คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้โอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้เข้าครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิเว้นแต่เปลี่ยนลักษณะการยึดถือ
แม้จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากผู้ขายและเข้าอยู่ในที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม เมื่อปรากฏว่าผู้ขายไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เป็นแต่เพียงผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในที่พิพาท จำเลยย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ไปกว่าผู้โอน จำเลยคงมีสิทธิเท่าที่ผู้ขายมีอยู่ จึงเท่ากับอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์เช่นกัน ดังนั้น จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง เว้นแต่จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 จำเลยเพิ่งโต้แย้งสิทธิโจทก์ซึ่งถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท ซึ่งนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 1 ปีโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเอาคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ แม้ใช้ถ้อยคำต่างจากที่กฎหมายบัญญัติ และผลของการบอกเลิกการโอนสิทธิโดยผู้โอน
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า 'โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง'โดยมิได้ใช้คำว่า 'โอนสิทธิเรียกร้อง' ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่บริษัทรู้เห็น & ความรับผิดของผู้โอนหุ้นค้างชำระค่าหุ้น
การโอนหุ้นทำที่บริษัทจำเลยต่อหน้ากรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจึงมีหน้าที่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นโดยไม่จำต้องให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งอีก การที่บริษัทจำเลยไม่จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนจึงเป็นความผิดของบริษัทจำเลยเองแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสาม จะบัญญัติถึงการโอนหุ้นที่ไม่ได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนว่าจะนำมาใช้ยันแก่บริษัทไม่ได้ แต่ก็หมายถึงว่าเป็นเรื่องที่ผู้โอนและผู้รับโอนโอนหุ้นกันเองโดยบริษัทมิได้รู้เห็นด้วย กฎหมายจึงให้ถือตามที่ปรากฏอยู่ในทะเบียน เมื่อการโอนหุ้นได้โอนกันที่บริษัทจำเลยกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรู้เห็นเป็นพยาน จึงมิใช่กรณีที่จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสามมาใช้ได้ ในขณะที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอน หุ้นของผู้ร้องยังมิได้ส่งใช้เงินเต็มจำนวนค่าหุ้น ผู้ร้องในฐานะผู้โอนจึงยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นที่ยังมิได้จดแจ้งผลกระทบต่อหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย ผู้โอนยังคงเป็นหนี้อยู่
ผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธหนี้ค่าหุ้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าผู้ร้องยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้(จำเลย) โดยส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือโอนหุ้นเป็นพยานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว แม้ในชั้นสอบสวนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ออกหมายนัดให้ผู้ร้องไปให้การเพื่อสอบสวนโดยระบุว่า ถ้า ไม่ไป ถือว่าไม่ติดใจให้สอบสวนก็ตามผู้ร้องก็ยังมีสิทธิยกข้ออ้างเกี่ยวกับการที่ผู้ร้องโอนหุ้นให้แก่ผู้มีชื่อ ขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลและนำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ไม่ถือว่าการนำพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นอันยุติไปตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนไว้ ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อ ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) การโอนหุ้นจึงต้องจดแจ้งการโอนทั้งชื่อ และสำนักงานผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรค 3มิฉะนั้นจะอ้างเพื่อให้ตนเองหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่ค้างชำระหุ้นมิได้ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ยังค้างชำระต่อบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยกเอาการโอนหุ้นซึ่งยังมิได้จดแจ้งการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้โอนสลักหลังเช็คไม่เป็นผู้เสียหาย การฟ้องคดีอาญาเช็คต้องเป็นของผู้ทรงเช็คที่แท้จริง
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือโจทก์ร่วมสลักหลังมอบให้น.นำไปเข้าบัญชีของน.เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินต้องถือว่าน.เป็นผู้ทรงเช็คและเป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯโจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายฉะนั้นการที่โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้น.ไปร้องทุกข์แทนการร้องทุกข์ย่อมไม่ชอบ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินทับซ้อน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิมากกว่าผู้โอนเดิม
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 การที่ ส.และศ.บุตรจำเลยขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินของตนซึ่งมีเขตติดต่อกับที่พิพาทในภายหลังทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการ กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่พิพาทแต่ ประการใด ผู้ร้องซึ่งรับโอนที่พิพาทตาม น.ส.3 จาก ส.และศ.จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาทยิ่งไปกว่าผู้โอน ผู้ร้อง จะมาใช้สิทธิ ร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดิน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จะรับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
จ. ทำหนังสือสัญญาจะซื้อที่ดินจาก ป. แล้วร้องขอแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยในนามของ ป. หลังจากนั้น จ. นำที่ดินดังกล่าวมาจัดสรรขายในนามของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ได้ลงทุนปลูกบ้านลงในที่ดินแต่ละแปลงเป็นการแสดงออกให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายทั่วไปว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทเมื่อโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมด้วยบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 และชำระเงินครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแก่โจทก์ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบกุญแจบ้านที่โจทก์ซื้อแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้รับมอบการครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อน
จำเลยที่ 2 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแทนจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้จำเลยที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทไม่เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คดีเดิมจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ได้ฟ้องขับไล่ ส. ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 3 ในคดีนี้พิพาทกันอยู่ โจทก์ในคดีนี้ได้ขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีดังกล่าวและได้ร้องขอให้นำคดีดังกล่าวมาพิจารณาพิพากษารวมกับคดีนี้ ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเพราะการร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่มีอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่ตนเข้าเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 ดังนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยที่ 1 คดีนี้หรือไม่จำเลยที่ 2 คดีนี้มีอำนาจโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 3 คดีนี้หรือไม่จึงไม่ได้รับการพิจารณาในคดีดังกล่าว ประเด็นในคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกับคดีดังกล่าว ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินพิพาทโดยจำเลยมิได้ฟ้องผู้โอนเพื่อเพิกถอนสัญญา โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่พิพาทจากเจ้าของเดิม น.ซื้อที่พิพาทมาแล้วได้ทำสัญญาจะขายให้จำเลย ต่อมา น.ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนให้โจทก์ โจทก์จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เช่นนี้ เมื่อจำเลยมิได้ฟ้อง น.ผู้โอนที่พิพาทให้โจทก์ และมิได้ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนการโอนที่พิพาท จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยให้เพิกถอนการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง น.และโจทก์ โจทก์จึงยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทตามสัญญาซื้อขายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840-1841/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับโอนที่ดินไม่ต้องรับผิดในสัญญาเช่าเดิม หากผู้โอนเป็นฝ่ายผิดสัญญา และไม่มีข้อตกลงใหม่กับผู้รับโอน
การที่จำเลยทั้งสามรับโอนกรรมสิทธิที่ดินจาก พ. ภายหลังที่ พ. ได้กระทำผิดสัญญาไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่โจทก์เช่าเป็นเวลาหลายปี โดยไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงดังกล่าวขึ้นใหม่ ระหว่างจำเลยทั้งสามกับโจทก์ จำเลยทั้งสาม จึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาข้อไม่ รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง บนที่ดินที่เช่าต่อโจทก์ และจำเลยทั้งสามผู้รับโอนกรรมสิทธิที่ดินที่ให้เช่าหาจำต้องรับเอาความรับผิดในความเสียหายต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่หา พ. ผู้รับโอนได้มีอยู่ต่อโจทก์ เป็นของจำเลยด้วยตาม มาตรา 569 วรรคสองแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะเหตุความรับผิดในความเสียหายดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาเช่า
of 4