟังได้และถือเป็นเหตุปฏิเสธเอกสาร
เมื่อผู้รับเงินมัดจำไม่ชำระ+ผู้ให้เงินมัดจำเรียกคืนได้ วิธีพิจารณาแพ่ง พะยาน +ความในเอกสารซึ่งฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เขียนโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทราบข้อความนั้น+ที่ไม่ทราบสืบหักล้างข้อความนั้นได้ ไม่ปิดปาก ฎีกาอุทธรณ์ +สันนิษฐานของศาลจาก+คำพะยานนั้นไม่เรียกว่า+ข้อเท็จจริงนอกสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อพยานและผู้เขียนสัญญา ยืนยันความสมบูรณ์ของสัญญา
พะยาน เอกสารกู้ ผู้กู้กดลายพิมพ์นิ้วมือ มีพะยานลงลายมือชื่อรับรองคน 1 แลอีกคน 1 ว่าเป็นผู้เขียนสัญญาแลเติมคำว่าพะยานต่อไปด้วยดังนี้ สัญญานั้นสมบูรณ์ตามกฎหมาย