พบผลลัพธ์ทั้งหมด 581 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8705/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้เช่าในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่นบนที่ดินที่เช่า แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรง
แม้โจทก์กับจำเลยจะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แต่การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ร่วมเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทไม่ได้ เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ร่วมและสัญญาเช่าได้สิ้นสุดลงก่อนหน้านี้ไม่ยอมออกไปจากที่พิพาทนั้นย่อมเป็นการรอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดำเนินคดีแก่จำเลยโดยการยื่นคำฟ้องพร้อมกับขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 และ 549 ซึ่งโจทก์ก็ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เมื่อโจทก์ร่วมยินยอมเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามที่โจทก์มีคำขอแล้ว ก็ย่อมมีผลทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2680/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และผลของการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 560 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับในกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้มีข้อตกลงเรื่องการบอกเลิกสัญญาเช่ากันไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อสัญญาเช่าระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีในกรณีโจทก์กระทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดและโจทก์กระทำผิดสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีโดยไม่จำต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าย่อมผูกพันตามสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 มิได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า เพียงแต่ผู้ให้เช่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ทรัพย์สินที่เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมรับทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยย่อมต้องผูกพันตามสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
สัญญาเช่ากำหนดไว้ 3 ปี สัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน การที่จำเลยต่อสู้ว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ โจทก์ก็รับไว้โดยมิได้ทักท้วง ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย หากมีการต่อสัญญาเช่ากันจริงก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะชำระค่าเช่าสูงกว่าอัตราค่าเช่าตามที่ระบุในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าจึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟังและไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินที่เช่าทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลา โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยก่อนฟ้อง
สัญญาเช่ากำหนดไว้ 3 ปี สัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน การที่จำเลยต่อสู้ว่าเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าแล้ว จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินที่เช่าและชำระค่าเช่าแก่โจทก์ โจทก์ก็รับไว้โดยมิได้ทักท้วง ถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลานั้น หมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาไม่มีผลบังคับกันต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเดิมรวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย หากมีการต่อสัญญาเช่ากันจริงก็ไม่มีเหตุผลอันใดที่จำเลยจะชำระค่าเช่าสูงกว่าอัตราค่าเช่าตามที่ระบุในหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน ข้อนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการชำระค่าเช่าจึงไม่มีน้ำหนักแก่การรับฟังและไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันใหม่ จำเลยจึงต้องออกไปจากที่ดินที่เช่าทันทีที่สิ้นสุดกำหนดเวลา โดยโจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์: ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ผู้เช่าย่อมผูกพันตามสัญญา
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 มิได้บังคับว่าผู้ให้เช่าจำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่จำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์ จำเลยย่อมต้องผูกพันตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ทั้งจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์มีสิทธิให้เช่าที่ดินพิพาทในฐานะเป็นทายาทของบ. จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าต่อโจทก์ เมื่อสัญญาเช่ากำหนดเวลาไว้ 3 ปีสัญญาย่อมระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลา โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำที่ดิน เพื่อประโยชน์ในการใช้ประโยชน์ในกิจการของตน
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินจากเทศบาลเมืองโพธารามเพื่อใช้เป็นสถานที่จอดรถสำหรับกิจการโรงแรมของโจทก์ ส่วนจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของตึกแถวซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินข้างเคียงได้ติดตั้งหลังคากันสาดรุกล้ำเข้ามาในที่ดินที่โจทก์เช่า โจทก์ไม่สามารถใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวได้โดยสะดวก ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดิน แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าที่ดิน แต่การเช่าดังกล่าวก็เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงแรมของโจทก์ เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของโรงแรมอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษจากการกระทำของจำเลยทั้งสาม จึงย่อมมีอำนาจฟ้องให้ขจัดความเดือดร้อนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337 แม้ว่าจำเลยทั้งสามจะติดตั้งหลังคาตึกแถวก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่าที่ดินก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียสิทธิดังกล่าวไปไม่ โจทก์มีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องจำเลยทั้งสามให้รื้อถอนหลังคาที่ต่อเติมออกจากตึกแถวซึ่งกีดขวางการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่โจทก์เช่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าที่ดินในการขัดขวางการรบกวนการใช้ประโยชน์ในที่ดินเช่าเพื่อกิจการโรงแรม
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับเทศบาลระบุให้โจทก์ใช้ที่ดินที่เช่าเป็นสถานที่จอดรถสำหรับกิจการโรงแรมของโจทก์ ดังนั้นการที่จำเลยติดตั้งหลังคากันสาดรุกล้ำเข้ามาในที่ดินที่โจทก์เช่าทำให้โจทก์ไม่สามารถจะใช้หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินได้โดยสะดวกเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายในการใช้ที่ดิน แม้โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าที่ดินจากเทศบาลแต่การเช่าที่ดินก็เพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการโรงแรมของโจทก์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเดือดร้อนรำคาญเป็นพิเศษย่อมมีอำนาจฟ้องให้ขจัดความเดือดร้อนนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 และมาตรา 1337 แม้ว่าจำเลยติดตั้งหลังคาตึกแถวก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่าที่ดินจากเทศบาลก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียสิทธิดังกล่าวไปไม่ โจทก์จึงมีสิทธิปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือความเดือดร้อนให้สิ้นไปโดยฟ้องจำเลยให้รื้อถอนหลังคาที่ต่อเติมออกมาจากตึกแถวของจำเลยซึ่งกีดขวางการใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายทรัพย์สินของผู้เช่า: สิทธิของโจทก์ต้องอาศัยความเป็นตัวแทนเชิดที่พิสูจน์ได้
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินและตึกแถวดังกล่าวกับ อ. ในระหว่างอายุสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและตึกแถวพิพาท แต่มิได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. เป็นผู้ทำสัญญาเช่าแทน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ก็ไม่เคยมอบอำนาจให้ อ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ให้การตั้งประเด็นเรื่องตัวแทนเชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมเชิดให้ อ. ทำสัญญาเช่าแทนตนได้ ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงชอบที่จะโอนขายทรัพย์สินดังกล่าวได้ ในเมื่อโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าโทรศัพท์: ผู้เช่าต้องชำระค่าบริการค้างชำระ แม้โจทก์จะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบการงดบริการโดยเคร่งครัด
แม้องค์การโทรศัพท์โจทก์จะมีระเบียบในการแจ้งเตือนให้ผู้เช่าที่ค้างชำระค่าเช่าใช้บริการตั้งแต่ 30 วัน นำเงินมาชำระภายใน 15 วัน หากไม่ชำระตามกำหนดหนังสือแจ้งเตือนแล้วเสนอผู้จัดการเพื่องดให้บริการก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบภายในเพื่อให้พนักงานของโจทก์ปฏิบัติ ไม่ใช่ข้อที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าเช่าที่ค้างแต่อย่างใด และการที่จำเลยต้องชำระเงินแก่โจทก์ก็เป็นการชำระค่าเช่าโทรศัพท์ที่ค้างชำระ มิได้เกิดจากการที่โจทก์แจ้งเตือนหรืองดให้บริการ ประกอบกับในสัญญาเช่าระบุว่า กรณีที่ผู้เช่าสงสัยว่าจำนวนเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ไม่ถูกต้อง ผู้เช่ามีสิทธิยื่นคำร้องขอตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยผู้เช่าต้องชำระค่าบริการก่อน แต่จำเลยก็มิได้ทำการเช่นนั้น ฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการบอกเลิกสัญญาการเช่าใช้บริการโทรศัพท์ เมื่อปรากฏว่ามีการใช้โทรศัพท์หมายเลขที่จำเลยเช่า จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ ทั้งการที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าใช้บริการที่ค้างชำระมิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะนำพฤติการณ์ที่โจทก์งดให้บริการล่าช้ามาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าเสียหายของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6572/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการได้รับค่าทดแทนการเวนคืน: เจ้าของที่ดิน vs ผู้เช่า/ผู้ครอบครอง - การถมดินและค่าขาดประโยชน์
