พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกัน ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้สินค้าต่างจำพวก
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่านิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLEของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38 รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอดในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า "ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้" ซึ่งรับกับมาตรา 41(1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานานก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าวแม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41(1) การที่โนตารีปับลิก รับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิก ดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้ว ศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิจากผู้ใช้ก่อน & การรับรองเอกสารจากต่างประเทศ
บทบัญญัติมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช2474 บัญญัติไว้ตอนต้นว่า 'ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้' ซึ่งรับกับมาตรา 41(1) ที่ให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วได้ หากผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ ฉะนั้นเมื่อจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทที่แท้จริงและได้ส่งสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าพิพาทเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเป็นเวลานาน ก่อนที่โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทดังกล่าว แม้จำเลยจะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยจำเลยก็มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์ได้ตามมาตรา 41(1)
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.
การที่โนตารีปับลิกรับรองการมีอยู่ของหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทของจำเลยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้องไว้แล้วนั้น เทียบเคียงได้กับกรณีการเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำในเมืองต่างประเทศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 วรรคสาม คือไม่จำต้องมีเจ้าพนักงานสถานกงสุลไทยหรือสถานทูตไทยรับรองอีกชั้นว่าผู้รับรองเอกสารดังกล่าวเป็นโนตารีปับลิกจริง ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลที่ลงลายมือชื่อรับรองในฐานะโนตารีปับลิกดังกล่าว ทั้งโจทก์ก็มิได้นำสืบหักล้างหรือโต้แย้งอย่างใดแล้วศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้ไม่ใช่เจ้าของ หากผู้ขอจดทะเบียนรู้ถึงสิทธิและกระทำไม่สุจริต
โจทก์สั่งสินค้าจากบริษัทต่างประเทศซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปตัวอักษรโรมันคำ "พีคิว" เข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523ขณะนั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ ยังไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยรู้ถึงสิทธิของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีหา กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ไม่ เพราะโจทก์ฟ้องคดีตามสิทธิและในนามของตนเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า แม้ไม่ใช่เจ้าของสิทธิ
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปตัวอักษรโรมันคำ 'พีคิว'ซึ่งเป็นของบริษัทในสหรัฐอเมริกากับสินค้าน้ำมันเครื่องและผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ขณะนั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ จำเลยยังไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเลย เช่นนี้ ในระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าพิพาทไปยื่นขอจดทะเบียนโดยรู้ถึงสิทธิของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่บริษัทต่างประเทศผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้หาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ไม่ เพราะโจทก์ฟ้องคดีตามสิทธิและในนามของตนเอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง แม้จะจดทะเบียนก่อน
โจทก์เป็นผู้คิดเครื่องหมายการค้าขึ้นใช้กับสินค้าของตนได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศไว้หลายประเทศ ทั้งได้โฆษณาและขายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวก่อนจำเลยประมาณ 20 ปี จำเลยจึงไม่อาจอ้างความสุจริตและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยก่อนโจทก์เพื่อแสดงว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)
เครื่องหมายการค้า DYNAMO กับ DYNAMIC นั้น เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันสำเนียงสองคำหน้าเหมือนกันและตัวอักษรโรมัน 5 ตัวหน้าเหมือนกัน อักษรตัวสุดท้ายก็คล้ายคลึงกัน ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเกือบเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้. โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยมิให้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DYNAMIC ได้
เครื่องหมายการค้า DYNAMO กับ DYNAMIC นั้น เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันสำเนียงสองคำหน้าเหมือนกันและตัวอักษรโรมัน 5 ตัวหน้าเหมือนกัน อักษรตัวสุดท้ายก็คล้ายคลึงกัน ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเกือบเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้. โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยมิให้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DYNAMIC ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิจารณาจากผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อนและยื่นคำขอจดทะเบียนก่อน
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษและห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนย่อมมีสิทธิมากกว่า แม้ไม่ได้จดทะเบียน แต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
โจทก์ผลิตเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้าว่า "VETO"(วีโต้)ส่งออกจำหน่ายทั่วโลก และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ.2502 เมื่อ พ.ศ.2507 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "VETO"สำหรับจำพวกสินค้า 50 ทั้งจำพวกกองทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้แล้ว แต่เมื่อ 2-3 ปี มานี้ จำเลยเคยสั่งซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าวีโต้ของโจทก์ไปจำหน่าย หาได้เคยผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เครื่องหมายวีโต้ขึ้นจำหน่ายไม่ ที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้นั้นก็เพื่อจะใช้กับสินค้าเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยจะผลิตขึ้นในโอกาสต่อไป โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า "VETO" ดีกว่าจำเลย จึงมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนเครื่องหมายการค้าคำว่า"VETO" ซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้แล้วและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามาตรา 41(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 355/2504) แต่โจทก์มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ล่วงละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามมาตรา 29 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิพาทระหว่างผู้ใช้ก่อนและผู้มีสิทธิดีกว่าตามมาตรา 41 พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยจดทะเบียนไว้ก่อน แต่โจทก์สามารถแสดงได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย เป็นกรณีพิพาทกันว่า ระหว่างโจทก์จำเลยใครจะมีสิทธิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตน กรณีต้องด้วยมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรานี้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 29 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5452/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้จดทะเบียนภายหลัง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ซึ่งเคยส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาจำหน่ายในประเทศไทยอันเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ดีกว่าจำเลย ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 และการที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเป็นการใช้สิทธิตามปกติ มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
อนึ่ง บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โดยไม่จำต้องให้จำเลยไปดำเนินการเพิกถอนคำขอจดทะเบียนหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแต่อย่างใด ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาบังคับให้จำเลยเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "JEPO" ตามคำขอเลขที่ 575049 ทะเบียนเลขที่ ค 267771 หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว