พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4748/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดล่าช้า: ผู้มีส่วนได้เสียต้องยื่นคำร้องภายใน 8 วันนับจากวันที่ทราบการฝ่าฝืน
เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2538 และผู้ร้องก็ทราบว่ามีการขายทอดตลาดทรัพย์สินพิพาทในวันดังกล่าวแต่ไม่ได้มาคัดค้านเพราะป่วยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุหลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ผู้ร้องได้ไปตรวจสอบที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ประจำศาล จึงทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคา ที่ประเมินไว้ ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งยกเลิกการบังคับคดีที่ผู้ร้องเห็นว่าไม่ถูกต้องได้ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2538ซึ่งเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีต่อศาล ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2538 ซึ่งล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องทราบการฝ่าฝืนนั้นแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง แม้ระยะเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง นั้นศาลมีอำนาจขยายให้ได้ก็ตาม แต่จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามมาตรา 23 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอีกทั้งกรณีตามคำร้องก็ไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยจึงไม่อาจยื่นคำร้องเกินกำหนดระยะเวลา 8 วันได้ ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าเชื่อตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ว่ายื่นคำร้องเกินกำหนดได้ก็เป็นข้ออ้างที่ปราศจากเหตุผลให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับรายวันจากการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีควบคุมการก่อสร้างผิดเงื่อนไข
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 31 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2536ดังนั้น นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว วรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา 31 คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร จึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีฝ่าฝืนวิธีการก่อสร้างตามใบอนุญาต
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ที่แก้ไขแล้วมาตรา31นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแล้วยังต้องปรับรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามมาตรา65วรรคสองอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: ต้องลงโทษทั้งตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น นอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วย ทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง เพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคสอง ด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดค่าชดเชยและค่าสินจ้าง
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย คำสั่งของจำเลย เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิที่จะบอกเลิกการจ้างต่อโจทก์ได้ซึ่งจำเลยก็ได้บอกกล่าวต่อโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเงินค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่อโจทก์นั้น คดีนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือนเรื่องใด และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าหลังจากมีหนังสือเตือนแล้ว โจทก์ยังได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนอีก ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว และฟังไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ ดังนี้เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยคงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โดยไม่ได้คัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนแล้ว และโจทก์ไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์อย่างไรหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5959/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงเวลาทำงานไม่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง หรือทุจริตต่อหน้าที่ หากนายจ้างไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ลูกจ้างจะต้องมาทำงานระหว่าง 8 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา การที่ลูกจ้างลงเวลาทำงานไว้ว่าได้มาทำงานและเลิกงานตามเวลาดังกล่าว โดยมีลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมการทำงานลงชื่อกำกับความถูกต้องในช่องหมายเหตุทุกวัน แสดงว่านายจ้างไม่ได้ถือว่าการลงเวลามาทำงานและเลิกงานเป็นสาระสำคัญ แม้จะลงเวลาไม่ตรงกับความเป็นจริง ผู้ควบคุมการทำงานลูกจ้างก็ลงชื่อกำกับความถูกต้องให้ ไม่ปรากฎว่า ลูกจ้างถูกหักค่าจ้างจากการมาทำงานสายและเลิกงานก่อนเวลา จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง และการกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือจำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง,67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่งรวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่าความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1(ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา-ตราดแขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1(ข)และ(ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้นระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม22 วัน และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท.9009/5082 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16สิงหาคม 2534 ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไรเชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นเชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน หรือก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
การร้องคัดค้านการบังคับคดีจะต้องร้องคัดค้านภายในแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน แต่ต้องกระทำเสียก่อนที่การบังคับคดีได้เสร็จลงหากการบังคับคดีได้เสร็จลงไปแล้วแม้เพิ่งทราบการฝ่าฝืนก็ร้องคัดค้านอีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่าหมายบังคับคดีให้ยึดทรัพย์จำเลยที่ 1แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 2 โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีนั่นเอง กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2แล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้เองตั้งแต่วันที่5 มีนาคม 2531 โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน จนกระทั่งมีการขายทอดตลาดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้โจทก์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2535 ซึ่งถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องพิสูจน์การฝ่าฝืนของเจ้าพนักงานบังคับคดี การมีผู้สู้ราค้ารายเดียวไม่ถือเป็นเหตุเพิกถอน
การที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามคำร้องของจำเลยทั้งสามอ้างว่า การขายทอดตลาดมีโจทก์เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว ส่วนบุคคลอื่นเป็นบุคคลที่โจทก์จัดหามาเข้าสู้ราคาพอเป็นพิธีนั้นถึงหากจะฟังว่าเป็นความจริง ก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี และแม้จะมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว ก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายจึงจะทำการขายทอดตลาดทรัพย์ได้ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากฝ่าฝืนวัตถุประสงค์และไม่โปร่งใสทางการเงิน
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอนาถา ผู้คัดค้านตั้งมาประมาณ 6 ปี มีทรัพย์สินประมาณ20 ล้านบาท เคยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการกุศลต่าง ๆ รวมทั้งสร้างอาคารเรียนแต่ผู้คัดค้านทำบัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีเพียงปีเดียวแล้วไม่เคยทำอีกเลย และอ้างว่าได้ดำเนินการโดยสุจริตตลอดมา เห็นว่า บัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีของผู้คัดค้านเป็นวิธีการหนึ่งหรือมาตรการหนึ่งที่จะตรวจสอบถึงการดำเนินการและรายได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายและตราสารในการตั้งมูลนิธิหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านมิได้กระทำเช่นนี้แล้วจะตรวจสอบและทราบได้อย่างไร ดังนั้นการกระทำและพฤติการณ์การหารายได้ของผู้คัดค้านที่ทำการเรี่ยไรโดยขายดอกไม้และภาพถ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 จึงเป็นการหาทรัพย์สินโดยนอกเหนือจากบทบัญญัติ ข้อ 6 ในหมวด 3และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ข้อ 45 ของตราสารของผู้คัดค้าน กรณีต้องด้วยมาตรา 93 (3)แห่ง ป.พ.พ. เดิม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เลิกมูลนิธิผู้คัดค้านได้