พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหลังได้รับการตักเตือนแล้ว
หนังสือแจ้งการลงโทษมีข้อความว่า "ในวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ได้กระทำความผิดคือได้ขาดงานโดยพลการ มิได้บอกกล่าวแต่อย่างใด และทางบริษัทได้เคยตักเตือนไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2531 บริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 17-23 มกราคม 2532 เพื่อมิให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกจ้างอื่นต่อไป หากกระทำผิดซ้ำอีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" ข้อความที่ว่า "หากกระทำผิดซ้ำ อีกบริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก" นั้น มีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วยในตัว
ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
ครั้งแรกโจทก์ขาดงานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2531 จำเลยได้ออกหนังสือตักเตือนโจทก์ ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2532 โจทก์ขาดงานอีกจำเลยมีหนังสือแจ้งการลงโทษถึงโจทก์ให้ลงโทษโจทก์ด้วยการพักงานเป็นเวลา 7 วัน และระบุด้วยว่าหากกระทำผิดซ้ำอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษในสถานหนัก ซึ่งมีผลเป็นคำตักเตือนอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ขาดงานอีกในวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 ซึ่ง ระยะเวลามิได้ล่วงพ้นจากการขาดงานครั้งที่สองมากนัก กรณีถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกายและฝ่าฝืนข้อบังคับ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
การกระทำของลูกจ้างเป็นความผิดต่อข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างหรือไม่ ย่อมพิจารณาจากข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างเป็นเบื้องต้น และเมื่อได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นแล้วการกระทำนั้นจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อ47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานประกอบอีกชั้นหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีลูกจ้างสอนพิเศษนอกเวลางาน แม้ฝ่าฝืนข้อบังคับแต่ไม่ร้ายแรง
การที่โจทก์ออกจากสำนักงานไปสอนหนังสือในเวลาทำงานโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับการทำงานของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่โจทก์ไปสอนหนังสือน้อยครั้งและสอนครั้งละเพียง2ชั่วโมงยังไม่เพียงพอที่จะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายผู้บังคับบัญชาถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าวันหยุดพักผ่อน
การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานปากใดและไม่รับฟังพยานปากใดเป็นดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเมื่อศาลแรงงานกลางรับฟังเป็นประการใดแล้วข้อเท็จจริงย่อมยุติคู่ความจะอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอื่นหาได้ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 54 โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาในระหว่างที่มีการประชุมพนักงานในบริษัทจำเลยจนปากแตกโลหิตไหล. การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำผิดอาญาซึ่งมีโทษตามกฎหมายแล้ว. ยังเป็นการประพฤติตนไม่เหมาะสมไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่.ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายด้านการปกครอง. และไม่ว่าข้อบังคับของจำเลยจะกำหนดเป็นความผิดรุนแรงมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม. ความผิดของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงตามความหมายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ47(3). จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องตักเตือน และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย. และเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ได้กระทำผิดตามข้อ 47 แล้ว. จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทั้งสิ้นไม่ว่าปีใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวการต่อการกระทำผิดของตัวแทนในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท
ผู้คัดค้านเป็นลูกจ้างผู้ร้องและเป็นกรรมการลูกจ้างนำประกาศและแถลงการณ์แจกให้ ม. และ ช. คนงานของผู้ร้องตรงประตูนอกบริเวณโรงงานของผู้ร้องและบอกให้นำไปแจกแก่คนงานอื่นเมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุห้ามพนักงานแจกจ่ายถ้อยคำบทความต่างๆภายในบริเวณบริษัทฯคำว่า "ภายในบริเวณบริษัท" จะมีความหมายถึงในหรือนอกประตูรั้วโรงงานหรือไม่ก็ตาม ผู้คัดค้านก็ได้บอกให้ ม. กับ ช. เอาไปแจกแก่พรรคพวกในโรงงานด้วย และ ม. กับ ช. ได้แจกให้คนงานในโรงงานถือได้ว่าเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนกระทำการแทนตัวการคือผู้คัดค้าน เมื่อการกระทำเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตัวการคือผู้คัดค้านผู้ใช้จ้างวานบุคคลให้กระทำผิดดังกล่าวก็ต้องรับผิดในฐานะตัวการในการกระทำผิดตามที่กำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับ แต่ไม่มีเจตนาทุจริต
แม้ตามข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดว่า ลูกจ้างจะเบิกเงินค่าทำ หมันได้ก็ต่อเมื่อภริยาของลูกจ้างได้รับการผ่าตัดทำหมัน แล้ว ก็ตามแต่ การ ที่ ก่อน ลูกจ้าง จะ เบิก เงิน ค่า ทำหมันภริยาของลูกจ้าง มีความตั้งใจ ที่จะทำหมันและได้จ่ายเงินค่าทำหมันไปแล้วเหตุที่ ยังไม่ทำหมันในทันที เนื่องจากเจ็บป่วย ต่อมาหลังจากคลอดบุตรแล้ว แพทย์ก็ได้ทำหมันให้โดยถือเอาหลักฐานการชำระค่าทำหมันเดิม ที่ได้ชำระเงินไว้แล้ว ทั้งนายจ้างก็มิได้จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเกินไป จากที่ควรจะต้องจ่าย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำที่ทุจริตต่อหน้าที่ และประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ดังนี้ เมื่อนายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับจำเลย ศาลตัดสินไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดงานโดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ถึงขั้นร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การหยุดงานโดยมิได้ขอลาเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมิใช่ฝ่าฝืนข้อบังคับ เป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องเตือนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัทโดยได้รับการว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อกฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ เต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตามมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3) แล้ว
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ เต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้ว นายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ ตามมาตรา 123 (3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 (3) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท แม้ไม่มีระบุโทษชัดเจน ศาลยืนตามอำนาจนายจ้าง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 35 ให้ศาลบันทึกรายการแห่งข้อหา ไม่จำต้องบันทึกโดยละเอียดดังเช่นคำฟ้องเป็นหนังสือ เมื่อพิจารณาคำฟ้องที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอน ซึ่งโจทก์ส่งศาลและศาลนำมาแนบท้ายคำฟ้องไว้ ถือว่ามีรายละเอียดที่โจทก์อ้างว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนครบถ้วนเป็นรายการแห่งข้อหาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ แต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างหากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตามย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) แล้ว
แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์กำหนดเพียงว่า การขาดงานเป็นการกระทำผิดวินัย โดยมิได้ระบุโทษไว้ แต่เมื่อลูกจ้างขาดงาน 1 วัน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ก็ถือได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างหากได้ว่ากล่าวและตักเตือนโดยชอบแล้วนายจ้างย่อมมีอำนาจเลิกจ้างลูกจ้างได้ตามมาตรา 123(3) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
เมื่อนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วหลายครั้ง ในการที่ลูกจ้างขาดงานครั้งก่อน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นโทษหรือไม่ก็ตามย่อมเป็นการว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือ ตามความหมายของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) แล้ว