พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้มีการฝากเงินไว้กับผู้ให้กู้ ผู้กู้ต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยต้องการตั๋วสัญญาใช้เงินมาวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์จึงได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โจทก์ได้ออกเช็คตามจำนวนเงินที่กู้แก่จำเลยแล้ว จำเลยมิได้นำเช็คไปรับเงินจากธนาคาร แต่สลักหลังให้โจทก์เพื่อฝากเงินไว้แก่โจทก์ โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ประกันในการเล่นหุ้นต่อโจทก์ดังนี้ การที่จำเลยกู้เงินจากโจทก์แล้วฝากเงินไว้แก่โจทก์ แม้จะมีผลทำให้จำเลยเป็นทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้โจทก์ในขณะเดียวกันก็เป็นความสมัครใจของจำเลยเองวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายเพื่อเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อสัญญากู้ที่จำเลยทำขึ้นกับโจทก์เป็นนิติกรรมที่ทำขึ้นโดยตั้งใจจะให้มีผลผูกพัน มิได้มีการอำพรางนิติกรรมอื่นใดจึงมิใช่นิติกรรมอำพราง จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ จะอ้างว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาหมดอายุ: สิทธิของธนาคารจะสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยไม่ได้เบิกเงินหรือนำเงินฝากเพิ่มเติม
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารโจทก์ในวงเงิน 150,000 บาท โดยจำเลยยอมให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จะชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน เดือนใดค้างชำระยอมให้โจทก์ทบต้นเข้ากับจำนวนเงินกู้ที่ค้างชำระแล้วคิดดอกเบี้ยในเดือนต่อไปได้ตามสัญญา เมื่อพ้นกำหนดชำระเงินต้นในวันที่ 5 มีนาคม 2520 จำเลยไม่ยอมชำระต้นเงินและดอกเบี้ย โจทก์ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้และบังคับจำนองรวมเป็นเงิน 210,189.07 บาท และเมื่อคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญาโดยไม่ทบต้นนับแต่วันที่จำเลยได้รับคำบอกกล่าวให้ชำระหนี้ถึงวันฟ้องรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 232,189.69 บาท จึงขอให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวจำเลยให้การปฏิเสธว่าจำเลยไม่ได้ค้างชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินตามฟ้องต่อโจทก์ ดังนี้แสดงว่าจำเลยเข้าใจในข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวนั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป
หลังจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับธนาคารโจทก์ได้สิ้นสุดลง จำเลยไม่ได้นำเงินเข้าฝากหรือเบิกเงินจากธนาคารโจทก์ สิทธิของธนาคารโจทก์ในอันที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำนวนเงินที่ค้างชำระตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารจึงเป็นอันสิ้นสุดลง ธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาฝากเงินกระแสรายวันและการปฏิเสธการจ่ายเช็คหลังปิดบัญชี ธนาคารไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฝากเงินกระแสรายวัน มีข้อสัญญาว่าถ้าออกเช็คไม่มีเงินเกิน 3 ครั้ง ธนาคารจะต้องปิดบัญชีตามระเบียบเป็นการแสดงเจตนาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าแล้ว เมื่อธนาคารสั่งปิดบัญชีสัญญาเป็นอันเลิกกัน โจทก์นำเงินเข้าฝากภายหลังไม่ทำให้เกิดสัญญาขึ้นใหม่ธนาคารไม่ต้องจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์ออกภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบียดบังทรัพย์สินที่ฝากไว้: ข้อพิพาทเรื่องการรับฝากเงินและการปฏิเสธความรับผิด
ฟ้องว่าฝากธนบัตรฉบับละ 100 บาท ไว้กับจำเลย 100 ฉบับเป็นเงิน 10,000 บาท ให้จำเลยเก็บรักษาไว้ จำเลยเบียดบังเอาเป็นของจำเลยโดยทุจริต ต่อมาอีก 4 ปี จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากเงินนั้น ฯลฯดังนี้ เป็นฟ้องที่ศาลต้องรับฟังพยานต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงินรองรับ การชำระหนี้ด้วยการฝากเงินไม่ใช่การชำระตามเช็ค
จำเลยออกเช็คชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลหลักสอง (ธนาคารศรีนคร จำกัด สาขาวงเวียนใหญ่ปฏิเสธการจ่ายเงิน) พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลหลักสองมีอำนาจสอบสวนได้
จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากบัญชีจำเลยปิดแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปฝากกับธนาคาร ธนาคารรับฝากเงินจำเลยไว้และออกใบรับให้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีจำเลย การฝากเงินของจำเลยดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำเงินตามเช็คไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมไม่ต้องด้วยมาตรา 5 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ข้อ 1
