พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย: ผู้เสียชีวิตต้องไม่ใช่พวกปล้นทรัพย์
ความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสุดท้าย นั้นหมายถึงบุคคลอื่น มิใช่พวกปล้นด้วยกันเอง ฉะนั้นการที่จำเลยกับพวกร่วมกันมีปืนเป็นอาวุธปล้นทรัพย์ และจำเลยได้ใช้ปืนยิงเจ้าทรัพย์บาดเจ็บและกระสุนพลาดไปถูกพวกคนร้ายด้วยกันตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานปล้นโดยใช้ปืนยิงและฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถเมื่อมีผู้โหนรถและรถสวนมา ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ถือเป็นความผิดฐานประมาท
เมื่อจำเลยรู้อยู่ว่าผู้ตายกำลังโหนตัวอยู่ข้างนอกรถด้านขวาและกำลังมีรถสวนมาด้วยความเร็ว จำเลยก็มิได้ชลอลดความเร็วลงหรือหยุดรถ เพียงแต่หักรถหลบไปในระยะกระชั้นชิด ผู้ตายจึงถูกรถที่สวนมาเฉี่ยวถึงแก่ความตาย ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ ซึ่งจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เช่นนี้ เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการแทนผู้เสียหายที่เสียชีวิต: ศาลไม่อาจตั้งพี่เขยเป็นผู้จัดการแทนตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 5(2) หากไม่มีบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายนั้น แม้บุคคลตามที่ ป.ม.วิ.อาญามาตรา 5(2) ระบุไว้ จะไม่มีตัวอยู่ก็ดี พี่เขยของผู้เสียหายจะร้องขอเข้ามาขอให้ศาลสั่งให้เป็นผู้จัดการแทนผู้เสียหาย ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของผู้ทำสัญญาเดิม และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผู้ซื้อไม่สุจริต
มารดาทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขา โดยได้รับเงินค่าที่ดินนั้นไว้บางส่วน และส่งมอบที่ดินให้เขาครอบครองแล้ว ครั้นมารดาถึงแก่กรรม บุตรผู้เป็นทายาทได้ไปขอรับเงินค่าที่ดินนั้นเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ และรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าต่อหลังการเสียชีวิตของผู้เช่า และการแจ้งความประสงค์เช่าต่อตามกฎหมายควบคุมค่าเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยเข้าอยู่โดยละเมิดไม่เกี่ยวกับสัญญาเช่า จำเลยต่อสู้ว่าบิดาจำเลยเช่าตึกของโจทก์ในนามของห้างหุ้นส่วน ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว และจำเลยก็เป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเช่ายังไม่หมดอายุ และว่าจำเลยได้เข้าอยู่ในตึกเช่าร่วมกับบิดาตลอดมา เมื่อบิดาถึงแก่กรรมจำเลยก็ได้แจ้งความจำนงขอถือสัญญาเช่าต่อไปและได้แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือภายในกำหนด 30 วันแล้ว ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ดังนี้แม้ศาลจะไม่ยอมให้จำเลยสืบพยานในข้อที่ว่าห้างหุ้นส่วนเป็นผู้เช่าไม่ได้ เพราะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารก็ตาม ศาลก็ยังต้องให้สืบพยานในประเด็นข้อหลังคือจำเลยได้อาศัยอยู่ในตึกรายนี้ร่วมกับบิดา ซึ่งเป็นผู้เช่า และเมื่อบิดาตาย จำเลยได้แจ้งความจำนงเป็นหนังสือขอเช่าต่อไปกับโจทก์ภายในกำหนด 30 วัน ฯลฯจริงหรือไม่ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับอายุความละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดหลังผู้กระทำละเมิดเสียชีวิต
ในคดีละเมิด โจทก์ฟ้องกล่าวว่า เพิ่งทราบการละเมิดหลังจากผู้ทำละเมิดวายชนม์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2488 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2489 ซึ่งอยู่ภายในกำหนด 1 ปี ดังนี้ แม้จำเลยจะให้การตัดฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี ก็ตาม ศาลก็จำต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป เพราะข้อที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดวันใดยังเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องสืบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีปล้นทรัพย์ที่มีผู้เสียชีวิต พิจารณาจากบทลงโทษที่เหมาะสมกับพฤติการณ์
การปล้นและมีการค่าเจ้าทรัพย์ตาย ถ้าไม่ปรากตว่าจำเลยเปนคนค่าหรือสมคบไนการค่า ก็ลงโทสตามมาตรา 301 ตอน 3 จะลงโทสตามมาตรา 250 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีผู้เสียชีวิต แต่จำเลยไม่ได้ลงมือฆ่า
ไปปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ตาย แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปนคนลงมือฆ่ามีผิดตาม ม.301 ตอน 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังผู้ขายเสียชีวิต: อายุความมฤดกไม่ตัดสิทธิผู้ครอบครอง
ทำไม่ถูกกฎหมายผู้ขายตายก่อนโอนกรรมสิทธิ ปัญหามีอยู่ว่า ผู้ซื้อจะฟ้องขอให้โอนเกินกำหนดอายุความ 1 ปีได้หรือไม่มฤดก อายุความ วิธีพิจารณาแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9592/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อผู้เสียชีวิตออกจากบัญชีบุคคลที่ถูกกำหนดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ.2556 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้สำนักงานทบทวนรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดตามวรรคหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาส่งเรื่องให้พนักงานอัยการพิจารณายื่นคำร้องฝ่ายเดียวขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนรายชื่อผู้นั้นออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ซ. ซึ่งเป็นผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลที่ถูกกำหนดถึงแก่ความตาย สภาพบุคคลของ ซ. ย่อมสิ้นไปไม่อาจเกี่ยวข้องทางกายภาพกับกิจกรรมการก่อการร้ายหรือสนับสนุนแก่การก่อการร้ายได้ต่อไปอีก ถือได้ว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนชื่อ ซ. ออกจากรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดได้