คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผ่อนชำระ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็ค ไม่ถือเป็นการยอมความ ไม่ระงับสิทธินำคดีอาญา
ข้อตกลงที่โจทก์ร่วมยอมลดหนี้ตามเช็คทั้งสองฉบับให้แก่จำเลย และยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จในกำหนดเวลา 12 เดือน พร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อผ่อนชำระเสร็จสิ้นแล้วโจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์คดีนี้ให้จำเลยกับพวก ข้อตกลงนี้โจทก์ร่วมไม่ได้ยินยอมถอนคำร้องทุกข์ให้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไข เป็นการให้โอกาสแก่จำเลยผ่อนชำระหนี้โดยยอมให้เลื่อนการพิจารณาคดีไป ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นการยอมความ จึงไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหลังครบกำหนดเวลาไม่สละสิทธิ
กำหนดเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดเวลาบังคับคดี ไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสียภาษีการค้าสำหรับสัญญาจะขายวัสดุก่อสร้างที่ผ่อนชำระก่อน 1 ม.ค. 2535 และอำนาจวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 นั้น เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการการขายสินค้าหรือการให้บริการได้รับสิทธิชำระภาษีการค้าต่อไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาจะขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า การให้เช่าเครื่องจักร เครื่องมือ หรือเครื่องกลที่ใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ ที่ได้มีการทำสัญญาจะขาย สัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าและมีการผ่อนชำระหรือชำระค่าเช่าตามสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งวรรคห้าของมาตรา 26 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" นั้น หมายความว่า บทบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ในชั้นที่ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปอีกว่า กรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ดังนั้น ที่กฎหมายบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้เป็นที่สุด จึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้น เพื่อที่จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามมาตราอื่นต่อไป หาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่ หากจะแปลตามมาตรา 26 วรรคห้า ว่า คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุด ไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีก แม้คำวินิจฉัยนั้นไม่มีกฎหมายให้อำนาจหรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอก็จะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียว ทั้งจะเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ดังนั้น เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าโจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ เช่นเหล็ก หิน ปูน ทราย ซีเมนต์ ไม้ อิฐ กระเบื้อง พรม สุขภัณฑ์ ท่อ สายไฟฟ้า สีที่ใช้ในการตกแต่งห้องชุด ซึ่งแยกต่างหากจากโครงสร้างอาคาร โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกค้า จำเลยหาได้ให้การปฏิเสธว่า เหล็ก หิน ทราย ซีเมนต์ ไม้และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้ามิใช่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งอาคารชุดแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เหล็ก หิน ทราย ซีเมนต์ ไม้และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายตามฟ้องเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งห้องชุดอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เหล็ก หิน ทราย ซีเมนต์ ไม้ อิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้า มิได้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด แต่เป็นวัสดุก่อสร้างตัวอาคารโดยตรงนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากร ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาจะซื้อจะขายมีได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์แต่ทรัพย์สินที่โจทก์ขายแก่ลูกค้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจจะเป็นสัญญาจะซื้อขายได้นั้น เกี่ยวกับการประเมินภาษีรายนี้ นอกจากจะมีคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรยังได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้านั้นว่า "กรณีเป็นสัญญาจะขายหากมีการผ่อนชำระเงินตามสัญญา โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง บริษัท (โจทก์) ก็ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้า หรือยกเว้นภาษีการค้าต่อไปตามมาตรา 26" คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา26 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 โดยวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้าที่ซื้อห้องชุดโครงการ ส.และโครงการก.เป็นสัญญาจะขายไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ไม่ชอบแต่อย่างใด ทั้งไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอให้ยกเลิกเพิกถอนด้วยคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่า กรณีเป็นสัญญาจะขายจึงถึงที่สุด ตามมาตรา26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534จำเลยจึงโต้เถียงว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์มิใช่สัญญาจะขายอีกไม่ได้
การรับเงินค่างวดจากลูกค้าผู้ทำสัญญาซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด ซึ่งมีการผ่อนชำระตามสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 นั้น เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่จะได้ชำระเงินในคราวเดียว โจทก์จึงให้บริษัท ส. และบริษัท ก. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการรับเงินจากลูกค้าแทน ตามตัวอย่างใบเสร็จรับเงินค่างวดจากลูกค้าของบริษัท ส. ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 ออกให้แก่ ว.ระบุรายละเอียดว่าเป็นการชำระค่างวดที่ 12 ห้อง 2015 จำนวน 20,000 บาทแยกเป็น รับชำระค่างวดบริษัท ส.จำนวน 9,000 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน 10,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัท ย.จำนวน 1,000บาท ส่วนใบเสร็จรับเงินของบริษัท ก.ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ออกให้แก่ ร.ระบุรายละเอียดว่าชำระค่างวดที่ 6 ห้อง 1810 จำนวน 18,000 บาท แยกเป็นรับชำระค่างวดบริษัท ก.จำนวน 9,200 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน8,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัท ย.จำนวน 800 บาท แสดงว่าลูกค้าซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์อันเป็นสัญญาจะขายกับโจทก์ได้ผ่อนชำระเงินตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยชำระแก่บริษัท ส.หรือบริษัท ก.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์
การรับชำระเงินที่ลูกค้าผ่อนชำระตามสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งบริษัท ส. และบริษัท ก.เป็นตัวแทนรับชำระเงินจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
วิธีการใช้เกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่าย ที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 65 เป็นข้อกฎหมาย คู่ความจึงไม่ต้องนำสืบ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการการขายสินค้าซึ่งได้ทำสัญญาจะขายและลูกค้าได้ผ่อนชำระตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิเพื่อเสียภาษีการค้าต่อไปภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 1 มกราคม2535 โจทก์ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งป.รัษฎากร ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเสียภาษีการค้าสำหรับสัญญาจะขายที่ลูกค้าผ่อนชำระก่อน 1 มกราคม 2535
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 นั้น เป็นเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการที่ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการการขายสินค้าหรือการให้บริการให้บริการได้รับสิทธิชำระภาษีการค้าต่อไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาจะขายหรือให้เช่าซื้อสินค้า การให้เช่าเครื่องจักร เครื่องมือ หรือเครื่องกลที่ใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ ที่ได้มีการทำสัญญาจะขาย สัญญาเช่าซื้อสัญญาเช่าและมีการผ่อนชำระหรือชำระค่าเช่าตามสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งวรรคห้าของมาตรา 26 บัญญัติว่า"ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" นั้นหมายความว่า บทบัญญัติดังกล่าว ให้อำนาจแก่อธิบดีกรมสรรพากรที่จะวินิจฉัยปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ในชั้นที่ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปอีกว่า กรณีเข้าหลักเกณฑ์และถูกต้องตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ดังนั้นที่กฎหมายบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรานี้เป็นที่สุด จึงย่อมต้องหมายความว่าเป็นที่สุดในขั้นตอนของการปฏิบัติงานในชั้นนี้เท่านั้น เพื่อที่จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามมาตราอื่นต่อไป หาได้ทำให้ขั้นตอนอื่นที่กฎหมายกำหนดเป็นอันยุติไปด้วยไม่ หากจะแปลตามมาตรา 26 วรรคห้า ว่า คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรกรณีนี้เป็นที่สุด ไม่สามารถยกขึ้นพิจารณาทบทวนได้อีก แม้คำวินิจฉัยนั้นไม่มีกฎหมายให้อำนาจหรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอก็จะเป็นการให้อำนาจเด็ดขาดแก่อธิบดีกรมสรรพากรแต่เพียงผู้เดียว ทั้งจะเป็นการทำลายระบบการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรที่กฎหมายบัญญัติไว้ด้วย ดังนั้น เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่าโจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ เช่นเหล็ก หิน ปูน ทราบ ซีเมนต์ ไม้ อิฐ กระเบื้อง พรมสุขภัณฑ์ท่อ สายไฟฟ้า สี ที่ใช้ในการตกแต่งห้องชัด ซึ่งแยกต่างหากจากโครงสร้างอาคาร โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับลูกค้าจำเลยหาได้ให้การปฏิเสธว่า เหล็ก หิน ทราบ ซีเมนต์ไม้ และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้ามิใช่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งอาคารชุดแต่อย่างใดไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า เหล็ก หิน ทราบ ซีเมนต์ไม้ และอิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายตามฟ้องเป็นวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งห้องชุดอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่า เหล็ก หินทราบ ซีเมนต์ ไม้ อิฐ ที่โจทก์ทำสัญญาจะขายให้แก่ลูกค้ามิได้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด แต่เป็นวัสดุก่อสร้างตัวอาคารโดยตรงนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากร ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญาจะซื้อขายมิได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์แต่ทรัพย์สินที่โจทก์ขายแก่ลูกค้าเป็นสังหาริมทรัพย์ จึงไม่อาจจะเป็นสัญญาจะซื้อขายได้นั้น เกี่ยวกับการประเมินภาษีรายนี้นอกจากจะมีคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าต่อไปแล้ว อธิบดีกรมสรรพากรยังได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้านั้นว่า "กรณีเป็นสัญญาจะขายหากมีการผ่อนชำระเงินตามสัญญา โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง บริษัท (โจทก์) ก็ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้า หรือยกเว้นภาษีการค้าต่อไปตามมาตรา 26"คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับปัญหาในทางปฏิบัติตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ. 2534 โดยวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์ที่โจทก์ทำกับลูกค้าที่ซื้อห้องชุดโครงการ ส. และโครงการ ก.เป็นสัญญาจะขายไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้กล่าวอ้างว่าคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรฉบับนี้ไม่ชอบแต่อย่างใดทั้งไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอให้ยกเลิกเพิกถอนด้วยคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรที่ว่า กรณีเป็นสัญญาจะขายจึงถึงที่สุดตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 จำเลยจึงโต้เถียงว่าสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์มิใช่สัญญาจะขายอีกไม่ได้ การรับเงินค่างวดจากลูกค้าผู้ทำสัญญาซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องชุด ซึ่งมีการผ่อนชำระตามสัญญาก่อนวันที่1 มกราคม 2535 นั้น เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้าที่จะได้ชำระเงินในคราวเดียว โจทก์จึงให้บริษัทส. และบริษัทก. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการรับเงินจากลูกค้าแทน ตามตัวอย่างใบเสร็จรับเงินค่างวดจากลูกค้าของบริษัทส.ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2534ออกให้แก่ ว. ระบุรายละเอียดว่าเป็นการชำระค่างวดที่ 12 ห้อง2015 จำนวน 20,000 บาท แยกเป็น รับชำระค่างวดบริษัทส. จำนวน 9,000 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน 10,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัทย.จำนวน 1,000 บาท ส่วนใบเสร็จรับเงินของบริษัทก.ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2534 ออกให้แก่ ร. ระบุรายละเอียดว่าชำระค่างวดที่ 6 ห้อง 1810 จำนวน 18,000 บาท แยกเป็นรับชำระค่างวดบริษัท ก. จำนวน 9,200 บาท รับชำระค่างวดแทนบริษัทโจทก์จำนวน 8,000 บาท และรับชำระค่างวดแทนบริษัทย. จำนวน 800 บาท แสดงว่าลูกค้าซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายวัสดุอุปกรณ์อันเป็นสัญญาจะขายกับโจทก์ได้ผ่อนชำระเงินตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยชำระแก่บริษัทส.หรือบริษัทก.ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ การรับชำระหนี้ที่ลูกค้าผ่อนชำระตามสัญญาจะซื้อขายนั้นกฎหมายมิได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น การที่โจทก์ตั้งบริษัทส. และบริษัทก.เป็นตัวแทนรับชำระเงินจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ วิธีการใช้เกณฑ์สิทธิเพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 645 เป็นข้อกฎหมายคู่ความจึงไม่ต้องนำสืบ โจทก์เป็นผู้ประกอบการขายสินค้าซึ่งได้ทำสัญญาจะขายและลูกค้าได้ผ่อนชำระตามสัญญานั้นแล้วก่อนวันที่ 1 มกราคม 2535เมื่อโจทก์ยื่นคำขอรับสิทธิเพื่อเสียภาษีการค้าต่อไปภายใน30 วัน นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โจทก์ย่อมได้รับสิทธิเสียภาษีการค้าตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรก่อนการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ตาม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายสินค้า: การผ่อนชำระไม่สะดุดอายุความ
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไข การชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ 30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้นจำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาท ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเองส่วนค่าสินค้าจำนวน 66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปีนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน vs. การผ่อนชำระหนี้สัญญาซื้อขาย
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายแม่พันธุ์โคนมจากโจทก์ โดยได้รับแม่พันธุ์โคนมไปถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และนับแต่ทำสัญญา จำเลยชำระค่าแม่พันธุ์โคนมให้แก่โจทก์เพียง 2 งวดเท่านั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่คืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ หากไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคารวม57,800 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลย หากคืนไม่ได้หรือไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคาตามฟ้อง ซึ่งไม่มีอายุความ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/33 (2) คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการผ่อนชำระสินค้าต่างประเทศเป็นเงินได้พึงประเมินและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในปี 2534 และ 2535 โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัท น.ประเทศนอร์เวย์ บริษัท ฮ.ประเทศสวีเดน บริษัท ฟ.เมืองฮ่องกง และบริษัท อ.ประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง โดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24กุมภาพันธ์ 2534 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2535 การนำเข้าสินค้าดังกล่าว โจทก์จะชำระราคาสินค้าภายใน 270 วัน และ 180 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้าพร้อมกับชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคา ตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าโจทก์ชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ถึง 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 6,648,075.74บาท และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นเงิน112,548,706.04 บาท เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทผู้ขายได้รับจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ซึ่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 29) พ.ศ.2534 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการผ่อนปรนการชำระราคาสินค้านั้น แม้ดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ขาย มิได้เกิดจากพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะชำระราคาทันทีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามข้อตกลง แต่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเช่นว่านี้โจทก์ยินดีรับสิทธิการผ่อนปรนการชำระราคาโดยเสียดอกเบี้ย ดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากรเช่นกัน
โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฏากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผ่อนชำระ - สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 5 ปีนับจากวันผิดนัด
การที่ บ.ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาท งวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน47,450 บาท แล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มกราคม2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ.ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/33 (2)
โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 9มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้ว และที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับ บ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินและการผ่อนชำระงวด การสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ของสัญญากู้ยืมลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายนั้นถือได้ว่าบ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยที่1ที่2และส. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ. ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส.ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย การที่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและการที่บ. ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ฉะนั้นการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ. ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
of 11