จำเลยออกเช็คให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ โจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากบัญชีจำเลยปิดแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้ต่อมาจำเลยจะนำเงินไปฝากกับธนาคาร ธนาคารรับฝากเงินจำเลยไว้และออกใบรับให้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้นำเงินเข้าบัญชีจำเลย การฝากเงินของจำเลยดังนี้จึงไม่ใช่กรณีที่จำเลยนำเงินตามเช็คไปชำระหนี้แก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงินตามเช็คให้แก่โจทก์ร่วมไม่ต้องด้วยมาตรา 5 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 196 ข้อ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินและใช้เงินส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาทุจริต ถือเป็นผิดสัญญา ไม่ใช่ยักยอกทรัพย์
ผู้เสียหายฝากเงินไว้กับจำเลย ต่อมาขอคืน จำเลยคืนให้ไม่ได้อ้างว่าเอาไปใช้หมดแล้ว หลังจากนั้นผู้เสียหายไปทวงอีกหลายครั้งจำเลยขอผัดผ่อน และไม่เคยปฏิเสธ ว่าไม่ได้รับฝากเงิน จนกระทั่งผู้เสียหายไปแจ้งความ พนักงานสอบสวน เรียกไปสอบถาม จำเลยจึงปฏิเสธว่าไม่เคยรับฝากเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ แสดงว่าขณะที่จำเลยเอาเงินไปใช้หมด. จำเลยไม่มีเจตนาทุจริตยักยอกเงินนั้น จึงเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การที่จำเลยปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนในตอนหลัง ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดฐานทุจริตยักยอกเงินที่รับฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากเงินแล้วนำไปใช้โดยไม่มีเจตนาทุจริต ถือเป็นผิดสัญญา ไม่ใช่ยักยอก
ผู้เสียหายฝากเงินไว้กับจำเลย ต่อมาขอคืน จำเลยคืนให้ไม่ได้อ้างว่าเอาไปใช้หมดแล้ว หลังจากนั้นผู้เสียหายไปทวงอีกหลายครั้ง จำเลยขอผัดผ่อน และไม่เคยปฏิเสธ ว่าไม่ได้รับฝากเงิน จนกระทั่งผู้เสียหายไปแจ้งความ พนักงานสอบสวน เรียกไปสอบถาม จำเลยจึงปฏิเสธว่าไม่เคยรับฝากเงินจากผู้เสียหาย ดังนี้ แสดงว่าขณะที่จำเลยเอาเงินไปใช้หมด. จำเลยไม่มีเจตนาทุจริตยักยอกเงินนั้น จึงเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง การที่จำเลยปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนในตอนหลัง ไม่ทำให้จำเลยมีความผิดฐานทุจริตยักยอกเงินที่รับฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการฝากเงิน: ศาลพิจารณาตัวเลขและตัวหนังสือในเอกสารเพื่อพิสูจน์จำนวนเงินที่แท้จริง
ในกรณีที่ตัวเลขกับตัวหนังสือในเอกสารแตกต่างกันถ้าเป็นเรื่องที่ศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้จึงให้รับฟังความจริงตามตัวอักษรเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อาจนำสืบความจริงให้ปรากฏแก่ศาลได้จะยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความขัดแย้งตัวเลข-ตัวอักษรในเอกสารฝากเงิน ศาลพิจารณาหลักฐานเพื่อพิสูจน์เจตนาที่แท้จริงของผู้ฝาก
ในกรณีที่ตัวเลขกับตัวหนังสือในเอกสารแตกต่างกัน ถ้าเป็นเรื่องที่ศาลมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ จึงให้รับฟังความจริงตามตัวอักษรเป็นประมาณ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 แต่ถ้าเป็นเรื่องที่อาจนำสืบความจริงให้ปรากฏแก่ศาลได้ จะยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝากเงินกับผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต สิทธิการเรียกร้องเงินฝากของผู้ฝากที่ไม่ร่วมรู้
การประกอบกิจการรับฝากเงินซึ่งต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม โดยให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นดอกเบี้ย และใช้ประโยชน์เงินฝากนั้นในการให้พ่อค้าและผู้รู้จักชอบพอกู้ยืมโดยเรียกค่านายหน้าค่ารางวัล และดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมมีจำนวนสูงกว่าดอกเบี้ยที่จะจ่ายแก่ผู้ฝาก หากกระทำเป็นปกติธุระย่อมเป็นการประกอบการธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การใดอันมีวัตถุที่ประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
การใดอันมีวัตถุที่ประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมทำโดยบุคคลสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมรู้กัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่สัญญาแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่
แม้ผู้รับฝากเงินจะประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ในการกระทำของผู้รับฝากซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้
คดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2511 ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลหลังจากใช้บังคับพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว ค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์ฎีกาก็ยังคงเสียตามอัตราเดิมที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483