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนซึ่งได้ให้ ค. เช่าที่ดินดังกล่าวใช้เป็นสถานที่แสดง ผลิต จำหน่าย ซ่อมบำรุง และตบแต่งรถยนต์ โดยจดทะเบียนการเช่ากันก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ 1 เดือนเศษ อายุการเช่ามีกำหนด 10 ปี เริ่มตั้งแต่หลังวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประมาณ 2 เดือน โดยข้อ 8 ของสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวระบุว่า "บรรดาสิ่งปลูกสร้างหรือทรัพย์สินใด ๆ ที่ผู้เช่าสร้างลงไปในที่ดินตามสัญญานี้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่า แต่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าผู้เช่าจะต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่เช่าออกไปทั้งหมดหรือบางส่วนตามความประสงค์ของผู้ให้เช่าและปรับระดับของพื้นดินให้เรียบร้อยภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดสัญญานี้เว้นแต่ผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะให้ผู้เช่าที่ดินต่อไปหรือผู้ให้เช่ามีความประสงค์ให้สิ่งปลูกสร้างนั้นมีสภาพตามที่เป็นอยู่ก่อนสิ้นสุดสัญญา?" ค. ผู้เช่าเป็นผู้ถมดินในที่ดินดังกล่าวและเป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการถมดิน ดังนั้นก่อนสัญญาเช่าที่ดินจะสิ้นสุดลง ดินที่ถมดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ค. อยู่ตามข้อ 8 ของสัญญาเช่าที่ดินและฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนค่าถมดินนี้ โดยถือว่าเป็นเงินค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างที่รื้อถอนได้ซึ่งมีอยู่ในที่ดินที่ต้องเวนคืนในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 (5) ค. ได้รับมอบสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวจากโจทก์ในวันที่ทำสัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นวันก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ และหลังจากวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาฯ ก็ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินที่ถมนั้นอยู่ และมีสิทธิที่จะได้ใช้ประโยชน์จากการถมดินนั้น ย่อมเป็นผู้ได้รับผลกระทบและต้องเสียหายในส่วนนี้โดยตรงอันเนื่องจากการดำเนินการเวนคืนของฝ่ายจำเลย จึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ตามมาตรา 18 (5) โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายในส่วนนี้โดยตรงจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงิน ค่าทดแทนค่าถมดินในที่ดินของโจทก์
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย มุ่งหมายให้จ่ายเงินค่าทดแทน ความเสียหายให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเท่านั้น มิได้ประสงค์จะให้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายในอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อโจทก์มิได้อยู่อาศัยและไม่ได้ประกอบการค้าขายในที่ดินที่ต้องเวนคืนเนื่องจากให้ ค. เช่าไปประกอบธุรกิจการค้าเป็นสถานที่แสดงรถยนต์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนค่าขาดประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่าที่ดินที่ถูกเวนคืน
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย มุ่งหมายให้จ่ายเงินค่าทดแทน ความเสียหายให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขาย หรือประกอบการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนเท่านั้น มิได้ประสงค์จะให้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายในอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เมื่อโจทก์มิได้อยู่อาศัยและไม่ได้ประกอบการค้าขายในที่ดินที่ต้องเวนคืนเนื่องจากให้ ค. เช่าไปประกอบธุรกิจการค้าเป็นสถานที่แสดงรถยนต์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนค่าขาดประโยชน์ที่ได้จากการให้เช่าที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า: ค่าเช่าไม่เกิน 4,000 บาท เป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจำเลยทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสามในอัตราค่าเช่าเดือนละ 2,100 บาท แม้โจทก์ทั้งสามจะเรียกค่าเสียหายหลังจากครบกำหนดสัญญาเช่าเดือนละ 11,700 บาท มาด้วย ก็ไม่ใช่ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้เกิน 4,000 บาท กรณีที่จะต้องใช้เกณฑ์ "อาจให้เช่า"นั้น จะต้องเป็นกรณีฟ้องผู้อาศัยหรือผู้กระทำละเมิดอันกำหนดค่าเช่าไม่ได้ คดีนี้เป็นการฟ้องขับไล่ผู้เช่าซึ่งกำหนดค่าเช่าไว้ชัดแจ้ง เมื่อค่าเช่าไม่เกิน 4,000 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง